Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: อ้อเล็ก

ชื่อท้องถิ่น: อ้อลาย อ้อเล็ก (ภาคกลาง)/ อ้อน้อย (เชียงใหม่)/  อ้อ (ทั่วไป)/ หลูเกิน หลูเหว่ย (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Reed, Danube grass

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phragmites australis (Cav.) Trin. ex Steud.

ชื่อวงศ์: POACEAE-GRAMINEAE

สกุล: Phragmites 

สปีชีส์: australis

ชื่อพ้อง:

-Phragmites australis subsp. americanus Saltonst., P.M.Peterson & Soreng

-Phragmites australis subsp. australis

-Phragmites australis subsp. berlandieri (E.Fourn.) Saltonst. & Hauber

-Phragmites australis subsp. isiacus (Arcang.) ined.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นอ้อเล็ก เป็นไม้ล้มลุก คล้ายจำพวกไผ่ มีความสูงของต้นประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นเหนือดินเป็นสีเขียว ผิวลำต้นเรียบมัน เนื้อแข็ง โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มอยู่ และบริเวณกาบใบมีสีขาวปกคลุม มีเหง้าใต้ดินเจริญเติบโตขนานกับผิวดิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.6 เซนติเมตร ถ้าอยู่ในดินทราย อาจยาวได้ถึง 10 เมตร เปลือกรากเป็นสีเหลือง ส่วนเนื้อในรากเป็นสีขาว ภายในกลวง 

ใบ เป็นใบออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเรียวยาว ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร เนื้อใบสาก

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายต้น ช่อดอกยาวได้ประมาณ 15-25 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีขนขึ้นปกคลุม ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 3-7 ดอก ดอกย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ยาวได้ประมาณ 0.9-1.6 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นรูปไข่ มี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 3 อัน เป็นเส้นขนยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน กลีบดอกมีสีน้ำตาลอมม่วง

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี

สภาพนิเวศวิทยา: บริเวณที่ชุ่มน้ำหรือริมฝั่งแม่น้ำที่น้ำท่วมถึง

ถิ่นกำเนิด: กึ่งเขตร้อนถึงเทือกเขาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หน่อ นึ่งเอาน้ำหยอดหู  แก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้หูน้ำหนวกและช่องหูอักเสบ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ราก สารหลายชนิด เช่น Asparagin, Coixol, Glucorin, Taraxerol, Taraxerenone, Tricin, Vitamin B1, Vitamin B2, Vitamin C และยังพบแป้งและน้ำตาล เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้รากแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 60-120 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือตำคั้นเอาน้ำรับประทาน เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและกระเพาะ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ตัวร้อน ช่วยดับไฟในปอดและกระเพาะ 

-ตำรับยาแก้ออกหัด ให้ใช้รากสด 100 กรัม, ถั่วดำ 50 กรัม, ถั่วแดง 50 กรัม, ถั่วเขียว 50 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำจนถั่วเปื่อย ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปเล็กน้อย จึงคั้นเอาแต่น้ำมาแบ่งรับประทานครั้งละ 30 ซีซี วันละ 1-2 ครั้ง โดยให้รับประทานติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์รากใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ ตำรับยาแก้อาการไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนในปอด แก้หลอดลมอักเสบ ระบุให้ใช้รากอ้อเล็กสด 60 กรัม, รากบวบ 60 กรัม, หญ้าคา 60 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง

-ตำรับยาแก้ปอดอักเสบเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 30 กรัม, ดอกสายน้ำผึ้ง 30 กรัม, ลูกเดือย 15 กรัม, เมล็ดฟัก 12 กรัม, เห่งยิ้ง 10 กรัม, กิ๊กแก้ 10 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับปะทาน 

-ยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน ใช้ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 60-120 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือตำคั้นเอาน้ำรับประทาน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง