Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: สะเดาอินเดีย  

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Indian Margosa Tree, Holy Tree, Margosa, Pride of China, Nim, Neem Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Azadirachta indica A.Juss.

ชื่อวงศ์: MELIACEAE

สกุล: Azadirachta 

สปีชีส์: indica

ชื่อพ้อง: Azadirachta indica A. Juss. var. indica.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นสะเดาอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 8-12 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของลำต้นจำนวนมาก บางต้นก็มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม เปลือกต้นลำเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ทุกส่วนของต้นมีรสขม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นบ้างเล็กน้อย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ลักษณะและการเรียงตัวจะเหมือนกับสะเดาบ้าน แต่ใบย่อยจะโค้งเป็นรูปเคียว โดยใบจะออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ก้านหนึ่งจะมีใบอยู่ประมาณ 5-9 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา มัน และขมกว่าสะเดาบ้าน หลังใบและท้องใบเรียบเป็นมัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น โดยจะออกตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกสีเป็นขาวและมีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมน โคนเรียว

ผล ลักษณะผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมล็ดเดี่ยว

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสขมจัด สรรพคุณ ตัดไข้ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้ประจำฤดู

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบและเปลือกต้น พบสารจำพวก limonoids ได้แก่ nimbolide และ gedunin (สารทั้ง 2 สองชนิดนี้สามารถฆ่าเชื้อ “ฟัลซิปารัม” ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียชนิดหนึ่งได้ และยังมีความเป็นพิษต่ำด้วย) 

-ผล พบสารรสขม ซึ่งสารนี้มีชื่อว่า Bakayanin 

-ช่อดอก พบสารจำพวกไกลไคไซด์ที่มีชื่อว่า Nimbosterin 0.005% และมีน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5% นอกจากนี้ยังพบ Nimbecetin, Nimbosterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม 

-เมล็ด พบน้ำมันรสขมที่มีชื่อว่า Margosic acid 45% (บางครั้งเรียกว่า “Nim oil” หรือ “Margosa oil”) และสารขมที่มีชื่อว่า Nimbin, Numbidin, Nimbunin ซึ่งเป็นสารที่เราพบมากใน Nim oil ที่จะเป็นตัวออกฤทธิ์และมีกำมะถันอยู่ด้วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ฆ่าแมลง ในเมล็ดพบสาร limonoids อยู่หลายชนิด มีคุณสมบัติทางชีวภาพ ชนิดแรกที่พบคือ “Meliantriol” ซึ่งเป็นสารประเภทไตรเทอร์ปีน โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการกินของแมลงได้ในความเข้มข้น 3 ไมโครกรัมต่อตารางเซนติเมตร (มีคุณสมบัติยับยั้งการกินของแมลงและหนอน โดยเฉพาะตั๊กแตนและพวกแมลงปากดูด เช่น แมลงวัน ยุง เพลี้ยมวน ไส้เดือนฝอย ฯลฯ) และสารอีกชนิดหนึ่งคือ “Azadirachtin” เป็นสารที่มีฤทธิ์แรงสุด โดยสามารถยับยั้งการกินของแมลงได้ถึง 100% ในความเข้มข้นเพียง 1 นาโนกรัมต่อตารางเซนติเมตร ถ้าเก็บเมล็ดจากต้นที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี มาสกัดก็จะได้สารนี้ประมาณ 0.7% โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษพบว่าสารในเมล็ดนี้จะออกฤทธิ์ไปทำให้ฮอร์โมนในแมลงผิดปกติ ทำให้เกิดทุพพลภาพอย่างถาวร เมื่อนำสารสกัดจากเมล็ดหรือใบไปฉีด แมลงจะยังไม่ตายทันที แต่จะออกฤทธิ์ไปทำให้การสร้างไคตินซึ่งเป็นองค์ประกอบของเปลือกลำตัวผิดปกติ ทำให้การลอกคราบของแมลงเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ ส่งผลทำให้จำนวนของแมลงลดลงเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการฟักไข่ การลอกคราบ และการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของแมลงสาบอีกด้วย และสาร Azadirachtin ยังสามารถออกฤทธิ์ต่อแมลงได้อีกหลายชนิด รวมทั้งตั๊กแตนสีน้ำตาลซึ่งเป็นศัตรูพืชตัวสำคัญในการทำลายพืชพรรณธัญญาหาร 

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ยาล้างบาดแผล ใช้เปลือกต้นนำมาต้มน้ำใช้ชะล้างบาดแผล

-โรคฝีหนอง ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณฝีหนอง

-โรคไข้มาเลเรีย หรือไข้จับสั่น ไข้ประจำฤดู ใช้เปลือกสด 1 ฝ่ามือ หรือใบสด 2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น จนกว่าจะหายไข้

-เมล็ด ใช้เป็นยาฆ่าแมลง (มีสารที่ออกฤทธิ์ฆ่าแมลง คือ Azadirachtin) เช่น เพลี้ยชนิดต่าง ๆ แมลงศัตรูในบุ้งฉาง มอดแป้ง ผีเสื้อข้าวเปลือก หนอนใยผัก หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยสารชนิดนี้จะออกฤทธิ์เป็นทั้งยาฆ่าแมลง สารไล่แมลง และสารล่อแมลง ส่วนวิธีการใช้ก็ให้นำเมล็ดสะเดาอินเดียแห้งมาบดและแช่ไว้ในน้ำประมาณ 1-2 คืน (ใช้ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ปีบ หรือประมาณ 20 ลิตร) แล้วกรอกเอากากออก เสร็จแล้วนำน้ำยาที่ได้ไปฉีดพ่นแปลงผัก จะช่วยฆ่าหนอนใยผัก หนอนกระทู้ผักได้เป็นอย่างดี หรือจะใช้ใบสะเดาแห้งนำมาบดให้เป็นผงคลุกกับเมล็ดข้าวโพดในอัตราส่วน 1:10 ก็จะสามารถช่วยลดจำนวนของด้วงงวงข้าวโพดได้ถึง 44.38% ในยุ้งฉาง โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ E. Shulz Jr. ศาสตราจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แห่งมหาวิทยาลัย Washington ได้พบว่าสารเคมีในต้นสะเดาอินเดีย สามารถป้องกันภัยคุกคามจากแมลงได้ถึง 131 ชนิด และสามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถึง 70 ชนิด (ยาฆ่าแมลงที่สกัดได้จากต้นสะเดาอินเดียสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่เป็นพิษต่อมนุษย์)

-น้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ด สามารถนำมาใช้ตามตะเกียงและเครื่องสำอางได้

-กากที่เหลือจากการสกัดเอาน้ำมันออกจากเมล็ด หรือที่เรียกว่า “Neem cake” ก็ยังสามารถนำมาใช้เป็นตัวชะลอการสลายตัวของปุ๋ยยูเรียได้อีกด้วย โดยปกติแล้วปุ๋ยยูเรียที่ใส่ลงไปในดินจะถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียภายใน 24 ชั่วโมง จึงทำให้รากของพืชไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไว้ได้ทัน ทำให้เกิดการสูญเปล่า แต่ถ้าใส่ Neem cake ลงไป ปฏิกิริยาของปุ๋ยก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปอย่าง ๆ ช้า ทำให้รากพืชสามารถดูดเก็บปุ๋ยไว้ได้ทัน

-แพทย์โบราณของอินเดียได้บันทึกไว้ว่า ชาวอินเดียนอกจากจะรู้จักนำ ใบสะเดาอินเดียมาตำ เป็นยาพอกฝีหรือเอามาสอดแทรกไว้ในหนังสือ ในตู้เก็บถ้วยชาม เพื่อไล่แมลง แล้วยังรู้จักนำ ผลสะเดามากินเป็น ยาถ่ายพยาธิ และยาระบายอ่อนๆ และใช้เปลือกของมัน ปรุงเป็นยารักษามาลาเรีย และช่วยเจริญอาหาร หรือเมื่อนำ เปลือกสะเดามาต้มน้ำ ที่ได้สามารถใช้ชะล้างแผล ส่วนรากและเมล็ด ก็มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่งซึ่งสามารถใช้เป็น ยาทารักษาโรคผิวหนัง เมล็ดที่ถูกทุจนแหลกละเอียด เวลานำ ไปละลายนํ้าก็สามารถใช้เป็นยาพ่น ฉีดต้นไม้ต่างๆ ไม่ให้แมลงรายมาทำลายพืชได้ กิ่งสะเดาใช้ทำเป็นยาแปรงสีฟันและดอกยังสามารถนำ มาต้มเป็นยาบำ รุงได้อีกด้วยชาวอิน เดียจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ในการขนานนาม ต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นไม้ยา”



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง