Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระทือป่า

ชื่อท้องถิ่น: เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)/ กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ (ภาคเหนือ)/ ทือ กะทือ (อื่นๆ)

ชื่อสามัญ: Shampoo ginger, Wild ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber zerumbet (Linn.) Smith

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

สกุล: Zingiber 

สปีชีส์: zerumbet 

ชื่อพ้อง: 

-Amomum latifolium Lam.

-Amomum sylvestre Lam.

-Amomum zerumbet L.

-Zerumbet zingiber T.Lestib.

-Zingiber sylvestre Garsault

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระทือป่า thai-herbs.thdata.co | กระทือป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระทือป่า เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม มีรสขม ขื่น ปร่า และเผ็ดเล็กน้อย ต้นจะโทรมในหน้าแล้งแล้วจะงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน 


กระทือป่า thai-herbs.thdata.co | กระทือป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น


กระทือป่า thai-herbs.thdata.co | กระทือป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  กระทือป่า thai-herbs.thdata.co | กระทือป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก สีขาวอมเหลืองโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบบนรูปไข่กว้าง 0.9 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง กลีบข้างรูปหอก กว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.8  เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ผิวเกลี้ยง ดอกบานไม่พร้อมกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด กว้าง 0.1-0.35 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.6-1.7 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 3 แฉก ผิวเกลี้ยง สีขาว เกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูขนาดใหญ่ โค้ง มีรยางค์ที่ปลาย กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูสั้นมากยาวประมาณ 0.1 ซม. เกสรเพศผู้เป็นหมันด้านข้าง 2 อัน สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้เป็นหมันอันกลาง สีเหลืองอ่อน ตรงโคนมีแต้มสีเหลืองเข้ม เกสรเพศเมีย รังไข่รูปวงรี กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.4 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง มี 3 ช่อง พลาเซนตารอบแกนร่วม ก้านชูเกสรเพศเมีย ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยอดเกสรเพศเมียรูปกรวยหรือเกือบกลม ผลแบบผลแห้งแตก รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ผิวเรียบ สีแดง ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร

ผล ลักษณะรูปขอบขนาน ค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นริ้วสีขาว เมล็ดสีดำเป็นมัน

สภาพนิเวศวิทยา: ขึ้นบริเวณป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ  หรือที่ชื้นริมลำธาร หรือดินที่ร่วนซุย

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

กระทือป่า thai-herbs.thdata.co | กระทือป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหัวเหง้า

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว เหง้า รสขมขื่นเล็กน้อย สรรพคุณ บำรุงน้ำนมสตรีให้บริบูรณ์ แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด ขับผายลม ขับปัสสาวะ หัวกะทือหมกไฟฝนกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ปวด เบ่ง แก้บิด แก้เสมหะเป็นพิษ  แก้แน่นหน้าอก กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยอาหารให้ลงลำไส้  

*ราก รสขมขื่นน้อยๆ สรรพคุณ แก้ไข้ตัวเย็น แต่ร้อนใน

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการบิดป่วงเบ่ง แก้อาการปวดท้อง อาการปวดมวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง และช่วยขับผายลมในลำไส้ ด้วยการใช้หัวกระทือหรือเหง้ากระทือสด ประมาณ 20 กรัม นำมาย่างไฟพอสุก แล้วนำมาตำเข้ากับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาแต่น้ำมาดื่มเมื่อมีอาการ 

-อาการเคล็ดขัดยอก ใช้หัวกระทือนำมาฝนแล้วใช้ทาบริเวณที่มีอาการเคล็ด

-ช่วยบำรุงและขับน้ำนมของสตรี ใช้เหง้าต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงและกระตุ้นการหลั่งน้ำนม

-หัว ใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งเนื้อในจะมีรสขมเล็กน้อย ต้องนำมาหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนาน ๆ ก่อนนำมารับประทาน โดยทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน มีการใช้เหง้าไปแกงกับปลาย่างเพื่อใช้รับประทาน

-หน่ออ่อนหรือต้นอ่อน สามารถนำมาทำแกงเผ็ด แกงไตปลา หรือนำไปต้มจิ้มกินกับน้ำพริกได้

-สารสกัดจากเหง้าด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ สามารถนำมาใช้ป้องกันและกำจัดเหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้ผลดีกว่าขมิ้นชัน ขิง และไพล

-ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากดอกที่สวยงามเป็นเอกลักษณื สามารถนำไปประดับแจกันได้



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง