Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: โกฐก้านพร้าว 

โกฐก้านพร้าว thai-herbs.thdata.co | โกฐก้านพร้าว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย ชื่อไทย: โกฐก้านพร้าว 

ชื่อท้องถิ่น: หูหวางเหลียน (จีนกลาง), กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้

ชื่อสามัญ: Picorrhiza (picrorhiza kurroa root)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Picrorhiza kurroa Royle ex Benth.

ชื่อวงศ์: PLANTAGINACEAE

สกุล: Picrorhiza

สปีชีส์: kurroa

ชื่อพ้อง:

-Picrorhiza kurroa Royle ex Benth. (พันธุ์อินเดีย)

-Picrorhiza lindleyana Steud, Veronica lindleyana Wall. (พันธุ์อินเดีย)

-Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D.Y.Hong (พันธุ์ทิเบต)

-Picrorhiza scrophulariiflora Pennell) (พันธุ์จากทิเบต)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นโกฐก้านพร้าว เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 5-10 เซนติเมตร

ใบ ออกติดกับราก ซ้อนกันเหมือนใบดอกบัว ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรีเหมือนช้อน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นจากโคนใบ ดอกมีสีม่วงเข้มหรือสีม่วงน้ำเงิน ก้านดอกยาว

ผล  เป็นรูปไข่กลม

เมล็ด เป็นรูปไข่ สีดำเงา ขนาดยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร

รากหรือเหง้า (โกฐก้านพร้าว) มีลักษณะกลมยาว ผิวขรุขระ มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับก้านย่อยของช่อดอกมะพร้าวเมื่อช่อดอกนั้นติดลูก ที่เรียกกันว่า "หางหนูมะพร้าว" มีข้อคล้ายตะไคร้ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีประมาณ 5-8 ข้อ แต่ละข้อจะมีขน ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม มีวง ๆ อันเป็นแผลเป็นของตา มีตาและมีส่วนของลำต้นติดอยู่บ้าง เนื้อนิ่ม รากจะมีรอยย่นตามแนวยาว มีรอยแตกตามขวาง และมีรอยแผลเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลเป็นจุด ๆ ที่รอยหักแข็ง ส่วนเนื้อในนั้นเป็นสีดำ

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของป่าหิมพานต์จากแคชเมียร์ไปจนถึงแคว้นสิกขิมของประเทศอินเดีย, บางตำราระบุว่ามีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาหิมาลัยในเขตปากีสถานจนถึงเนปาล

การกระจายพันธุ์: เทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ปากีสถาน จนกระทั่งรัฐอุตตรประเทศและแคชเมียร์ของอินเดีย จนถึงสิกขิม เนปาล ทิเบต และในศรีลังกา

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, แยกเหง้าปลูก

สรรพคุณ:

- ตำรายาไทย

*ราก ไม่มีกลิ่นหอมใด ๆ รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก แก้เสมหะเป็นพิษ

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต

2.“พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก

3.“พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติด้านยา ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้โกฐก้านพร้าวในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐก้านพร้าวอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของโกฐก้านพร้าวร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ

-ตำราอายุรเวทของอินเดียกล่าวว่า ถ้าใช้ในขนาดต่ำ ๆ จะมีสรรพคุณบำรุงธาตุทำให้เจริญอาหาร  และเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ถ้าใช้มากจะเป็นยาบำรุง และเชื่อกันว่าเป็นยาแก้ไข้จับสั่น และเป็นยาขับน้ำดี ราก แก้ไข้ แก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก แก้สะอึก แก้หอบเพราะเสมหะเป็นพิษ แก้อาเจียน แก้ลม แก้กำเดา

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์: -




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง