Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กกลังกา (กกขนาก)

ชื่อท้องถิ่น: กกขนาก กกต้นกลม หญ้าสเล็บ หญ้าลังกา กกดอกแดง (พระนครศรีอยุธยา)/ กกรังกา หญ้ากก หญ้ารังกา (กรุงเทพฯ)/ จิ่วหลงทู่จู (จีนกลาง)/ เฟิงเชอเฉ่า (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Umbrella plant, Flatsedge

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus alternifolius L.

ชื่อวงศ์: CYPERACEAE

สกุล: Cyperus 

สปีชีส์: alternifolius

ชื่อพ้อง: 

-Cyperus frondosus Salisb.

-Eucyperus alternifolius (L.) Rikli

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กกลังกา thai-herbs.thdata.co | กกลังกา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกกลังกา เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเหนือดินสร้างช่อดอกและแตกเป็นกอ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าแข็งสั้นๆ คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน มีความสูงได้ประมาณ 100-150 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมค่อนข้างกลมมน มีสีเขียว 


กกลังกา thai-herbs.thdata.co | กกลังกา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบบาง ออกแผ่ซ้อน ๆ กันอยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 18-19 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ใต้ท้องใบสาก ในต้นหนึ่ง ๆ จะมีใบประมาณ 18-25 ใบ


กกลังกา thai-herbs.thdata.co | กกลังกา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มย่อยที่ปลายกิ่ง ช่อดอกแตกแขนงย่อย 20-25 แขนง มีขนาดกว้างประมาณ 12-20 เซนติเมตร มีใบประดับรองรับช่อดอกประมาณ 4-10 ใบ มีขนาดกว้างประมาณ 6-10 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร แต่ละแขนงจะมีดอกย่อยช่อละ 8-20 ดอก ดอกย่อยจะมีกาบหุ้ม ขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวแกมเขียว เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเขียวอ่อน ยาวได้ประมาณ 6-7 เซนติเมตร

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว รูปรี หรือรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.9-1 มิลลิเมตร ผลเป็นสีน้ำตาล เปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียวลัง

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามบริเวณที่ที่เป็นโคลนหรือน้ำ เช่น ข้างแม่น้ำ สระ ลำคลอง หรือบ่อน้ำ

ถิ่นกำเนิด: แอฟริกาเขตร้อน-ตอนเหนือ, มาดากัสการ์, คาบสมุทรอาหรับ

การกระจายพันธุ์: -

กกลังกา thai-herbs.thdata.co | กกลังกา สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น  รสจืดเย็นขมน้อย สรรพคุณ ขับน้ำดีได้ตกลงลำไส้

*ใบ รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าพยาธิ

*ดอก รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก

*ราก รสขมเอียน สรรพคุณ แก้ช้ำใน ขับโลหิตเน่าเสียให้ออกจากร่างกาย

*หัว รสขมเอียน สรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เสมหะเฟื่อง

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเบญจผลธาตุ” ได้แก่ หัวกกลังกา หัวเต่าเกียด หัวแห้วหมู หัวหญ้าชันกาดหัวเปราะ สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เจริญไปธาตุ แก้ทางเดินปัสสาวะ แก้ตับทรุด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคในปาก ใช้ดอกต้มกับน้ำดื่มหรืออมกลั้วคอ เป็นยาแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากซีด

-อาการปวดท้องน้อยหรือตกเลือดหลังการคลอดบุตรรี ให้ใช้เหง้ากกลังกานำมาฝนใส่เหล้า แล้วนำไปคั่วจนเนื้อยาเป็นสีคล้ำ นำข้าวสาร 1 กำมือ และยาที่คั่วแล้วปริมาณ 60 กรัม ใส่หม้อนำไปต้ม แล้วจึงนำมารับประทานเป็นยารักษา 

-อาการช้ำใน ตกเลือด ใช้รากต้มกับน้ำดื่ม หรือตำกับเหล้าคั้นเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ช้ำในและการตกเลือดจากอวัยวะภายใน ช่วยขับเลือดเน่าเสียออกจากร่างกาย

-ช่วยบำรุงร่างกาย เจริญอาหาร ขับน้ำดี ใช้เหง้าและลำต้นสด 3-5 ต้นหรือประมาณ 30-50 กรัม ล้างน้ำให้สะอาดสับเป็นท่อน ต้มในน้ำให้เดือด 1-2 ลิตร ประมาณ 10-15 นาที กรองเอาน้ำ ดื่มวันละ 2-3 เวลา

-ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาทำให้เจริญอาหาร ใช้เหง้า มีรสขม ต้มเอาน้ำดื่มหรือนำมาบดให้เป็นผงละลายกับน้ำร้อนดื่ม เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาทำให้เจริญอาหาร

-อาการแผลเปื่อยพุพองในปาก หรือโรคในปาก ใช้ดอกสด 10-20 กรัม ต้มในน้ำสะอาด 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำอมกลั้วคอ

-ช่วยขับเสมหะ ละลายเสมหะ ใช้เหง้าต้มกับน้ำดื่มหรือบดเป็นผงละลายกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาขับเสมหะ แก้เสมหะ เสมหะเฟื่อง และช่วยขับน้ำลาย

-นิยมนำปลูกต้นกกลังกาไว้เป็นไม้ประดับตามริมสระน้ำในสวนหรือใช้ปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่น ๆ

-การปลูกต้นกกลังกาไว้ริมขอบน้ำจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน นอกจากนี้ต้นกกลังกายังมีคุณสมบัติในการช่วยบำบัดน้ำเสียและช่วยปรับสมดุลทางระบบนิเวศวิทยาได้อีกด้วย




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง