Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เถาคัน (เถาคันขาว, เถาคันแดง)

ชื่อท้องถิ่น: หุนแปแดง หุนแปขาว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ เครือหุนแป เถาคันแดง เถาคันขาว (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ: Virginia creeper, True Virginia creeper, Victoria creeper, Five-leaved ivy, Five-finger

ชื่อวิทยาศาสตร์: Parthenocissus quinquefolia (L.) Planch.

ชื่อวงศ์: VITACEAE

สกุล:Parthenocissus

สปีชีส์: quinquefolia 

ชื่อพ้อง: Ampelopsis hederacea DC.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เถาคัน thai-herbs.thdata.co | เถาคัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเถาคัน เป็นเถาไม้เลื้อย พาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ผิวขรุขระ มีมือแตกออกจากข้อ ไม่มีขน ใช้สำหรับเกาะต้นไม้อื่น เถาอาจมีขนาดใหญ่เท่าข้อมือของคน และถ้าตัดออกจะเห็นเนื้อภายในเป็นวง ๆ มีสีแดงสลับกัน ลักษณะคล้ายกับเถาวัลย์เปรียง 


เถาคัน thai-herbs.thdata.co | เถาคัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 หรือ 5 ใบ แตกจากก้านใบจุดเดียวกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบค่อนข้างแหลม โคนใบป้าน ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยหรือเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ เส้นกลางใบนูนเห็นได้เด่นชัด แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมันเรียบ


เถาคัน thai-herbs.thdata.co | เถาคัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม แตกออกจากก้านช่อดอกหลักจุดเดียวกัน ออกเป็นช่อใหญ่สีแดง และดอกนั้นจะออกเป็นช่อใหญ่แบนและแน่น ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ตั้งอยู่บนก้านดอกย่อย แต่ละช่อจะมีประมาณ 10-40 ดอก ลักษณะของดอกคล้ายดอกกะตังบาย หรือดอกเถาวัลย์ปูน หรือฝิ่นต้น


เถาคัน thai-herbs.thdata.co | เถาคัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร หรือมีขนาดเท่าผลมะแว้งหรือขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผลดิบนั้นเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ถ้าบีบจะมีน้ำออกเป็นสีม่วงแดง ทำให้คันมาก

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่รกร้าง ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ และตามป่าราบทั่วไป

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

เถาคัน thai-herbs.thdata.co | เถาคัน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกเอาต้นอ่อนสรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสขื่นขม สรรพคุณ ขับเสมหะ แก้กระษัย ทำให้เส้นหย่อนฟอกเลือด ขับลม แก้ฟกช้ำภายใน ขับเลือดเน่าและขับคาวปลาหลังการคลอด

*ใบ อังไฟพอเหี่ย ปิดหัวฝี ให้ฝีแตกเร็ว

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการฝีหนอง ใบนำไปอังกับไฟให้พอเหี่ยว ใช่ปิดฝีบ่มหนอง ถ้าฝีนั้นแตกก็จะทำให้ดูดหนองได้ คล้ายขี้ผึ้งอิดติโยนของฝรั่ง

-ผลดิบ ใช้กินเป็นอาหารได้ (ให้รสชาติขมเล็กน้อย ใช้ใส่น้ำพริกและใช้แกงส้ม) (แต่มีข้อมูลชี้ว่าผลเถาคันแดงมีกรดออกซาลิคซึ่งเป็นสารพิษ หากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการคัน เพราะสารนี้มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผนังกระเพาะลำไส้และจะถูกดูดซึมผ่านผนังที่อักเสบจนทำให้เกิดเป็นแคลเซียมออกซาเลทได้ มีผลทำให้ปริมาณของแคลเซียมอิออนลดลง ซึ่งภาวะเช่นนี้จะมีผลต่อการทำงานของหัวใจและประสาทส่วนกลาง ไตพิการ เนื่องจากมีการตกตะกอนของแคลเซียมออกซาเลท)

-ยอดอ่อน มีรสจืด มักนำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริกหรือรับประทานเป็นผักสด



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง