Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้านาง (ย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, หญ้าภคินี) 

ชื่อท้องถิ่น: เถาวัลย์เขียว (กลาง)/ ยาดนาง วันยอ (สุราษฎร์ธานี)/ จ้อยนาง (เชียงใหม่)/ เถาร้อยปลา ปู่เจ้าเขาเขียว เถาย่านาง ย่านางขาว ย่านนาง หญ้าภคินี (ทั่วไป)

ชื่อสามัญ: Bai ya nang

ชื่อวิทยาศาสตร์: Limacia triandra Miers

ชื่อวงศ์: MENISPERMACEAE

สกุล: Limacia 

สปีชีส์: triandra

ชื่อพ้อง: 

-Cocculus triandrus Colebr.

-Limacia amherstiana Miers

-Limacia triandra Miers

-Limacia wallichiana Miers

-Menispermum triandrum Roxb.

-Sebicea stipularis Pierre ex Diels

-Tiliacora triandra Diels

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้านาง-ย่านาง thai-herbs.thdata.co | หญ้านาง-ย่านาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้านาง  เป็นไม้เถาเลื้อย เถากลมขนาดเล็ก มีเนื้อไม้ เลื้อยพันตามต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เถามีสีเขียว ยาว 10-15 เมตร เถาอ่อนสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีคล้ำ แตกเป็นแนวถี่ เถาอ่อนมีขนนุ่มสีเทา มีเหง้าใต้ดิน กิ่งก้านมีรอยแผลเป็นรูปจานที่ก้านใบหลุดไป มีขนประปราย หรือเกลี้ยง 


หญ้านาง-ย่านาง thai-herbs.thdata.co | หญ้านาง-ย่านาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว หนา สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงแบบสลับ รูปไข่ ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมัน ไม่มีหูใบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ แต่แข็ง เหนียว มีเส้นใบกึ่งออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบ 2-6 คู่ เส้นเหล่านี้จะไปเชื่อมกันที่ขอบใบ เส้นกลางใบด้านล่างจะย่นละเอียดใกล้ๆโคน ขนเกลี้ยง ก้านใบผิวย่นละเอียด

 หญ้านาง-ย่านาง thai-herbs.thdata.co | หญ้านาง-ย่านาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ แบบแยกแขนงตามข้อและซอกใบ มีดอก 1-3 ดอก สีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้สีเหลือง กลีบเลี้ยงมี 6-12 กลีบ กลีบวงนอกสุดมีขนาดเล็กที่สุด กลีบวงในมีขนาดใหญ่กว่าและเรียงซ้อนกัน รูปรีกว้าง ยาว 2 มิลลิเมตร ค่อนข้างเกลี้ยง กลีบดอกมี 3 หรือ 6 กลีบ สอบแคบ ปลายเว้าตื้น ยาว 1 มิลลิเมตร เกลี้ยง เกสรเพศผู้มี 3 อัน เป็นรูปกระบอง ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงวงในรูปกลม ยาว 2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนประปราย กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปรีแกมขอบขนาน ยาว 1 มิลลิเมตร เกสรเพศเมียมี 8-9 อัน แต่ละอันยาวไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ติดอยู่บนก้านชูสั้นๆ ยอดเกสรเพศเมียไม่มีก้าน 


หญ้านาง-ย่านาง thai-herbs.thdata.co | หญ้านาง-ย่านาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลกลุ่ม ผลกลมรูปไข่กลับ กว้าง 6-7 มิลลิเมตร ยาว 7-10 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยง มีเมล็ดแข็ง ผลสีเขียว ฉ่ำน้ำ ออกเป็นพวง ตามข้อและซอกใบ ติดบนก้านยาว 3-4 มิลลิเมตร เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและแดงสด เมล็ดรูปเกือกม้า ผนังผลชั้นในมีสันไม่เป็นระเบียบ 

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบใกล้ทะเล ตามริมน้ำในป่าละเมาะ พบมากในที่รกร้าง ไร่ สวน 

ถิ่นกำเนิด: อัสสัมไปจนถึงคาบสมุทรมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, กัมพูชา, ลาว, มาลายา, เมียนมาร์, ไทย, เวียดนาม

หญ้านาง-ย่านาง thai-herbs.thdata.co | หญ้านาง-ย่านาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสเย็นขม สรรพคุณ แก้ไข้ทุกชนิด ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัว เหือด หัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ ขับกระทุ้งพิษได้ดี

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้หญ้านาง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของหญ้านางร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้1. แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด 

2.ยาแก้ไข้ปรากฏตำรับ “ยามหานิลแท่งทอง” มีส่วนประกอบของหญ้านางร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ไข้กาฬ หัด อีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากไข้กาฬ หัด และอีสุกอีใส) แก้ร้อนในกระหายน้า ตำรับ “ยาห้าราก” มีส่วนประกอบของหญ้านางร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ใบ พบสาร กลุ่มฟินอลิก (phenolic compound) ได้แก่ Minecoside, p-hydroxy benzoic acid และสารในกลุ่มฟลาโวนไกลโคไซด์ ได้แก่ moonoepoxy-betacarotene, flavones glycosidf cinnamic acid derivative ส่วนสารอัลาลอยด์ ได้แก่ tiliacorine, Tiliacorinine, nor-tiliacorinine, tiliacorinin 2,-N-oxide Tiliandrine , Tetraandrine และ D-isochondendrine 

-ราก สกัดด้วยตัวทำละลาย  chloroform:methanol:ammonium hydroxide ในอัตราส่วน (50:50:1) ใช้วิธีแยกสารด้วย column chromatography  และการตกผลึก พบว่าได้สารประกอบ alkaloid  2 ชนิด คือ tiliacorinine (I) และ tiliacorine (II) ปริมาณ  0.0082% และ 0.0029% ตามลำดับ  

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum ของสารสกัดรากย่านางด้วยเมทานอล ซึ่งสารสกัดมีสาร alkaloid เป็นองค์ประกอบ 2 ส่วนสกัด คือส่วนที่ละลายน้ำ และส่วนที่ไม่ละลายน้ำ พบว่าเฉพาะสาร alkaloid ที่ไม่ละลายน้ำ (water-insoluble alkaloid) มีฤทธิ์เพิ่มการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย จากองค์ประกอบทางเคมีที่แยกได้ พบสาร alkaloid ที่แตกต่างกัน 5 ชนิด ในกลุ่ม bisbenzyl isoquinoline ได้แก่ tiliacorine, tiliacorinine, nor-tiliacorinine A, และสาร alkaloid ที่ไม่สามารถระบุโครงสร้างได้ คือ G และ H ซึ่งพบว่าสาร alkaloid G มีฤทธิ์สูงสุดในการกำจัดเชื้อมาลาเรียระยะ schizont (เป็นระยะที่เชื้อมาลาเรียเข้าสู่เซลล์ตับ แล้วเปลี่ยนรูปร่างเป็นกลมรี และมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการแบ่งนิวเคลียสเป็นหลาย ๆ ก้อน) โดยมีค่า ID50 เท่ากับ 344 ng/mL ตามด้วย nor-tiliacorinine A และ tiliacorine ตามลำดับ (ID50s เท่ากับ 558 และ 675 mg/mL ตามลำดับ) (Pavanand, et al., 1989)

-ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อวัณโรค สาร bisbenzylisoquinoline alkaloids 3 ชนิด ได้แก่ tiliacorinine, 20-nortiliacorinine และ tiliacorine ที่แยกได้จากรากย่านาง และอนุพันธ์สังเคราะห์ 1 ชนิด คือ 13҆-bromo-tiliacorinine   สารทั้ง 4 ชนิดนี้ ได้นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยา multidrug-resistant Mycobacterium tuberculosis (MDR-MTB)  ผลการทดสอบพบว่า สารทั้ง 4 ชนิด มีค่า MIC อยุ่ระหว่าง 0.7 - 6.2 μg/ml แต่ที่ค่า MIC เท่ากับ 3.1 μg/ml เป็นค่าที่สามารถยับยั้ง  MDR-MTB ได้จำนวนมากที่สุด (Sureram, et al., 2012)

-ฤทธิ์ต้านมะเร็ง การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี ในหลอดทดลอง และในสัตว์ทดลอง โดยศึกษาผลของสาร tiliacorinine ซึ่งเป็นสาร กลุ่ม alkaloid ที่พบในย่านาง  ในการทดสอบ in vivo ทำในหนูถีบจักร เพื่อดูผลลดการเจริญของก้อน   เนื้องอกในหนูที่ได้รับเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี และสาร tiliacorinine  ผลการทดสอบพบว่า  tiliacorinine  มีนัยสำคัญในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีในหลอดทดลอง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 4.5-7 µM โดยกลไกการกระตุ้นกระบวนการ apoptosis ซึ่งเป็นขบวนการในการกำจัดเซลล์ผิดปกติ และเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย และการทดสอบในหนูพบว่าสามารถลดการเจริญของก้อนเนื้องอกในหนูได้ (Janeklang, et al., 2014)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-สารสกัดใบย่านางด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนู ปริมาณ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม (คิดเป็นปริมาณ 6,250 เท่าของปริมาณที่คนได้รับ) ไม่แสดงความเป็นพิษ

-การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากทุกส่วนของย่านาง โดยการป้อนสารสกัด ในหนูเพศผู้ และเพศเมีย ชนิดละ 5 ตัว ในขนาด  5,000 mg/kg เพียงครั้งเดียว พบว่าไม่มีอาการแสดงของภาวะเป็นพิษเกิดขึ้น  ไม่มีการแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติ ไม่มีการตาย หรือการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายใน  การศึกษาพิษเรื้องรัง ทดสอบโดยป้อนสารสกัดแก่หนูทดลอง เพศผู้ และเพศเมีย ชนิดละ 10 ตัว ทุกวัน ในขนาดความเข้มข้น 300, 600 และ 1,200 mg/kg ติดต่อกันนาน 90 วัน   ไม่พบความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม และสุขภาพ หนูในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จะมีการทดสอบในวันที่ 90 และ 118 โดยตรวจร่างกาย และมีกลุ่มที่ติดตามผลต่อไปอีก 118 วัน ผลการทสอบพบว่า น้ำหนักของอวัยวะ ค่าชีวเคมีในเลือด และเนื้อเยื่ออวัยวะภายใน ไม่พบการเกิดพิษ  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดย่านางด้วยน้ำ ไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรังในหนูทดลอง ทั้งในหนูเพศผู้ และเพศเมีย (Sireeratawong, et al., 2008)

จากการทดสอบฤทธิ์ลดไข้ของสารสกัด 50% เอทานอลจากรากย่านาง เมื่อนำไปตรวจสอบฤทธิ์ในการลดไข้ พบว่าไม่มีคุณสมบัติในการลดไข้แต่มีพิษต่อสัตว์ทดลอง การวิจัยทางเคมีได้แยกอัลคาลอยด์ ออกมาสองประเภท คือ อัลคาลอยด์ที่ไม่ละลายน้ำ(water-insoluble alkaloids) และอัลคาลอด์ที่ละลายน้ำ (water-soluble quarternary base) เมื่อตรวจสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของอัลคาลอยด์ที่แยกได้ พบว่าการเกิดพิษต่อสัตว์ทดลองเกิดจาก water-soluble quarternary base ซึ่งมีฤทธิ์คล้าย curare จากการตรวจหาสูตรโครงสร้างสรุปได้ว่า water-soluble quarternary base นี้อาจอยู่ในจำพวก aporphine alkaloids (Dechatiwongse, et al., 1974)

การใช้ประโยชน์:

หญ้านาง-ย่านาง thai-herbs.thdata.co | หญ้านาง-ย่านาง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-ชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชรา เนื่องจากย่านางมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล

-อาการไข้ ลดความร้อน ร้อนในกระหายน้ำ ใช้รากหรือเถาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ใบปั่นดื่มเพื่อดับร้อนแก้กระหายน้ำ

-อาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ใช้ใบสดหรือแห้งต้มกับน้ำดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะสะดวก 

-อาการผื่นคัน ตุ่มน้ำใส สิว ฝี ใช้น้ำย่านางผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว นำมาทาบริเวณที่มีอาการ จะช่วยบรรเทาอาการอาการผื่นคัน ตุ่มน้ำใส สิว ฝี ลดการอักเสบ

-ชาวบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ น้ำคั้นจากใบ มีรสขม ปรุงใส่แกงหน่อไม้แกงอ่อม หรือแกงอีสานต่างๆ เป็นเครื่องชูรสได้ดีชนิดหนึ่ง เส้นใยจากเถา เหนียวมาก ใช้ทำเชือก หรือใช้มัดตับหญ้าคาที่ใช้มุงหลังคาได้




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง