Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย กาสามปีก

กาสามปีก thai-herbs.thdata.co | กาสามปีก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: กาจับลัก (กลาง,เหนือ)/ กาสามซีก ตีนกา (กลาง)/ แคตีนนก (กาญจนบุรี)/ ตีนนก (กลางอุดรธานี)/ ตีนนกผู้ มะยาง ห้าชั้น (เชียงใหม่)/ สมอตีนเป็ด (ชลบุรี ราชบุรี)/สมอหวอง (ชลบุรี)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex peduncularis Wall. ex Schauer

ชื่อวงศ์: LABIATAE-LAMIACEAE

สกุล: Vitex

สปีชีส์: peduncularis

ชื่อพ้อง:

-Vitex peduncularis f. roxburghiana (C.B.Clarke) Moldenke

-Vitex peduncularis var. roxburghiana C.B.Clarke

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นกาสามปีก จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้มหรือดำ กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีขนอ่อนขึ้นประปราย 

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบเรียว ยาวประมาณ 3.5-7 เซนติเมตร ด้านบนเรียบหรือเป็นร่องตื้น มีขอบเป็นสันชัดเจน ผิวเรียบหรือมีขนขึ้นประปราย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานถึงรูปรี หรือเป็นรูปคล้ายใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ใบย่อยจะมีขนาดไม่เท่า โดยใบกลางจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-17 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นประปราย ส่วนใบแก่ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนขึ้นตามเส้นกลางใบ ปลายเส้นแขนงใบโค้งจรดกัน เห็นได้ไม่ชัด ก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 0.1-1.2 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ มีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร แตกแขนงเป็นคู่ตรงข้ามหรือเกือบตรงข้ามกัน แต่ละแขนงจะแตกแขนงย่อยเป็นคู่ ๆ อีกประมาณ 1-3 คู่ ที่ปลายสุดของกิ่งจะเป็นช่อกระจุก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-0.5 เซนติเมตร มีใบประดับติดเป็นคู่ตรงจุดที่แตกกิ่ง ยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ร่วงได้ง่าย ดอกกาสามปีกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีใบประดับย่อยขนาดเล็ก 1 คู่ ติดอยู่ใต้กลีบเลี้ยง ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเป็นรูปกรวย สูงประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉกสามเหลี่ยมเล็ก 5 แฉก แฉกด้านล่างมักจะมีขนาดใหญ่กว่าแฉกอื่น ๆ กว้างได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน แบ่งเป็นอันยาว 2 อัน และสั้น 2 อัน ส่วนรังไข่มี 3-4 ช่อง

ผล มีลักษณะกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ฝาปิดขั้วผลมีขนาดกว้างประมาณ 1 ใน 4 ของตัวผล มีเนื้อหุ้มเมล็ดบาง ๆ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมี 1 เมล็ด

เมล็ด มีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดแข็งมาก

สภาพนิเวศวิทยา: พบบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400-900 เมตร ในไทยพบขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าคืนสภาพ พบมากในป่าชายหาด

ถิ่นกำเนิด: ยุโรป เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น  แอฟริกา มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ

การกระจายพันธุ์: ภาคเหนือของปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-เปลือกต้น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

-ในอินเดียจะใช้น้ำต้มจากใบและเปลือกเป็นยาลดไข้ และเชื่อว่าน้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณทางยา

-เปลือกต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

-เนื้อไม้ ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด

-ราก ต้น และใบของสมุนไพรชนิดนี้สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรียได้

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ใบอ่อน ยอดอ่อน ให้รสฝาดมัน นำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นผัก

-ชาวเมี่ยนจะใช้ใบนำมาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำดื่มเหมือนชา ให้รสชาติดี

-ในปากีสถานจะใช้ใบอ่อนรับประทานเป็นผักและรับประทานผลสุกด้วย

-เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ทำเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป เช่น เสา พื้น กระดาน รอด ตง พาย กรรเชียง ครก สาก พานท้าย รางปืน ฯลฯ ใช้ในงานแกะสลักได้ดี และใช้ทำฟืน 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง