Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ถั่วแระต้น

ชื่อท้องถิ่น: ถั่วแระ ถั่วแระผี ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง)/ ถั่วแรด (ชุมพร)/ มะแฮะ มะแฮะต้น ถั่วแระต้น (ภาคเหนือ)/ ถั่วแฮ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/  พะหน่อเซะ พะหน่อซิ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ มะแฮะ (ไทลื้อ)/ ย่วนตูแฮะ (ปะหล่อง)/ เปล๊ะกะแลง (ขมุ)

ชื่อสามัญ: Pigeon pea , Angola pea, Congo pea

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cajanus cajan (L.) Millsp.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE

สกุล:  Cajanus 

สปีชีส์: cajan 

ชื่อพ้อง: 

-Cajan cajan (L.) Millsp. 

-Cajan indorum Medik.

-Cajan inodorum Medik.

-Cajanus bicolor DC.

-Cajanus cajan (L.) Huth

-Cajanus cajan var. bicolor (DC.) Purseglove

-Cajanus cajan f. bicolor Baker

-Cajanus cajan var. flavus (DC.) Purseglove

-Cajanus flavus DC.

-Cajanus indicus Spreng. Synonym

-Cajanus indicus var. bicolor (DC.) Kuntze

-Cajanus indicus var. flavus (DC.) Kuntze

-Cajanus indicus var. maculatus Kuntze

-Cajanus inodorum Medik.

-Cajanus inodorus Medik.

-Cajanus luteus Bello

-Cajanus obcordifolia Singh

-Cajanus obcordifolius V.Singh

-Cajanus pseudo-cajan (Jacq.) Schinz & Guillaumin

-Cajanus striatus Bojer Cytisus cajan L.

-Cytisus guineensis Schum. & Thonn.

-Cytisus guineensis Schumach. & Thonn.

-Cytisus pseudocajan Jacq.

-Phaseolus balicus L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ถั่วแระต้น thai-herbs.thdata.co | ถั่วแระต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นถั่วแระ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม อายุฤดูเดียวหรือหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงประมาณ 1-3.5 เมตร กิ่งแผ่ออกด้านข้างเป็นคู่ ผิวของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเขียวหม่น 


ถั่วแระต้น thai-herbs.thdata.co | ถั่วแระต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบย่อยจะแตกออกมาตามลำต้น หรือตามกิ่งประมาณ 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยมีขนาดเล็กเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม คล้ายใบขมิ้นต้นหรือขมิ้นพระ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-10 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านมีขนสีขาวนวล


ถั่วแระต้น thai-herbs.thdata.co | ถั่วแระต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย ถั่วแระต้น thai-herbs.thdata.co | ถั่วแระต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจะคล้ายดอกโสน มีดอกย่อยประมาณ 8-14 ดอก โดยจะออกตามซอกใบ ลักษณะของดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีเหลืองมีขอบสีน้ำตาลแดง ใบประดับมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 4-5 แฉก


ถั่วแระต้น thai-herbs.thdata.co | ถั่วแระต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลเป็นฝักแบนยาวสีม่วงเข้มปนเขียว เป็นห้อง ๆ และมีขน ฝักหนึ่งจะแบ่งออกเป็นห้อง 3-4 ห้อง ภายในมีเมล็ดลักษณะกลมหรือแบนเล็กน้อย ห้องละ 1 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเหลือง สีของเมล็ดเป็นสีเหลือง ขาว และสีแดง

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นในที่โล่งแจ้งชายป่าเบญจพรรณ

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เมล็ด รสมัน สรรพคุณ บำรุงเส้นเอ็น ทำให้เกิดความอบอุ่น

*ราก รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้น้ำปัสสาวะเป็นสีแดงเหลืองคล้ายขมิ้น และ ปัสสาวะน้อย

องค์ประกอบทางเคมี:

-สารสำคัญที่พบ ได้แก่ pectin ซึ่งเป็นใยพืช ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง, acoradiene, allantoin, α-amyrin, arabinitol, benzoic acid, butyrospermol, caffeic acid, cajaflavanone, cajasoflavone, cajaminose, cajanin, cajanol, cajanone, cajanus cajan lectin, cajanus cajan phyyoalexin 3, campesterol, para-coumaric acid, cycloartanol, 24-methylene, cycloartenol, cyclobranol, daidzein, daucosterol, erremophilene, erythritol, euphol, ferulic acid, flavone, iso: 2-5-7, trihydroxy: 7-O-β-D-glucoside, formononetin, galactinol, genistein, gentisic acid, glucitol, glycerol, α-guaiene, β-guaiene, n-hentriacontane, α-himachalene, hydrocyanic acid, inositol,myo, laccerol, lanosterol, 24-dihydro, 24-methylene, longistylin A, longistylin C, lupeol, mannitol, naringenin-4-7-dimethyl ether, parkeol, pinostrobin, protocatechuic acid, simiarenol, β-sitosterol, stigmasterol, stilbene, tannin, taraxerol, threitol, tirucallol, uronic acid, L-valine, vanillic acid,vitexin, wighteone,iso, xylitol, xylos[2]

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ลดไขมันในตับและระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อปี ค.ศ.1970 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษาผลในการลดไขมันของถั่วแระ โดยทำการทดลองในหนูทดลองที่ให้อาหารไขมันสูงจนเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ใช้ถั่วนิดต่าง ๆ ให้หนูทดลองกิน ได้แก่ ถั่วแระ ถั่วดำ ถั่วแดง และถั่วเขียว นาน 3 เดือน ผลการทดลองพบว่าถั่วทั้ง 4 ชนิด มีผลทำให้ไขมันในเลือด, ระดับ phospholipid ในตับ และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

-ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อปี ค.ศ.1973 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้พืชสมุนไพรหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากเมล็ดถั่วแระ สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้

-ฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอล เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของถั่วแระต้น โดยพบว่าในถั่วแระต้นมีสาร stibenes โดยใช้ทำการศึกษาทดลองในหนู (Kunming mice) ใช้ระยะเวลาการทดลอง 4 สัปดาห์ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่ 4 ให้สาร simvastatin ผลการทดลองพบว่า หนูกลุ่มที่ 2 มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง 31.4% ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 22.7% โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.01[

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า เมื่อฉีดสารสกัดจากเมล็ดถั่วแระต้นด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร หนูสามารถทนยาได้ถึง 1 กรัมต่อกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

ถั่วแระต้น thai-herbs.thdata.co | ถั่วแระต้น สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-ฝัก มาตากแห้งแกะเอาเมล็ดออกมาใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือนำไปขายเป็นสินค้าได้อีกด้วย

-ถั่วแระ เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงครั่งได้ดี (ทั่วไปแล้วจะใช้สะแกนา ปันแก่ พุทราป่า ลิ้นจี่ และไทร ในการเลี้ยงครั่ง) เนื่องจากต้นถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งแห้งแล้ง ปลูกง่าย ทนแล้ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี หลังจากปลูกแล้วจะให้ผลผลิตประมาณ 6-9 เดือน อีกทั้งเมล็ดถั่วแระยังให้โปรตีนสูง เจริญเติบโตแข่งกับพืชชนิดอื่นได้ดี และยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินได้อีกด้วย

-ปลูกถั่วแระเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ดิน และช่วยลดการพังทลายของหน้าดินจากน้ำฝน เนื่องจากถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งที่ราบและที่ลาดชัน

-ชาวปะหล่อง ขมุ และกะเหรี่ยงเชียงใหม่ จะนำผลถั่วแระมารับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก

-ชาวปะหล่อง ถือว่ายอดอ่อนและดอกถั่วแระเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ใช้ปะพรมน้ำมนต์หรือใช้ในพิธีปลูกเสาเอกของบ้าน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง