Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักโขมหนาม

ชื่อท้องถิ่น: ผักขมหนาม ผักหมหนาม ผักขมสวน (ภาคกลาง)/ ผักโหมหนาม (ภาคใต้)/ ปะตึ ปะตี (เขมร)/ แม่ล้อคู่ กะเหม่อลอมี แม่ล้อกู่ (แม่ฮ่องสอน-กะเหรี่ยง)/ ด่อเร่น (ปะหล่อง)/ บะโด่ (ลั้วะ) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Spiny amaranth, Spiny pigweed

ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaranthus spinosus L.

ชื่อวงศ์: AMARANTHACEAE

สกุล: Amaranthus 

สปีชีส์: spinosus

ชื่อพ้อง: 

-Amaranthus caracasanus Kunth

-Amaranthus coracanus Mart.

-Amaranthus diacanthus Raf.

-Galliaria spitosa (L.) Nieuwl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักโขมหนาม เป็นพืชล้มลุก มีอายุสั้นประมาณ 2-4 เดือน เมื่อออกดอกติดเมล็ดแล้วจะค่อย ๆ เหี่ยวแห้งตายไปเอง หรือเรียกว่าเป็นพืชที่มีอายุปีเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและแตกกิ่งมาก ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือกลม ผิวเรียบ มีร่องละเอียดตามความยาวของลำต้น มีความสูงประมาณ 1 เมตร การเกาะติดของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด


ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอกกว้าง มีขนาดกว้างประมาณ 4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบสอบแคบ ลักษณะของขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และมีหนามแหลมยาว 2 อันอยู่ที่โคนก้านใบ


ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด หรือเป็นช่อแบบกระจุก ออกที่บริเวณปลายกิ่ง ตามซอกใบ ซอกกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น มีหนาม ไม่แข็ง กลีบรวมโค้ง ขอบกลีบใส ตรงกลางมีแถบสีเขียวหรือม่วง แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกขนาดเล็ก ติดก้านช่อสีเขียว ช่อดอกมีหนามแหลมยาว 2 อัน หรืออาจมีมากกว่านี้ แต่ช่อดอกปลายยอดไม่มีหนาม กลีบดอกมี 5 กลีบ


ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นแบบแห้งแล้วแตก เป็นรูปขอบขนาน ปลายแยกเป็น 3 พู โดยจะแตกตามขวางของผล ในผลมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลม ตรงกลางทั้งสองด้านจะนูน มีขนาดเล็กมากประมาณ 0.05 เซนติเมตร และเมล็ดผักโขมหนามมีสีน้ำตาลเป็นมันเง

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามพื้นที่เปิดโล่ง มักพบอยู่ริมลำน้ำ หรือเป็นวัชพืชในสวนและริมข้างทาง ความสูงตั้งแต่ 0-1200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโกถึงอเมริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ผักโขมหนาม thai-herbs.thdata.co | ผักโขมหนาม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสขมเย็นชื่นใจ สรรพคุณ แก้ช้ำใน แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้เด็กลิ้นเป็นฝ้าละออง เจริญอาหาร

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคฝี ใช้รากผักโขมหนามนำมาเผาไฟพอข้างนอกดำ ใช้จี้ที่หัวฝี ช่วยทำให้ฝีที่แก่แตก  

-โรคนิ่วในถุงน้ำดีใช้ต้นสดที่มีสีเขียวจำนวน 200 กรัมต้มกับไส้หมู 1 ท่อน แล้วนำมารับประทาน อาการจะดีขึ้น 

-อาการแน่นท้อง ใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยบรรเทาอาการปวดแน่นท้อง

-อาการตกเลือด ใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยบรรเทาอาการตกเลือด

-อารปวดขัดปัสสาวะ ใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ

-อาการคันตามผิวหนัง ใช้ใบต้มกับรากใช้อาบช่วยรักษาอาการคันตามผิวหนัง

-ช่วยลดและต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากผักโขมหนามเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมาก

-ช่วยขับและส่งเสริมการไหลของน้ำนมของสตรี ใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม 

-ผักโขมหนามสามารถใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือจะนำลำต้นไปประกอบอาหารก็ได้ ด้วยการลอกเปลือกและหนามออกให้หมด ส่วนใบ ยอดอ่อน และดอก ใช้นึ่งกิน หรือนำไปคั่ว หรือผัด ยอดอ่อนใช้ทำแกงจืด แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม แกงใส่เนื้อหมู ผัดน้ำมัน เป็นต้น




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง