Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ข่าน้ำ (ดาหลา)

ชื่อท้องถิ่น: ดาหลา กะลา กาลา จินตะหลา ข่าน้ำ หน่อกะลา (ทั่วไป)/ ปุด ปุดกะลา (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Torch  ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์: Etlingera elatior (Jack) R.M.Sm.

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

สกุล: Etlingera 

สปีชีส์: elatior 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ข่าน้ำ thai-herbs.thdata.co | ข่าน้ำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นข่าน้ำ เป็นไม้พุ่ม มีลำต้นหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่นคล้ายข่า เรียกว่าลำต้นเทียม โดยลำต้นเทียมที่อยู่เหนือดินจะมีสีเขียวเข้มสูงประมาณ 2-5 เมตร

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก สีเขียวเข้มและมัน ผิวเรียบทั้งด้านบนและด้านล่าง ปลายแหลมฐานเรียวลาดเข้าหาก้านใบ ใบกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ ไม่มีก้านใบ 


ข่าน้ำ thai-herbs.thdata.co | ข่าน้ำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวเป็นช่องอกขึ้นจากเหง้าใต้ดิน ก้านดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-150 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกจะหนา ผิวเรียบเป็นมันวาวคล้ายพลาสติก กลีบดอกด้านนอกมีขนาดใหญ่ แล้วค่อยๆ ลดขนาดลงเข้าสู่ด้านใน ตรงศูนย์กลางดอกเป็นเกสร เกาะติดกันเป็นกลุ่ม ใบประดับรอบนอกแผ่น ใบประดับชั้นใน มีขนาดลดหลั่นกัน เกสรผู้ที่เป็นมันสีเลือดหมูเข้ม ขอบขาวหรือเหลือง เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน อับเรณูสีแดง และเมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างประมาณ 10-16 เซนติเมตร ส่วนสีของดอกนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์โดยในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4 สายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ดอกสีชมพูสีแดง สีขาว และสีชมพูอ่อน 


ข่าน้ำ thai-herbs.thdata.co | ข่าน้ำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลรูปกลม มีขนนุ่ม มีส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร ข้างในมีเมล็ดสีดำหลายเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว เหง้า รสเผ็ดร้อนเฝื่อน สรรพคุณ แก้เม็ดประดง แก้ผื่นคันตามผิวหนัง

*ต้น หน่ออ่อน ดอก รสเผ็ดร้อนซ่า สรรพคุณ แก้เสมหะในคอ แก้ลมแน่นหน้าอก (อุระเสมหะ)  บำรุงเตโชธาตุให้สมบูรณ์ แก้เลือดออกตามไรฟัน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ดอก พบสารกลุ่ม flavonoids เช่น myricetin, apigenin, luteolin, quercetin , anthocyanins,kaempferol, สารกลุ่ม phenolic เช่น tannic acid,   gallic acid, cafeic acid, chlorogenic acid สารกลุ่ม glycosides สารแทนนิน กรดไขมัน เช่น oleic acid , palmitoleic  acid , linoleic acid และน้ำมันหอมระเหยเช่น α-pinene , dodecanal เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากส่วนดอกมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF-7 และชนิด MDA-MB-231 ได้ดีในขณะที่สารสกัด 50% hydroglycol จากส่วนดอกดาหลา มีฤทธิ์กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (melanoma cell) ชนิด B16 ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดและระยะเวลาที่ให้โดยสารสกัดมีผลทำให้เซลล์เกิดการตายแบบ apoptosis ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สำหรับต้านมะเร็งดังกล่าว

-ฤทธิ์ต้านจุลชีพ สารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอล จากส่วนดอกมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด เช่น Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Listeria monocytogenes, Escherichia coli, Salmonella typhimurium, และ Pseudomonas aeruginosa โดยมีค่า minimal inhibitory concentrations (MIC) อยู่ในช่วง 30 -100 µg/mL และน้ำมันหอมระเหย จากส่วนดอกก็มีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิดเช่นกัน โดยพบว่ามีฤทธิ์ต้าน S.aureus, B. cereus, Candida albicans และ Cryptococcus neoformans

-ฤทธิ์ลดระดับกรดยูริกในเลือด สาร polyphenol และ flavonoidจากดอกดาหลามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์xanthine oxidase ซึ่งช่วยลดระดับของกรดยูริก (uric acid) โดยมีทดลองในหนูแรทพบว่าเมื่อให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงด้วย beef broth กินสารสกัดน้ำจากส่วนดอกขนาด 200 มก./กก. เปรียบเทียบผลกับยา allopurinol ขนาด 180 มก./กก. พบว่าสารสกัดดังกล่าว สามารถลดความเข้มข้นของกรดยูริกในเลือดได้แม้ประสิทธิภาพจะน้อยกว่ายามาตรฐานก็ตาม

-ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทำการทดสอบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติที่ไขกระดูกด้วยการป้อนน้ำที่มีlead acetate ความเข้มข้น 500 ppm นาน 14 วัน แล้วป้อนสารสกัดเอทานอลจากส่วนดอกดาหลาขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ในหนูพบว่าสารสกัดดังกล่าวทำให้lipid hydroperoxides และ protein carbonyl ที่เพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วย lead acetate มีระดับลดลง และทำให้สารต้านอนุมูลอิสระและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังยับยั้งการท าลายไขกระดูกของ lead acetate ด้วย แสดงให้เห็นว่าดอกดาหลามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีและสามารถปกป้องไขกระดูกจากการถูกทำลายด้วย lead acetate ได้

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนังและลมพิษ ใช้เหง้าหัวใต้ดินโขลกผสมเหล้าโรงแล้วคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังหรือลมพิษ วันละ 2-3 เวลา เช้า-เย็น

-อาการจุกเสียด แน่นท้อง ช่วยขับลม ใช้กลีบดอกสดหรือแห้ง 10-15 กลีบ มาต้มแล้วชงเป็นเครื่องดื่ม ดื่มเป็นประจำ

-หน่ออ่อนและดอกตูม จะมีรสเผ็ดเล็กน้อย นำมาต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ทำแกงเผ็ด แกงกะทิ แกงจืด แกงคั่ว ยำต่างๆ หรือจะนำมาหั่นเป็นฝอยผสมในข้าวยำซึ่งเป็นอาหารภาคใต้ 

-กลีบดอกดาหลา นำมาต้มแล้วชงเป็นเครื่องดื่ม เช่น นำดอกดกหลา หรือบางแห่งก็นำดอกดาหลาไปแปรรูปเป็นไวน์สมุนไพร น้ำสมุนไพร น้ำส้ม ส่วนกากที่เหลือนำไปเคี่ยวกับน้ำตาลทำเป็นดอกดาหลากวน

-เนื้อในผล นำมาใช้ใส่แกงส้ม 

-นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับตามอาคารสถานที่ตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ สวนสาธารณะต่างๆ เพราะดอกมีสีสันสวยสดใส ดอกมีทรงดอกงดงาม รวมถึงมีความทนทานสามารถอยู่ได้นานหลายวันหลัง 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง