Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักบุ้งขาว

ชื่อท้องถิ่น: ผักทอดยอด (กรุงเทพฯ) ผักบุ้งไทย (กลาง) ผักบุ้ง (ทั่วไป) ผักบุ้งขาว ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา กำจร(ฉานขแม่ฮ่องสอน) ผักบุ้ง ผักบุ้งนา  กำจร  โหนเดาะเดาะ (อื่นๆ)

ชื่อสามัญ: Swamp morning glory, Thai water convolvulus, Morning glory, Water spinach, Water morning glory, Swamp cabbage

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea aquatica Forsk.

ชื่อวงศ์: CONVOLVULACEAE

สกุล: Ipomoea 

สปีชีส์: aquatica

ชื่อพ้อง: 

-Ipomoea aquatica var. aquatica

-Ipomoea aquatica var. heterophylla (Hallier f.) Rendle

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักบุ้งขาว thai-herbs.thdata.co | ผักบุ้งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักบุ้งขาว เป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะ ลำต้นกลมสีเขียว มีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้


ผักบุ้งขาว thai-herbs.thdata.co | ผักบุ้งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบเป็นรูปหอกหรือลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ใบยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-9 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวบาง ส่วนใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน

 ผักบุ้งขาว thai-herbs.thdata.co | ผักบุ้งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ รูประฆังออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 1-5 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มี 5 อัน ยาวไม่เท่ากัน


ผักบุ้งขาว thai-herbs.thdata.co | ผักบุ้งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นแบบแคปซูล รูปไข่หรือกลม สีน้ำตาล มีเมล็ดกลมสีดำ

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามชายน้ำ ตามชายห้วย หนอง บึง

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

ผักบุ้งขาว thai-herbs.thdata.co | ผักบุ้งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ เถา รสเย็น สรรพคุณ ถอนพิษทั้งปวง แก้พิษลมเพลมพัด แก้ตาฟาง

*ใบ ตำพอก แก้พิษฝี ถอนพิษอักเสบ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยในการชะลอวัย เนื่องจากมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย

-ช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก

-ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ

-อาการแผลร้อนในในปาก ใช้ผักบุ้งสดมาผสมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง

-อาการปวดฟัน ฟันเป็นรูปวด ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก

-อาการเลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม

-อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม

-โรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด รับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

-อาการแผลมีหนองช้ำ ช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง

-อาการพิษจากแมลสัตว์กัดต่อย ใช้ต้นสดเติมเกลือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด

-ผักบุ้ง สามารถนำมาประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง