Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักขึ้นฉ่าย

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Celery

ชื่อวิทยาศาสตร์: Apium graveolens L.

ชื่อวงศ์: APIACEAE-UMBELLIFERAE

สกุล: Apium 

สปีชีส์: graveolens

ชื่อพ้อง: 

-Apium australe var. latisectum H.Wolff

-Apium celleri Gaertn.

-Apium decumbens Eckl. & Zeyh.

-Apium dulce Mill.

-Apium graveolens var. lusitanicum (Mill.) DC.

-Apium graveolens f. lusitanicum (Mill.) J.Helm

-Apium graveolens subsp. rapaceum (Mill.) P.D.Sell

-Apium integrilobum Hayata

-Apium lobatum Gilib.

-Apium lusitanicum Mill.

-Apium maritimum Salisb.

-Apium palustre Thore

-Apium rapaceum Mill.

-Apium vulgare Bubani

-Carum graveolens (L.) Koso-Pol.

-Celeri graveolens (L.) Britton

-Helosciadium graveolens (L.) Rojas Acosta

-Helosciadium ruta DC.

-Helosciadium rutaceum St.-Lag.

-Selinum graveolens (L.) E.H.L.Krause

-Seseli graveolens (L.) Scop.

-Sison ruta Burm.f.

-Sison trifidum Burm. ex DC.

-Sium apium Roth

-Sium graveolens (L.) Vest

-Smyrnium laterale Thunb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักขึ้นฉ่าย thai-herbs.thdata.co | ผักขึ้นฉ่าย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นพืชล้มลุก ต้นขึ้นฉ่าย (ขึ้นฉ่ายจีน) มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนต้นขึ้นฉ่ายฝรั่งจะมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ส่วนลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอมทั้งต้น มีอายุประมาณ 1-2 ปี และมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ต้นสีขาว ต้นสีเขียว และต้นสีน้ำตาลเขียว (ภาพแรกขึ้นฉ่ายจีน ส่วนภาพสองขึ้นฉ่ายฝรั่ง)

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบสีเขียวอมเหลือง ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ ก้านใบรวมอาจยาวได้ถึง 36-45 เซนติเมตร  ใบย่อยที่อยู่ชั้นล่างมีก้านใบยาวกว่าใบย่อยที่อยู่บนสุด ใบย่อยกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก แต่ละแฉกอาจจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปห้าเหลี่ยม


ผักขึ้นฉ่าย thai-herbs.thdata.co | ผักขึ้นฉ่าย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกมีขนาดเล็กสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ยอดดอกแผ่เป็นรัศมี 


ผักขึ้นฉ่าย thai-herbs.thdata.co | ผักขึ้นฉ่าย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็กมาก ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และมีกลิ่นหอม จะให้ผลเพียงครั้งเดียว

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: มักกะโรนีเซียถึงแอฟริกาเหนือ ยุโรปถึงหิมาลัยตะวันตก

การกระจายพันธุ์: -

ผักขึ้นฉ่าย thai-herbs.thdata.co | ผักขึ้นฉ่าย สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสเย็นหอม สรรพคุณ ความดันโลหิต บำรุงร่างกาย แก้เบาหวาน

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ทั้งต้น พบสาร  Epigenin , Phthalide , β-carotene , Luteolin , Pectin เป็นต้น และในส่วนของลำต้นและก้านยังพบน้ำมันหอมระเหยที่ประกอบด้วยสาร Selinene , Limonene , 3-n-butylphthalide , Sedanolide และ Sedanonic acid anhydride เป็นต้น 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร  การศึกษาฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัด 96% เอทานอลจากส่วนเหนือดินของขึ้นฉ่าย (Apium graveolens L.) ในหนูแรท พบว่าการให้หนูกินสารสกัดขึ้นฉ่ายสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยยา indomethacin ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดของสารสกัดที่ให้ และสารสกัดที่ขนาด 250 และ 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยแอลกอฮอล์และด่างแก่ได้ โดยที่ขนาด 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในอย่างชัดเจน การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดโดยการผูกกระเพาะอาหารส่วนปลายของหนูแรทเป็นเวลา 6 ช.ม. พบว่าการฉีดสารสกัดขนาด 250 และ 500 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง สามารถลดการหลั่งกรดรวมทั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จากผลการทดลองทำให้สามารถสรุปได้ว่า สารสกัด 96% เอทานอลจากต้นขึ้นฉ่ายสามารถป้องกันและยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยยา indomethacin แอลกอฮอล์ และด่างแก่ได้ รวมทั้งยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารด้วย ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์น่าจะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งลดการเกิด lipid peroxidation การเพิ่มขึ้นของ non-protein sulfhydryl (NP-SH) และฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งสารเมือก (mucus) ในกระเพาะอาหารของสารสกัดขึ้นฉ่าย

-ฤทธิ์ลดความดันโลหิตและลดคอเลสเตอรอลในเลือด มีการทดลองในผู้ป่วย 16 ราย โดยใช้ขึ้นฉ่ายสด (ไม่เอาราก) ล้างให้สะอาด คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมจำนวนเท่ากัน ดื่มครั้งละ 40 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง (อุ่นก่อนดื่ม)  ได้ผล 14 ราย ไม่ได้ผล 2 ราย โดยทั่วไปความดันโลหิตเริ่มลดลง หลังจากกินยาแล้วหนึ่งวัน มีบางรายที่ความดันเริ่มลดลงหลังจากกินยาไปแล้ว 4 วัน และผู้ป่วยจะรู้สึกเองว่าอาการดีขึ้น นอนหลับดี ปริมาณปัสสาวะมากขึ้น

-นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ และมีระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (มก.%) โดยใช้รากขึ้นฉ่ายสด 10 ต้น ล้างให้สะอาดและตำให้ละเอียด ใส่พุทราจีน (แห้ง) 10 ลูก ต้มน้ำแบ่งดื่มเช้า-เย็นเป็นเวลา 15-20 วัน ผลปรากฏว่า ในจำนวน 21 ราย พบว่า 14 รายมีคอเลสเตอรอลลดลง 8-75 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (มก.%) 

-ฤทธิ์ลดจำนวนเชื้ออสุจิ มีศึกษาวิจัยโดย ให้ผู้ทดลองอายุ 20-24 ปี จำนวน 7 คน กินผักขึ้นฉ่ายคนละ 85 กรัมต่อวันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ติดต่อกัน (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) พบว่า หลังจากกินผักขึ้นฉ่ายไปแล้ว เชื้ออสุจิจะลดลงจากค่าเฉลี่ยปกติ เกินร้อยละ 50 ภายในเวลา 1 สัปดาห์ 4 คน ภายใน 2 สัปดาห์ 2 คน และภายในเวลา 3 สัปดาห์ 1 คน  และหลังจากหยุดกินผักขึ้นฉ่ายแล้ว จำนวนเชื้ออสุจิจะค่อยๆ เพิ่มจำนวนสูงขึ้นจนเข้าสู่ระดับปกติ ภายใน 8-13 สัปดาห์

-ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับทำให้เจริญอาหาร  ขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และอาจมีผลทางอ้อมให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้กลิ่นของขึ้นฉ่ายอาจช่วยเจริญอาหาร

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบความเป็นพิษ  สารสกัดเอทานอล (80%) ของส่วนเหนือดินตากแห้ง ฉีดเข้าช่องท้องหนูขาว ค่า LD50 เท่ากับ 3587 มก./กก. และสารสกัดเอทานอล-น้ำ (1:1) ของส่วนผล ฉีดเข้าช่องท้องหนู   ถีบจักร ค่า LD50 มากกว่า 1 ก./กก.นอกจากนี้ส่วนของใบคื่นไฉ่ กรอกเข้าทางกระเพาะ อาหารของหนูขาว ในขนาด 465 มก./กก. ไม่มีพิษ

-พิษต่อเซลล์  สารสกัดที่ทำให้แห้งโดยวิธีแช่แข็งของส่วนก้านใบคื่นไฉ่ (ไม่ระบุความเข้มข้น) มีฤทธิ์ต่อเซลล์ Leuk-P815 ในหลอดทดลอง ยังพบว่าน้ำสกัดผลแห้ง ความเข้มข้น 100 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ต่อ Vero cells แต่สารสกัดเมทานอล-น้ำ (1:1) ความเข้มข้น 100 มคก./มล. มีฤทธิ์ไม่ชัดเจนต่อ Vero cells และสารสกัดเมทานอลลำต้นตากแห้ง ความเข้มข้น 200 มคก./มล. เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ macrophage cell line raw 264.7 แต่ในความเข้มข้น 40 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ต่อเซลล์ macrophage ในหลอดทดลอง นอกจากนี้สารสกัดเอทานอล-น้ำ (2:1) ของผลคื่นไฉ่ มีค่าขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (ED50) มากกว่า 20 มคก./มล. ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ CA-9KB ในหลอดทดลอง ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากส่วนเหนือดินสด มีขนาดที่ทำให้เซลล์มะเร็งตายครึ่งหนึ่ง (ED50) เท่ากับ 3.6 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ต่อเซลล์ CA-mammary-MCF-7 และเป็นพิษต่อเซลล์ CA-A549 โดยมีค่าที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (ED50) เท่ากับ 8.4 มคก./มล. ในหลอดทดลอง นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากส่วนเหนือดินสด มีการทดลองความเป็นพิษต่อเซลล์ลำไส้ใหญ่ของคน cancer cell line-H129 โดยมีขนาดที่ทำให้เซลล์ตายครึ่งหนึ่ง (ED50) เท่ากับ 9.1 มคก./มล. ในหลอดทดลอง

-พิษต่อตัวอ่อน  สารสกัดเอทานอล (95%) ของเมล็ด ในขนาด 100 มก./กก. น้ำสกัด และสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ของเมล็ด ในขนาด 150 มก./กก. กรอกเข้าทางปากของหนูขาวเพศเมีย พบว่าไม่มีพิษต่อตัวอ่อน สารสกัดเบนซีนของเมล็ดตากแห้ง กรอกเข้าช่องท้องของหนูขาวที่กำลังตั้งท้อง ขนาด 150 มก./กก. ไม่มีพิษต่อตัวอ่อน

-ทำให้เกิดอาการแพ้  ใบและลำต้นขึ้นฉ่าย ทาภายนอกในคน มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแพ้  นอกจากนี้ใบ   คื่นไฉ่สด ทาภายนอกในคน ทำให้เกิดอาการแพ้ และส่วนเหนือดินสด ทาภายนอกผิวหนังในความเข้มข้นที่ไม่ได้เจือจาง เกิดอาการผิวหนังอักเสบในคนที่สัมผัส คิดเป็น 4% ของทั้งหมด โดย 86.3% มีอายุต่ำกว่า 30 ปี

-ทำให้แท้ง  สารสกัดเอทานอล (95%) น้ำสกัด และปิโตรเลียมอีเทอร์ของเมล็ด กรอกเข้าปากหนูขาวที่ตั้งท้อง ในขนาด 100 มก./กก. ไม่มีฤทธิ์ทำให้แท้ง และสารสกัดเอทานอล (100%) กรอกเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ตั้งท้อง ในขนาด 200 มก./กก. ไม่มีฤทธิ์ทำให้แท้ง

-พิษต่อไต  น้ำมันหอมระเหยจากเมล็ด ฉีดเข้าช่องท้องของหนูตะเภาทั้งสองเพศ ในขนาด 0.73 และ 1.03 มล./กก. ไม่มีพิษต่อไต และน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ด ฉีดเข้าช่องท้องของหนูขาว ในขนาด 0.93 มล./กก. ไม่มีพิษต่อไต

-ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์  น้ำสกัดผล ความเข้มข้น 100 มก./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อ cells-pig-kidney-LLC-PK-1 และ trophoblastic-placenta ขึ้นฉ่ายสด และผ่านความร้อน มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimuriumในจานเพาะเชื้อ  และน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ด ทดลองในหนูขาว ค่า IC50เท่ากับ 0.015 มคก./แผ่น มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเซลล์ microsomes ในตับหนูขาว ชาชง (ไม่ระบุส่วน) ความเข้มข้น 100 มคล./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium TA98 และ 100 โดยใช้ ethyl methane sulfonate เหนี่ยวนำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ ทดลองในจานเพาะเชื้อ นอกจากนี้สารสกัดเอทานอล (70%) ของส่วนเหนือดินแห้ง ไม่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ใน E. coliโดยใช้ mitomycin เหนี่ยวนำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ ทดลองในจานเพาะเชื้อ Aqueous high speed supernatant (ไม่ระบุส่วน) ความเข้มข้น 0.1 มล./จานเพาะเชื้อ มีฤทธิ์อย่างอ่อนในการก่อกลาย พันธุ์ใน Salmonella typhimurium TA98 ทดลองในจานเพาะเชื้อ

การใช้ประโยชน์:

-ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

-ขึ้นฉ่ายมีโซเดียมอินทรีย์ที่ช่วยในการปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด

-ขึ้นฉ่ายเป็นหนึ่งในผักที่มีสารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นตัวช่วยป้องกัน DNA ถูกทำลาย ช่วยลดอาการอักเสบ และป้องกันมะเร็งด้วยการไปยับยั้งการกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็งในร่างกาย

-ขึ้นฉ่ายกับการล้างพิษในร่างกาย ขึ้นฉ่ายเป็นสุดยอดอาหารหรือผักที่ช่วยทำความสะอาดเลือด ช่วยทำให้ร่างกายสะอาด

-ขึ้นฉ่ายสามารถช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส (Silicosis) หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูดฝุ่นที่มีส่วนประกอบของซิลิก้าเข้าไป

-โรคอัลไซเมอร์ ใช้ขึ้นฉ่ายสดคั้นเอาน้ำดื่ม น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณใช้เป็นยากล่อมประสาท ช่วยในการนอนหลับ ทำให้รู้สึกสบายขึ้นที และมีคุณสมบัติในการนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ได้

-โรคปวดข้อต่าง ๆ และอาการปวดตามปลายประสาท เช่น รูมาติกและโรคเกาต์ ด้วยการใช้ผักขึ้นฉ่ายประมาณ 3-4 ต้น นำมาต้มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง หรือจะรับประทานแบบสด ๆ หรือทำเป็นอาหารผสมกินทุกมื้อติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน

-อาการปวดประจำเดือนของสตรี ทั้งก่อนและหลังการมีประจำเดือน ใช้ขึ้นฉ่ายสด 1 ขีด, รากบัวสด 1 ขีด, ขิงสด 1 ขีด, พุทราแดงจีนแบบแห้ง 1/2 ขีด นำมาต้มรวมกันในหม้อโดยกะน้ำพอท่วมยามากหน่อย ต้มจนเดือนแล้วนำมาดื่มก่อนหรือหลังมีประจำเดือน ถ้าหากช่วงไหนปวดช่วงไหนก็ให้ดื่มบ่อย ๆ หรือจิบกินเรื่อย ๆ แบบน้ำชา จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

-ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ใช้ขึ้นฉ่ายสดคั้นเอาน้ำดื่ม น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณใช้เป็นยากล่อมประสาท ช่วยในการนอนหลับ ทำให้รู้สึกสบายขึ้น

-ช่วยลดความดันโลหิต รักษาโรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีความดันปกติแต่ตรวจพบว่าความดันเริ่มสูง การรับประทานผักขึ้นฉ่ายวันละ 4 ก้านจะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องใช้ยารักษา และวิธีการใช้ขึ้นฉ่ายรักษาความดันก็ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้ต้นสด ๆ นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ หรือจะใช้ต้นสด 1-2 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ กรองเอากากออก ใช้รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หรือง่ายที่สุดก็รับประทานเป็นผักสดร่วมกับอาหาร

-ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด

-ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย ช่วยลดอาการของโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เช่น โรคบิด ท้องร่วง ท้องเสีย ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง กรดเกิน กรดไหลย้อน รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ เป็นต้น

-ช่วยในการคุมกำเนิด มีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ได้

-ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันหวัด และชะลอความเสื่อมของร่างกายได้เป็นอย่างดี

-ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งและเนื้องอก ขึ้นฉ่ายมีสารที่ช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ และยังมีสารที่ช่วยขับของเสียจากบุหรี่ในผู้สูบบุหรี่และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่อีกด้วย

-ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง เนื่องจากขึ้นฉ่ายอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส

-ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ เนื่องจากในผักขึ้นฉ่ายนั้นประกอบไปด้วยวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น

-ใช้รับประทานเป็นผัก ช่วยเพิ่มรสชาติ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร และช่วยเพิ่มความหอมของน้ำซุป เพราะในขึ้นฉ่ายมีสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งได้แก่ ไลโมนีน (Limonene), ซีลินีน (Selinene), ฟทาไลด์ (Phthaildes) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัว

-ขึ้นฉ่าย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูขึ้นฉ่าย เช่น ปลาผัดขึ้นฉ่าย, ปลากะพงผัดขึ้นฉ่าย, ปลาทับทิมผัดขึ้นฉ่าย, ปลานิลผัดขึ้นฉ่าย, ขึ้นฉ่ายยำวุ้นเส้น, ผัดเต้าหู้ขึ้นฉ่าย, กะเพราหมูผัดขึ้นฉ่าย เป็นต้น

-เมล็ดขึ้นฉ่าย เมื่อนำมานำมาสกัดด้วย Petroleum ether จะได้สารที่ช่วยทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน

-น้ำมันขึ้นฉ่าย สามารถนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ยาทาผิว ครีม และสบู่ได้




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง