Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ข่าตาแดง 

ชื่อท้องถิ่น: ข่าเล็ก

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Alpinia officinarum Hance

ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE

สกุล: Alpinia 

สปีชีส์: officinarum

ชื่อพ้อง: Languas officinarum (Hance) Farw.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ข่าตาแดง thai-herbs.thdata.co | ข่าตาแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นข่าตาแดง เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เมื่อแตกขึ้นเป็นกอจะมีลักษณะเหมือนกับข่าใหญ่ แต่จะมีขนาดของต้นเล็กและสั้นกว่าข่าใหญ่เล็กน้อย และมีขนาดโตกว่าข่าลิงเล็กน้อย หน่อจะเป็นสีแดงจัด ซึ่งเรียกว่า “ตาแดง” มีกลิ่นและรสหอมฉุนกว่าข่าใหญ่

ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับข่าใหญ่ โดยมีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว คล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้น


ข่าตาแดง thai-herbs.thdata.co | ข่าตาแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย


ข่าตาแดง thai-herbs.thdata.co | ข่าตาแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลแห้งแตก รูปกระสวยหรือทรงกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมื่อแก่มีสีส้มแดง มี 1-2 เมล็ด ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: จีนตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: จีนตะวันออกเฉียงใต้, ไห่หนาน, เมียนมาร์, เวียดนาม

ข่าตาแดง thai-herbs.thdata.co | ข่าตาแดง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เหง้า หัว รสเผ็ดร้อนขม สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่น ขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษ แก้บิดตกโลหิต แก้ลมป่วง แก้เกลื้อน แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำผสมกับเกลือมะขามเปียกให้สตรีคลอดใหม่ๆ รับประทานขับเลือด ขับน้ำคาวปลา

*ใบ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ ฆ่าตัวพยาธิกลาก ต้มน้ำอาบ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ

*ดอก  รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ ทาแก้เกลื้อน กลาก

*ผล  รสเผ็ดร้อนฉุน สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง คลื่นเหียน อาเจียน ท้องอืดเฟ้อ แก้บิดมีตัวและไม่มีตัว

*ต้นอ่อน (หน่อ) รสเผ็ดร้อนหวานน้อยๆ สรรพคุณ แก้ลมแน่นหน้าอก บำรุงเตโชธาตุ ช่วยย่อยอาหาร

*ต้นแก่ รสเผ็ดร้อนซ่า สรรพคุณ ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ แก้ลมตะคริว

*ราก  รสเผ็ดร้อนปร่า สรรพคุณ แก้เลือดเดินไม่สะดวก แก้เหน็บชา แก้เสมหะและโลหิต

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เหง้าแก่ พบน้ำมันระเหยง่ายราวร้อยละ 0.04 ในน้ำมันระเหยง่ายนี้ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น methylcinnamate ราวร้อยละ 88 gineol ร้อยละ 20-30 eugenol, camphor, pinenes สารที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อราคือ 1’-acetoxychavicol acetate

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ใช้ใบ หรือดอก ขยำเอน้ำเป็นยาทารักษากลาก เกลื้อน หรือใช้เหง้าแก่ตำแล้วแช่ในเหล้าโรง 1 สัปดาห์ ทาบริเวณที่มีอาการจนกว่าจะหาย

-อาการปวดท้อง บิด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ใช้เหง้าแก่สดต้มน้ำดื่ม

-อาการบวม แก้ฟกช้ำ ใช้ข่าแก่สดคั้นเอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน 

-ช่วยขับลม ขับเลือดเสีย เลือดเน่าในสตรีหลังคลอด  ใช้เหง้าแก่สดโขลกเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำส้มมะขามเปียก แทรกเกลือเล็กน้อย ให้สตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ กินเป็นยาขับลม ขับเลือดเสีย เลือดเน่า ที่ตกค้างอยู่ในมดลูกออกมา



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง