Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กอมขม

กอมขม thai-herbs.thdata.co | กอมขม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ตะพานก้น (เชียงใหม่)/ ดีงูต้น (พิษณุโลก), ก้ามกุ้งต้น (ชุมพร)/ ดำ (นครศรีธรรมราช)/ จันเขา (สุราษฎร์ธานี)/ หงีน้ำ หยีน้ำใบเล็ก (ตรัง)/ ขางขาว ขางครั้ง ดีงูต้น ตะพ้านก้น มะค้า กอมขม (ภาคเหนือ), กะลำเพาะต้น ไม้หอมตัวผู้ หมาชล (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)/ ดำ หงีน้ำ หยีน้ำใบเล็ก (ภาคใต้)/ บะกอมขม (คนเมือง)/ หมักกอม (เงี้ยว-เชียงใหม่)/ เนียะปะโจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ มะปอจอ (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ)/ กรอสะนาสมูล (เขมร-ภาคตะวันออกเฉียงใต้) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Picrasma javanica Blume

ชื่อวงศ์: SIMAROUBACEAE

สกุล: Picrasma

สปีชีส์: javanica

ชื่อพ้อง:

-Picrasma andamanica Kurz

-Picrasma chinensis P.Y.Chen

-Picrasma crenata (Vell.) Engl.

-Picrasma cubensis Radlk. & Urb.

-Picrasma excelsa (Sw.) Planch.

-Picrasma javanica Blume

-Picrasma longistaminea W.Palacios

-Picrasma mexicana Brandegee

-Picrasma pauciflora A.Noa & P.A.González

-Picrasma quassioides (D.Don) Benn.

-Picrasma selleana Urb.

-Picrasma tetramera (Urb.) W.W.Thomas, J.D.Mitch. & A.Noa

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นกอมขม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 8-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร แตกกิ่งก้านเล็กน้อยแผ่ออก เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีเทาอมน้ำตาล เรียบหรือแตกเป็นร่องขรุขระเล็กน้อย

      ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3-7 ใบ แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร ก้านใบประกอบยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปรีแกมขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลมยาว โคนใบแหลม ส่วนขอบใบย่นเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยง หลังใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีสีจางกว่า ก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร หูใบมีขนาดใหญ่ เป็นแผ่นกลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.7-2.5 เซนติเมตร มีเส้นใบปรากฏชัด ร่วงได้ง่าย

กอมขม thai-herbs.thdata.co | กอมขม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แตกแขนงสั้น ๆ ยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีดอกจำนวนมาก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน แต่อยู่ต่างช่อ ดอกเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ประมาณ 2 เท่า ก้านดอกยาวประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกจากกัน ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ แยกจากกัน เป็นสีเหลือง ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขอบกลีบดอกงอเข้าหากันเป็นกระพุ้งเล็กน้อย มีเกสรเพศผู้ 4 อัน ขนาดยาวกว่ากลีบดอกเพศผู้ แต่สั้นกว่ากลีบดอกเพศเมีย อับเรณูของดอกเพศเมียนั้นว่างเปล่า รังไข่มีลักษณะกลมรี มีพู 5 พู ยอดเกสรเพศเมียจะแยกเป็นแฉกสั้น ๆ 4 แฉก ดอกเพศผู้จะไม่มีเกสรเพศเมีย จานฐานดอกหนา สูงประมาณ 1 มิลลิเมตร ด้านข้างเว้าเป็นพู 4 พู มีขนขึ้นประปราย

      ผล มีลักษณะกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-0.9 เซนติเมตร ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลอ่อนเป็นสีขาวอมเขียว อุ้มน้ำ ผลห่ามเป็นสีม่วง ส่วนผลแก่เป็นสีดำ ผิวแห้งย่นคล้ายร่างแหไม่เป็นระเบียบ เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดเดี่ยว แข็ง

สภาพนิเวศวิทยา: โดยมักขึ้นตามริมน้ำในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 700 เมตร สำหรับประเทศไทยพบได้ทุกภาค 

ถิ่นกำเนิด: เทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงญี่ปุ่นและเอเชียเขตร้อน เม็กซิโกจนถึงอเมริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: ภาคตะวันออกของอินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และอินโดนีเซีย 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เนื้อไม้ รสขม สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น และไข้ตัวร้อน

  *เปลือกต้น รสขมจัด สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น (มาลาเรีย) ไข้ป้าง และไข้ทุกชนิด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เปลือกต้น นำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง