Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ขี้เหล็กเลือด

ชื่อท้องถิ่น: ขี้เหล็กคันชั่ง ขี้เหล็กตาซี ขี้เหล็กแดง ขี้เหล็กยายชี ขี้เหล็กปันช่าง บี้ตะขะ ช้าขี้เหล็ก ขี้เหล็กแมลงสาบ (เชียงใหม่)/ มะเกลือเลือด (ราชบุรี)/ กะแลงแง็น (นราธิวาส)/ ขี้เหล็กคันชั่ง ขี้เหล็กแดง (ภาคเหนือ)/ ขี้เหล็กดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้เหล็กป่า (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)/ กะแลงแงน ขี้เหล็กนางชี ขี้เหล็กเลือด ช้าขี้เหล็ก (ภาคใต้)/ ปี้ตะขะ (ละว้า-เชียงใหม่)/ แมะขี้เหละที แมะแคะแหล่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน)/ จี้ลีหลอย (เงี้ยว-แม่ฮองสอน)

ชื่อสามัญ: H.S.Irwin & Barneby

ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna timoriensis (DC.) H.S.Irwin & Barneby

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE-CAESALPINIACEAE

สกุล: Senna 

สปีชีส์: timoriensis

ชื่อพ้อง:

-Cassia arayatensis Llanos

-Cassia eglandulosa Dum.Cours.

-Cassia goensis Dalzell

-Cassia laxiflora Benth.

-Cassia montana Náves ex Fern.-Vill.

-Cassia palmata Wall.

-Cassia timoriensis DC.

-Cassia xanthocoma Miq.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นขี้เหล็กเลือด เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีลักษณะคล้ายขี้เหล็กบ้าน ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 8-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหรือสีเหลืองถึงสีเหลืองทองขึ้นปกคลุม 


ขี้เหล็กเลือด thai-herbs.thdata.co | ขี้เหล็กเลือด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ 10-20 คู่ แกนกลางยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ก้านใบประกอบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมสั้น ๆ หรือเป็นติ่ง โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้านของแผ่นใบ ก้านใบย่อยสั้น ท้องใบเป็นสีแดง มีหูใบเป็นรูปติ่งหู ขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงแบบหลวม ๆ โดยจะออกตามซอกใบ ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขน ใบประดับเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายกลม ยาวไม่เท่ากัน โดยจะยาวประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มด้านนอก สำหรับกลีบดอกนั้นจะเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร โคนกลีบดอกแหลม มีก้านกลีบสั้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน 2 อันมีขนาดใหญ่กว่า ก้านเกสรยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้อีก 5 อัน มีอับเรณูขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย อับเรณูมีช่องเปิดที่ปลาย เกสรเพศผู้ที่ลดรูปจะมี 3 อัน ขนาดยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่และก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยอดเกสรมีขนาดเล็ก

ผล มีลักษณะเป็นฝักขนาดเล็ก ฝักเป็นรูปแถบ แบน และเกลี้ยง ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กระเปาะแตกได้ ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลหลายเมล็ด หรือประมาณ 10-30 เมล็ด 

เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปรีแบนและเป็นมันวาว เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: สำหรับประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าราบ ป่าผลัดใบ ชายป่าที่แห้งแล้ง สองข้างถนน หรือบางครั้งพบขึ้นตามเขาหินปูน

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บอร์เนียว, กัมพูชา, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, อินเดีย,บังกลาเทศศรีลังกา, จาวา, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, ดินแดนทางเหนือ, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์, สุลาเวสี, สุมาตรา, ไทย, เวียดนาม, ออสเตรเลียตะวันตก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*แก่น รสขมจัด สรรพคุณ แก้กระษัย แก้ไตพิการ ปวดบั่นเอว ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต ขับระดูเสีย

*เปลือกต้น  รสขม แก้โรคหิด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ช่วยบำรุงโลหิต ใช้แก่น มีรสขม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต 

-ช่วยรักษาโรคสตรีที่มีโลหิตระดูเสีย เป็นยาล้างขับโลหิต ใช้แก่น มีรสขม ใช้ต้มกับน้ำดื่มรักษาโรค

-ใช้เป็นยาแก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาอาการปวดเอว แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นปัตคาดบริเวณท้องน้อยและหน้าขาตึง ใช้แก่น มีรสขม ใช้ต้มกับน้ำดื่มรักษาโรค

-ใบอ่อนและดอกตูม ใช้รับประทานเป็นอาหารได้

-ใช้ปลูกเป็นไม้เบิกนำ เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ทนความแล้งได้ดี

-ชาวขมุจะใช้เนื้อไม้หรือกิ่งนำมาใช้ในการก่อสร้าง ส่วนลำต้นนำไปใช้ทำฟืน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง