Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: สารพัดพิษ

ชื่อท้องถิ่น: สารพัดพิษ ซับพิษ ส้มพอ กักไม้ฝอย สะนาน

ชื่อสามัญ: Necklace Pod, Yellow Necklace Pod, Silverbush

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sophora tomentosa L.

ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE-FABACEAE

สกุล: Sophora 

สปีชีส์: tomentosa

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นสารพัดพิษ เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุนาน 20-30 ปี ลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นอ่อน และกิ่งอ่อนมีเปลือกสีเขียวนวล ลำต้นที่โตเต็มที่ และกิ่งแก่มีสีเทาอมน้ำตาล และมีขนสีนวลปกคลุม

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกแบบใบเดี่ยว (ใบสุดท้ายมีใบเดียว) ประกอบด้วยก้านใบหลัก ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร บนก้านใบหลักมีใบย่อย 13-21 ใบ ใบย่อยมีรูปไข่กลับ โคนใบ และปลายใบโค้งมน บางชนิดปลายสุดของใบเป็นติ่งแหลม ขนาดใบกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกที่ปลายยอดในแต่ละกิ่ง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร แต่ละก้านช่อมีดอกย่อย 15-40 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะทรงกระบอก คล้ายดอกแคบ้าน ยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงที่มีลักษณะเป็นรูปถ้วยสีเหลืองอมเขียวห่อหุ้มดอกไว้ ถัดมาเป็นกลีบดอกที่มีลักษณะรียาว จำนวน 5 กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร แผ่นกลีบดอกมีสีเหลือง

ผล ลักษณะออกเป็นฝัก ออกเป็นผลเดี่ยว ผลมีลักษณะแปลก คือ ผลมีลักษณะขอดเป็นข้อหรือก้อนนูน 1-10 ขอด เรียงกันยาวคล้ายสร้อยลูกปัด ฝักอ่อนมีสีเขียวสด และมีขนนวลปกคลุม ฝักแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล แล้วแห้งกลายเป็นสีดำ เมล็ดจะมีจำนวนตามขอดหรือก้อนนูนบนฝัก เช่น จำนวนขอด 5 ขอด ก็จะมีเมล็ด 5 เมล็ด ซึ่งเมล็ดจะแทรกอยู่ภายในขอด เมล็ดในฝักอ่อนมีสีเขียวอมขาว เมล็ดแก่มีสีน้ำตาล เปลือกเมล็ดค่อนข้างแข็ง

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ลูก รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้กลับซ้ำ

*ราก รสเบื่อเฝื่อนเย็น สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทาแก้พิษตะขาบ แมงป่อง แก้ปวดฝี

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ถอนพิษงู ใช้ใบมาตำโขลก และผสมกับเหล้าโรง แล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม และนำส่วนของรากให้นำมาตำบดเช่นกันแล้วนำมาพอกบริเวณแผลงูกัด ซึ่งสามารถดับพิษได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง รวมถึงสามารถนำไปใช้ดับพิษสัตว์ชนิดอื่นๆ อาทิ พิษแมงป่อง พิษและตะขาบ เป็นต้น

-อาการปวดแสบปวดร้อนจากน้ำร้อนลวก ใช้ใบมาคั่วไฟกับน้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว ก่อนนำน้ำมัน และใบที่เคี่ยวแล้วมาทารักษาแผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง