Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ไทรกร่าง

ชื่อท้องถิ่น: นิโครธ ไทรนิโครธ (กรุงเทพฯ)/ บันยัน (สันสกฤต)/ บาร์คาด (ฮินดู)/ กร่าง (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ: Banyan tree, Bar, East Indian Fig

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus benghalensis L

ชื่อวงศ์: MORACEAE

สกุล: Ficus 

สปีชีส์: benghalensis

ชื่อพ้อง: 

-Ficus banyana Oken

-Ficus cotoneifolia Vahl

-Ficus cotonifolia Stokes

-Ficus crassinervia Kunth & C.D.Bouché

-Ficus indica L.

-Ficus karet Baill.

-Ficus lancifolia Moench

-Ficus lasiophylla Link

-Ficus procera Salisb.

-Ficus pubescens B.Heyne ex Roth

-Ficus umbrosa Salisb.

-Perula benghalensis (L.) Raf.

-Urostigma bengalense (L.) Gasp.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ไทรกร่าง thai-herbs.thdata.co | ไทรกร่าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นไทรกร่าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นตรงขึ้นเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลักษณะเป็นเรือนยอดแผ่กว้างปลายกิ่งลู่ลง เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง ลำต้นและกิ่งมีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย และเมื่อหยั่งถึงดินแล้วจะทำให้เกิดเป็นหลืบสลับซับซ้อน เป็นฉากเป็นห้อง หรือเป็นลำต้นต่อไปได้อีก ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่หนาแน่น 


ไทรกร่าง thai-herbs.thdata.co | ไทรกร่าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบมน บ้างว่ามีติ่งแหลมสั้น โคนใบเรียบหรือโค้งกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-14 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีเส้นแขนงของใบประมาณ 4-6 คู่ ก้านใบอวบ ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีหูใบหุ้มยอดอ่อน ใบอ่อนมีขนหนามากโดยเฉพาะในส่วนของท้องใบ ส่วนใบแก่ไม่มีขน ใบเมื่อแก่จะร่วงหล่นและมีรอยแผลใบให้เห็นเด่นชัดบนกิ่ง

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อมะเดื่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก เจริญเติบโตอยู่ภายใต้ฐานรองดอก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ภายในดอกประกอบไปด้วยดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวเมียจะอยู่ใกล้กับรูปากเปิด


ไทรกร่าง thai-herbs.thdata.co | ไทรกร่าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร บ้างว่าประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียวเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่ผลจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีเลือดหมู ในแต่ละผลจะมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ประมาณ 2-4 กลีบ

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: อินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน และได้แพร่

การกระจายพันธุ์:แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ ต้มชะล้างบาดแผล สมานแผล

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุก ใช้รับประทานได้ มีรสหวาน

-ผลสุก ที่เป็นสีแดงคล้ำใช้เป็นอาหารของนก

-ในอินเดีย ใช้ใบสำหรับใส่อาหารรับประทานอีกด้วย

-รากอากาศ มีความเหนียว สามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกได้ ส่วนเปลือกด้านในนั้นใช้ทำกระดาษ

-ต้นไทรกร่าง จัดเป็นไม้มงคลตามพุทธประวัติที่พระกัสสปพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน และได้ตรัสรู้ ณ ควงไม้ไทรกร่าง จึงมีการนิยมปลูกไว้ตามศาสนสถานหรือตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงาและเพิ่มความร่มเย็น แต่จะไม่นิยมปลูกไว้ในบ้านเนื่องจากต้นนิโครธมีขนาดใหญ่เกินไป



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง