Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โลดทะนงขาว

ชื่อท้องถิ่น: ทะนง รักทะนง (นครราชสีมา)/ นางแซง (อุบลราชธานี)/ โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์)/ ดู่เบี้ย ดู่เตี้ย (เพชรบุรี)/ ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์)/ ข้าวเย็นเนิน หัวยาเข้าเย็นเนิน (ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์)/ หนาดคำ (ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Trigonostemon albiflorus Airy Shaw

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Trigonostemon s

สปีชีส์: albiflorus 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

โลดทะนงขาว thai-herbs.thdata.co | โลดทะนงขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นโลดทะนงขาว  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึงประมาณ 1 เมตร มีรากเก็บสะสมอาหารพองโต ผิวสีแดงอมม่วง เนื้อสีขาว ลำต้นเรียวเล็ก ขึ้นเป็นกอ ทุกส่วนของต้นมีขน ลำต้นมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น 


โลดทะนงขาว thai-herbs.thdata.co | โลดทะนงขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ เนื้อใบหนา  แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร โคนใบมน มีต่อมเล็กๆ 2 ต่อม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เห็นเส้นใบย่อยเห็นชัด และมีขนนุ่มหนาแน่นบนผิวใบทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร 


โลดทะนงขาว thai-herbs.thdata.co | โลดทะนงขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกช่อดอกแบบกระจะ ออกเป็นช่อตามซอกใบและตามกิ่งก้าน ยาวประมาณ  7-10 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีจำนวนมากกว่าอยู่บริเวณโคนช่อ มีลักษณะตูมกลม กลีบดอกสีขาวสีขาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กลับหรือขอบขนาน กว้างประมาณ  1-2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ  2-3 มิลลิเมตร ผิวด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขน กลีบดอกรูปช้อนถึงรูปไข่กลับ กว้างประมาณ  1-2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ  3-3.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านดอกย่อยประมาณ  1-7 มิลลิเมตร. ดอกเพศเมีย สีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงรูปไข่ รังไข่เกลี้ยง ก้านดอกย่อย ยาวประมาณ  1-2 เซนติเมตร 


โลดทะนงขาว thai-herbs.thdata.co | โลดทะนงขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลแห้งแตกได้ รูปค่อนข้างกลม มีขนสั้นนุ่มปกคลุมหนาแน่น แบ่งเป็น 3 พูชัดเจน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 มิลลิเมตร มีก้านสีแดง ยาวประมาณ  3-5 เซนติเมตร เมล็ดรูปค่อนข้างกลมหรือรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ผิวเรียบ

สภาพนิเวศวิทยา: พบบริเวณเชิงเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-800 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็นเมาร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษงู ถอนพิษเสมหะ แก้หอบหืด แก้วัณโรค เกลื่อนหัวฝี ทำให้ยุบ และดูดหนองและแก้พิษงู

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการผิดสำแดง ใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ใช้ฝนกับน้ำกิน 

-อาการเมาพิษเห็ดและหอย ใช้รากฝนกับน้ำกิน

-ช่วยทำให้อาเจียน โดยใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ฝนกับน้ำกิน หรือใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำกิน

-ช่วยแก้พิษแมงมุม ใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำกิน

-ช่วยแก้พิษงู โดยใช้รากฝนกับน้ำมะนาวหรือเหล้านำมาดื่มแก้พิษงู หรือจะใช้รากผสมกับเมล็ดหมาก ฝนกับน้ำกิน แล้วใช้รากผสมกับน้ำมะนาว นำมาทาแผลจะช่วยแก้พิษงูที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทก็ได้ และให้นำส่วนที่เหลือมาผสมกับน้ำดื่มเพื่อช่วยขับพิษงูอีกทาง 

-ช่วยถอนพิษคนกินยาเบื่อยาเมา ด้วยการใช้รากนำมาต้มน้ำดื่ม หรือใช้ฝนกับน้ำกิน ใช้รากเข้ายากับน้ำมะนาวฝนกับน้ำกิน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง