Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: จักรนารายณ์

จักรนารายณ์ thai-herbs.thdata.co | จักรนารายณ์ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: จักรนารายณ์ (ไทย)/แปะตำปึง, แป๊ะตำปึง (ไทลื้อ)/ แปะตังปึง แป๊ะตังปึง แปะตังปุง ผักพันปี กิมกอยมอเช่า จินฉี่เหมาเยี่ย ว่านกอบ ใบเบก (คนเมือง)/ ชั่วจ่อ (ม้ง)/ เชียตอเอี๊ยะ งู่ปุ่ยไฉ่ (จีน)/ ไป๋ตงเฟิง ไป๋เป้ยซันชิ (จีนกลาง)/ 

ชื่อสามัญ: Purple passion vine, Purple velvel plant

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynura divaricata (L.) DC.

ชื่อวงศ์:  ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล:  Gynura 

สปีชีส์: divaricata 

ชื่อพ้อง: 

-Cacalia albicans Sessé & Moc.

-Cacalia hieracioides Willd.

-Cacalia incana L.

-Cacalia ovalis Ker Gawl.

-Gynura auriculata Cass.

-Gynura glabrata Hook.f.

-Gynura hemsleyana H.Lév.

-Gynura ovalis DC.

-Gynura panershenia Z.Y.Zhu

-Gynura pseudochina Benth.

-Kleinia hieracioides Less.

-Porophyllum hieracioides DC.

-Senecio boryanus Sch.Bip.

-Senecio divaricatus L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นจักรนารายณ์ เป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย 


จักรนารายณ์ thai-herbs.thdata.co | จักรนารายณ์ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ อยู่กับลำต้นที่แทงขึ้นจากราก ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มน ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยัก ใบมีความยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและนุ่มคล้ายกำมะหยี่ หลังใบเป็นสีเขียวส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีม่วงแดงหรือสีขาวออกหม่น ๆ มีก้านใบสั้น 


จักรนารายณ์ thai-herbs.thdata.co | จักรนารายณ์ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกหลายดอก กลีบดอกมีลักษณะเป็นเส้นฝอยกลมจำนวนมาก มีสีเหลืองสดคล้ายดอกดาวเรือง แต่จะมีขนาดเล็กกว่าดอกดาวเรือง และมีสีเหลือง โดยยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้านอยู่ในกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียเป็นเส้นยืดออกมาภายนอกและมีผลติดอยู่ในดอก

ผล ลักษณะเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน สีน้ำตาล รูปทรงกระบอก ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร มีขนประปราย  มี pappus (กลีบเลี้ยงของดอกย่อยที่เปลี่ยนรูปร่างไป และติดอยู่กับผล) สีขาว ลักษณะเป็นขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม ขนาด 10-12 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2800 เมตร

ถิ่นกำเนิด: จีนตอนใต้ไปจนถึงแถบอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: จีนตอนกลางไปจนถึงตอนใต้ จีนตะวันออกเฉียงใต้ ไหหลำ ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบสด รสเย็น สรรพคุณ ตำผสมสุราพอกปิดแก้พิษฝี แก้ปวด แก้ฟกบวม ถอนพิษ ได้ดี แก้อักเสบทุกชนิด แก้พิษสัตว์กัดต่อย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบที่เกิดจากการแพ้แมลงสัตว์กัดต่อย และโรคเริม มีการศึกษาด้านพฤกษเคมีและคุณสมบัติทางชีวภาพ พบว่าสารสกัดเอทานอลมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม โดยสารที่แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสชนิดนี้คือสารผสมของกรดคาฟีออยควินิก (3, 5- และ 4, 5-di -O-caffeoyl quinic acids) และจากการศึกษาร่วมกับการศึกษาในสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่าสมุนไพรจักรนารายณ์มีพิษแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีศักยภาพเป็นยาทาภายนอกที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือระคายเคืองที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากการแพ้ แมลงสัตว์กัดต่อย และโรคเริม

-ฤทธิ์ต้านไวรัสเริม จากการศึกษาฤทธิ์สมุนไพรจักรนารายณ์ในต้านไวรัสเริมในหลอดทดลอง ซึ่งสารกลุ่มที่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่ม 1, 2-bis-dodecanoyl-3-alpha-D-glucopyranosyl-sn-glycerol, dicaffeoyl quinic acids, sitosteryl- และ stigmasteryl glucosides จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์เป็นตัวยาในผู้ป่วยที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก โดยพบว่าปริมาณไวรัสมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษาในหลอดทดลองและในหนูทดลองระบุว่า จักรนารายณ์สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาในคน

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ งานวิจัยสมุนไพรจักรนารายณ์ได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 โดยพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์จากส่วนเหนือดินของจักรนารายณ์มีคุณสมบัติต้านการอักเสบในสัตว์ทดลอง และยังพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิด ได้แก่ Kaempferol ในรูปอิสระและไกลโคไซด์, Quercetin ในรูปอิสระและไกลโคไซด์ โดยฟลาโวนอยด์เป็นสารที่อาจแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบ จึงได้มีการทดลองใช้เจลต้านอักเสบที่มีสารสกัดจากจักรนารายณ์ 2.5% เป็นตัวยา ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งมักจะมีอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ โดยพบว่าสามารถช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของอาการได้อย่างมีนัยสำคัญ

-ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ทดสอบในหลอดทดลองโดยใช้สารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของจักรนารายณ์ พบว่าสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ angiotensin converting enzyme (ACE) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.37±0.07 mg/ml (เอนไซม์ ACE ทำหน้าที่เปลี่ยนสารในร่างกายที่ชื่อ angiotensin I ให้เป็น angiotension II ซึ่งสาร angiotensin II จะทำให้หลอดเลือดหดตัวทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น) และแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ในระดับปานกลาง โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ α-amylase (เอนไซม์ที่ใช้ย่อยแป้ง และไกลโคเจน ให้เป็นน้ำตาลมอลโทส และกลูโคส) ได้ 47.5% ที่ความเข้มข้น 1.25 mg/ml โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1.36±0.11 mg/ml (p < 0.05) (ยามาตรฐาน acarboseขนาด 50 μg/ml ยับยั้งได้ 54%) และยับยั้งเอนไซม์ α-glycosidase (เอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลที่มีพันธะ α-glycosidic ให้ได้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) ได้ 38.9% ที่ความเข้มข้น 1.25 mg/ml โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 2.17±0.09mg/ml (p < 0.05) (ยามาตรฐาน acarbose ขนาด 0.2 mg/ml ยับยั้งได้ 47%) ซึ่งการยับยั้งเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้ จะทำให้ชะลอการดูดซึมกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด และชะลอการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือด  โดยสรุปสารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของจักรนารายณ์ มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดความดันโลหิตได้เมื่อทดสอบในหลอดทดลอง (Wu, et al., 2011)

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-มีการศึกษาด้านพฤกษเคมีและคุณสมบัติทางชีวภาพ พบว่าสารสกัดเอทานอลมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม โดยสารที่แสดงฤทธิ์ต้านไวรัสชนิดนี้คือสารผสมของกรดคาฟีออยควินิก (3, 5- และ 4, 5-di -O-caffeoyl quinic acids) และจากการศึกษาร่วมกับการศึกษาในสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่าสมุนไพรจักรนารายณ์มีพิษแต่อย่างใด

การใช้ประโยชน์:

-ใบสด นำมาล้างให้สะอาดมาตำ แล้วพอกบริเวณที่มีอาการปวด บวม  พิษสัตว์กัดต่อย 

-ใบสด เตำผสมสุรา พอกปิดฝี แก้ปวด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ฟกบวม แแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษตะขาบ แมลงป่องต่อย โดยนำมาพอกวันละ 2-3 ครั้ง

-ใบสด สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดหรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้ เช่น ทำแกงจืด ผัดน้ำมัน ผัดเต้าเจี้ยว หรือใช้เป็นเครื่องเคียงกับขนมจีน ลาบ แหนม ส้มตำ หรือสลัดผัก



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง