Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ทุเรียน

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Durian

ชื่อวิทยาศาสตร์: Durio zibethinus L.

ชื่อวงศ์: MALVACEAE

สกุล: Durio 

สปีชีส์: zibethinus

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นทุเรียน เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูง 20-40 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50-120 เซนติเมตร มีอายุได้นานกว่า 80-100 ปี หรือมากกว่า เปลือกลำต้นมีสีเทาแก่ เปลือกแข็งเป็นสะเก็ด และแตกเป็นทางยาว ลำต้นมีเนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน ไม่นิยมนำมาแปรรูป แต่อาจใช้สับเป็นไม้เพาะเห็ดหรือใช้ทำปุ๋ยได้ กิ่งแขนงมีลักษณะกลม และเล็ก กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลเทาหรือสีทองแดง ทรงพุ่มทุเรียน มี 3 แบบ ได้แก่

*ทรงพุ่มสีเหลี่ยม ได้แก่ พันธุ์ก้านยาว

*ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ได้แก่ พันธุ์ชะนี

*ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ ฐานแคบ ได้แก่ พันธุ์กบต่างๆ

ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดสลับกันตรงกันข้ามบนกิ่ง ใบมีลักษณะหนา และแข็ง ยาวประมาณ 8 ถึง 20 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4 ถึง 6 เซนติเมต ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ไม่มีหูใบ แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน ส่วนด้านล่างของใบมีสีน้ำตาล และมีขนปกคลุม เส้นกลางใบ และก้านใบมีสีน้ำตาล ก้านใบมีสองตอน ครึ่งท่อนแรกจากฐานใบมีขนาดใหญ่ และครึ่งท่อนหลังจนถึงกิ่งมีขนาดเรียวเล็กลง ใบอ่อนมีลักษณะพับที่เส้นกลางใบเข้าหากัน มีก้านใบสีน้ำตาลยาวประมาณ 1 นิ้ว เส้นใบสานกันเป็นร่างแห

ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกตามตาของกิ่งที่แยกออกจากลำต้น เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีรังไข่อยู่เหนือส่วนอื่นของดอกแต่ละ ดอกประกอบด้วย กลีบเลี้ยงอยู่ชั้นนอกสุดมีสีเขียวอมน้ำตาล หุ้มดอกไว้มิดชิดโดยไม่มีการแบ่งกลีบแต่เมื่อดอกใกล้แย้ม จึงแยกออกเป็นสองหรือสามกลีบ กลีบรองลักษณะคล้ายหม้อตาลโตนดอยู่ถัดเข้าไปจากกลีบเลี้ยง กลีบดอกสีขาวนวลมี 5กลีบ เกสรตัวผู้มี 5 ชุด ประกอบด้วยก้านเกสร 5-8 อัน ทุเรียนมักออกดอกเป็นช่อๆหนึ่งมีตั้งแต่ 1-30 ดอก ดอกมักอยู่รวม กันเป็นพวงๆมี 1-8 ดอก


ทุเรียน thai-herbs.thdata.co | ทุเรียน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลเดี่ยว มีเปลือกหนา มีหนามแหลมแข็งเป็นรูปปิรามิดตลอดผล ทรงของผลทุเรียนมีหลายรูปแบบแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของทุเรียน เช่นพันธุ์กลม (ก้านยาว กระดุม) พันธุ์ก้นป้าน (หมอนทอง ทองย้อย) ฯลฯ ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตรความยาวอยู่ที่ลักษณะของทุเรียน ผลมีลักษณะเป็นร่องเหลี่ยม เรียกว่า “พู” ด้านในประกอบด้วยเมล็ด และเนื้อหุ้มเมล็ดที่มีสีต่างๆ ตั้งแต่สีขาวเหลือง เหลืองอ่อนจนถึงสีจำปา เนื้อของทุเรียนมีสีจำปาหรือเนื้อสีเหลืองอ่อน ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพันธุ์ของทุเรียน แต่ละพูมี 1-3 เมล็ด ส่วนเมล็ดมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ ขนาดเมล็ดใหญ่ มีสีต่างๆ ตามพันธุ์ เมล็ดแก่จัดมีสีน้ำตาลอมเหลืองหรืออมแดง

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย 

การกระจายพันธุ์: ไทย พม่า ซีลอน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการเสียบยอด การตอน

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสฝาด สรรพคุณ คุมธาตุ แก้ท้องร่วง

*เปลือกลูก รสฝาด สรรพคุณ คุมธาตุ สมานแผล แก้น้ำเปลืองเสียพุพอง แก้ฝีตานซาง กลิ่นของเปลือกลูกทุเรียน ขับไล่ตัวเรือดได้ เผาเป็นขี้เถ้า ละลายน้ำมันมะพร้าว ทาแก้คางทูม 

*เนื้อในลูก มีธาตุกำมะถัน รับประทานมากๆ ทำให้เกิดความร้อนในร่างกาย แก้โรคผิวหนังและขับพยาธิไส้เดือนในท้องได้

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง สามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)

-ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น

-แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย

-เส้นใยของทุเรียน มีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น

-เนื้อผล สามารถนำมาแปรรูปหรือทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด เช่น ลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมปังสอดไส้, ไอศกรีม, มิลก์เชก, เค้ก, คาปูชิโน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนกรอบ, แยมทุเรียน ฯลฯ

-เมล็ด นำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า

-ใบอ่อนหรือหน่อ นำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้

-เปลือกผล สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการรมควันปลา

-เปลือกผล สามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้ ซึ่งจะมีเส้นใยเหนียวนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา

-ในประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกทุเรียนมารับประทาน

-ความเชื่อ การปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้าน (ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เชื่อว่าผู้อยู่อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้ แก่วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้มาก เพราะคำว่าทุเรียนมีเสียงพ้องกับเกี่ยวกับการเรียนนั่นเอง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง