Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: คูน

ชื่อท้องถิ่น: ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง)/ลมแล้ง (ภาคเหนือ)/ ราชพฤกษ์ (ภาคใต้)/กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ ปูโย ปีอยู เปอโซ แมะหล่าอยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ลักเกลือ ลักเคย (กะเหรี่ยง)/  

ชื่อสามัญ: Golden shower, Indian laburnum, Pudding-pine tree, Purging Cassia

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula L.

ชื่อวงศ์:  FABACEAE-LEGUMINOSAE อยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE-CAESALPINIACEAE

สกุล:  Cassia 

สปีชีส์: fistula

ชื่อพ้อง: 

-Bactyrilobium fistula (L.) Willd.

-Cassia bonplandiana DC.

-Cassia fistuloides Collad.

-Cassia rhombifolia Roxb.

-Cathartocarpus excelsus G.Don

-Cathartocarpus fistula (L.) Pers.

-Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don

-Cathartocarpus rhombifolius (Roxb.) G.Don

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นคูน เป็นไม้ขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 10-20  เมตร เปลือกต้นอ่อนมีลักษณะเรียบ สีเทาแกมเขียว ต้นที่มีอายุมากเปลือกแตกสะเก็ดเป็นสี่เหลี่ยม สีน้ำตาล ต้นเล็กแตกกิ่งในระดับล่าง เมื่อต้นใหญ่ลำต้นสูง แตกกิ่งมากบริเวณส่วนยอด

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลัก ยาวประมาณ 20-30 ซม. แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยใบย่อย ออกเป็นคู่เรียงสลับตรงข้าม และเยื้องกันเล็กน้อย ใบย่อยแต่ละก้านมีประมาณ 3-8 คู่ ใบย่อยมีก้านใบยาวประมาณ 5-10 ซม. แต่ละใบมีรูปทรงรี แกม รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลมสอบ มีสีเขียวอ่อน และค่อยๆเข้มขึ้นจนเขียวสด ใบกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 7-15 ซม. ใบคู่แรกๆมีขนาดเล็ก และใหญ่ขึ้นในคู่ถัดไป ใบส่วนปลายมีขนาดใหญ่สุด ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านล่างมีขน


คูน thai-herbs.thdata.co | คูน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่งก้าน ช่อห้อยลงด้านล่าง ช่อดอกโปร่งยาวสีเหลือง ยาวประมาณ 20-40 ซม. แต่ละก้านดอกประกอบด้วยดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ยาว 1-3 ซม. มีใบประดับใต้กลีบดอก กลีบดอกมีสีเหลืองประมาณ 5 กลีบ รูปรีหรือกลม ด้านในประกอบด้วยเกสร เพศผู้ 10 อัน มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รังไข่รูปขอบขนาน มีขน อับเรณูยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ก้านอับเรณูโค้งงอขึ้น


คูน thai-herbs.thdata.co | คูน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะเป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยง ๆ ฝักยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร และวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ราว 2-2.5 เซนติเมตร ฝักอ่อนจะมีสีเขียว ส่วนฝักแก่จัดจะมีสีดำ ในฝักจะมีผนังเยื่อบาง ๆ ติดกันอยู่เป็นช่อง ๆ ตามขวางของฝัก และในช่องจะมีเมล็ดเรียงตัวเป็นชั้นๆ ภายในมีผนังกั้นจำนวนมาก

เมล็ด ลักษณะกลมแบนและบาง สีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 0.8-0.9 เซนติเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ทางตอนใต้ของปากีสถานไปจนถึงอินเดีย พม่า และประเทศศรีลังกา

การกระจายพันธุ์: อัสสัม บังกลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย  เมียนมาร์ ไทย ลาว เนปาล ศรีลังกา ฮิมาลายาตะวันตก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การทาบกิ่งและเสียบยอด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เนื้อในฝัก รสหวานเอียน สรรพคุณ ระบายท้อง ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก ฟกช้ำ แก้ลมเข้าข้อและขัดข้อ

*ดอก รสขมเปรี้ยว สรรพคุณ แก้ไข้ เป็นยาระบาย

*เปลือกและใบ รสฝาดเมา สรรพคุณ บดผสมทาฝี และเม็ดผื่นตามร่างกาย

*ใบ รสเมา สรรพคุณ ระบายท้อง แก้พยาธิผิวหนัง

*ราก รสเมา สรรพคุณ ฝนทารักษาขี้กลาก และเป็นยากระบายท้อง แก้คุดทะราด

*แก่น นักไสยศาสตร์ใช้ทำปลัดขิกลงยันต์ผูกเอวเด็ก เพื่อให้ปีศาจไม่รบกวนเด็ก

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง สมานแผล

*เปลือกเม็ดและเปลือกฝัก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา ทำให้อาเจียน

*กระพี้ รสเมา สรรพคุณ แก้รำมะนาด

องค์ประกอบทางเคมี: -

-ฝัก พบสาร protein, carbohydrate, calcium, glucose, alkaloids, anthraquinone, gluten, pectins, oxalates, flavonoid, aloe emodin, galactomannan, kaempferol, luteolin, emodin, Phenylalanine, Tryptophan, Triacontyl alcohol (Triacontan-1-ol), n-Triacontan-1,30-diol, n-Triacontyl lignocerate, สารในกลุ่ม proanthocyanidin( catechin, epicatechin, procyanidin, epiafzelechin), สารกลุ่ม anthraquinone (rhein, hydroxymethyl anthraquinone, sennoside A, B, aloin, barbaloin, amino acid, aspartic acid, glutamic acid, n-Butyric acid, formic acid, fistulic acid, lysine)

-เมล็ด พบสาร protein, carbohydrate (ในรูปของ galactomannan), fat, fiber, fixed oil, hydrocyanic acid, chrysophanol, phospholipids (ของ cephalin และ lecithin), Arginine, Leucine, Methionine

-ใบ พบสาร tannin, steroid, volatile oil, hydrocyanic acid, saponin, triterpenoid, rhein, rhein glucoside, sennoside A, B, anthraquinones, chrysophanol, physcion, phenolics (flavonoid และ proanthocyanidin ได้แก่ epicatechin, procyanidin, epiafzelechin)

-ดอก พบสาร cetyl alcohol, kaempferol, rhein, phenolics (flavonoid และ proanthocyanidin ได้แก่ epicatechin, procyanidin, epiafzelechin), alkaloids, triterpenes, bi-anthroquinone glycoside, fistula, rhamnose

-เปลือกราก พบสาร flovefin, tanni, phlobephenes, สารประกอบของ oxyanthraquinone( ได้แก่ emodin, chrysophanic acid, fistuacacidin, barbaloin, rhein)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-นิยมปลูกไว้เป็นต้นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานที่ราชการ บริเวณริมถนนข้างทาง และสถานที่อื่น ๆ

-ต้นราชพฤกษ์กับความเชื่อ ต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนามที่คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติและศักดิ์ศรี สาเหตุเพราะคนให้การยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยอีกด้วย และยังเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยนั้นเจริญรุ่งเรือง โดยจะนิยมปลูกต้นราชพฤกษ์ในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน (อาจเป็นเพราะทิศดังกล่าวได้รับแสงแดดจัดในช่วงตอนบ่าย เลยปลูกไว้เพื่อช่วยลดความร้อนภายในบ้านและช่วยประหยัดพลังงาน)

-ต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลและศักดิ์สิทธิ์ ใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์ ใช้ทำเสาหลักเมือง เสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร คทาจอมพล ส่วนใบของต้นราชพฤกษ์จะใช้ทำเป็นน้ำพุทธมนต์ไว้สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีนัก เป็นต้น

-เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ หรือทำเป็นไม้ไว้ใช้สอยอื่น ๆ เช่น ใช้ทำเสา เสาสะพาน ทำสากตำข้าว ล้อเกวียน คันไถ เป็นต้น

-เนื้อของฝักแก่ สามารถนำมาใช้แทนกากน้ำตาลในการทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยายได้

-ฝัก แก่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจที่มีขนาดพอเหมาะ โดยไม่ต้องผ่า ตัด หรือเลื่อย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง