Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะรุม

ชื่อท้องถิ่น:  ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน)/ กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)/ ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)/ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)/ เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 

ชื่อสามัญ: Moringa

ชื่อวิทยาศาสตร์: Moringa oleifera Lam.

ชื่อวงศ์: MORINGACEAE

สกุล: Moringa 

สปีชีส์: oleifera 

ชื่อพ้อง: 

-Guilandina moringa L.

-Hyperanthera moringa (L.) Vahl

-Moringa zeylanica Burmann

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะรุม thai-herbs.thdata.co | มะรุม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เนื้อไม้อ่อน เปลือกแตกร่อน สีน้ำตาลอ่อนปนเทา กิ่งอ่อนมีขน กิ่งก้านหักง่าย ผิวค่อนข้างเรียบ 


มะรุม thai-herbs.thdata.co | มะรุม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ออกเรียงสลับ ยาวประมาณ 45 เซนติเมตร โคนก้านใบประกอบป่องออก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้างประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบนิ่มอ่อนบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ใบที่อยู่ปลายสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่น  


มะรุม thai-herbs.thdata.co | มะรุม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ดอกออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวแกมเหลืองจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดดอกโตเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ไม่เท่ากัน คล้ายกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน เรียงสลับกับเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 5-7 อัน รังไข่มี 1 ห้อง


มะรุม thai-herbs.thdata.co | มะรุม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  มะรุม thai-herbs.thdata.co | มะรุม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นฝักทรงกระบอกกลม ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ฝักมีรอยคอด ตามแนวเมล็ด และมีสันตามยาว 9 สัน เปลือกฝักหนา ปลายฝักแหลม ฝักแห้งแตกออกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดจำนวนมากอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะกลม มีปีก 3 ปีก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบสด ใบมีรสเฝื่อน มีวิตามินซีและเอมาก ใช้เป็นยากินแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเยื่อเมือกอักเสบ หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล 

*เปลือกต้น มีรสร้อนเฝื่อน ร้อน ใช้ขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมเรอ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง คุมธาตุอ่อนๆ แก้ลม แก้ฝี แก้พยาธิ เป็นยาอายุวัฒนะ ต้มเป็นกระสายยาแก้หอบหืด 

*เปลือกสด ตำอม ถอนพิษเมาสุรา 

*กระพี้ รสร้อนเฝื่อน แก้ไข้สันนิบาตเพื่อลม ฝัก มีรสหวานเย็น ดับพิษถอนไข้ แก้ปัสสาวะไม่ปกติ 

*ราก มีรสเผ็ดหวานขม แก้บวม ช่วยกระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงไฟธาตุ นำรากทุบพอแตกอมไว้ข้างแก้ม ดื่มสุราจะไม่เมา  

*ราก ทำให้ความดันเลือดสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว นำมาปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้บวม บำรุงไฟธาตุ บำบัดโรคท้องมาน 

*ดอก มีรสจืด เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ และขับน้ำตา 

*เมล็ด รสจืดมัน แก้ไข้ แก้หอบ ตำพอกแก้ปวดตามข้อ แก้บวม บำรุงไฟธาตุ 

*น้ำมันจากเมล็ด (ben oil) ไม่มีสี กลิ่น และรส ใช้ทำยาขี้ผึ้งทาถูนวดแก้ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ แก้ปวดลดไข้ บำรุงหัวใจ ใช้ทำเครื่องสำอาง น้ำหอม ปรุงอาหาร ใช้เป็นน้ำมันสลัด

องค์ประกอบทางเคมี:   เปลือก มีสารอัลคาลอยด์ ได้แก่  moringine, moringinine    รากพบสารชื่อ spiruchin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน

-ฝักอ่อน นิยมนำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผัก เช่น แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม 

-ดอกมะรุม นำลวกรับประทานกับน้ำพริก 

-ยอดอ่อน ใบอ่อน นำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย

-ใบ นำมาแปรรูปเป็น “มะรุมแคปซูล” สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

-เมล็ด เมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน

-น้ำมันเมล็ด ที่ได้จากการคั้นเมล็ดสด นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร

-น้ำมันเมล็ด นำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้านและช่วยป้องกันสนิม

-แถบอินเดียนำฝักมะรุมมาใช้เป็นไม้ตีกลอง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง