Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: อุโลก

ชื่อท้องถิ่น: ลาตา (ตรัง)/ ลุ ส้มลุ (สุราษฎร์ธานี)/ ส้มกบ ส้มเห็ด (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน)/ ส้มลุ ลุ ลาตา (ภาคใต้)/ สั่งเหาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)/ ถู่เหลียนเชี่ยว (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb.

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

สกุล: Hymenodictyon 

สปีชีส์: orixense

ชื่อพ้อง: 

-Hymenodictyon excelsum (Roxb.) Wall.

-Hymenodictyon excelsum (Roxb.) DC.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นอุโลก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ  มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 เซนติเมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล เปลือกด้านในสีแดง

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ เป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปโล่ ปลายใบมนมีติ่ง โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นลอนเล็กน้อย หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน แผ่นใบหนา เส้นใบเห็นได้ชัดเป็นร่างแห มีเส้นแขนงใบประมาณ 7-9 คู่ ก้านใบมีสีแดงอ่อน ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวขนาดมีขนาดใหญ่กว่ากลีบฐานดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก มีรังไข่ 2 ห้อง กลีบเลี้ยงมีเส้นใบคล้ายกับตาข่ายเป็นสีเขียว

ผล ลักษณะผลเป็นรูปทรงรีขนาดเล็ก มีร่อง 2 ร่อง เมื่อสุกผลตะแตกได้ ผิวเปลือกผลแข็งบางเป็นสีน้ำตาลแดง ยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นพวงห้อยลง แต่ปลายผลชี้ย้อนขึ้นไปทางโคนช่อ ภายในผลเมื่อแก่จะแตกออกภายในมี 2 เมล็ด มีครีบหรือปีกบาง ๆ ที่ปลาย

สภาพนิเวศวิทยา: มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออก อนุทวีปอินเดีย เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*แก่น เปลือกต้น รสขม สรรพคุณ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬและไข้ตัวร้อน

*ราก รสขมเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ แก้พิษร้อนในกระหายน้ำ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-เปลือกต้นและใบ พบสารหลายชนิด ได้แก่ Aesculin, Scopoletin เป็นต้น

-ราก พบสาร Rubiadin, Lucidin, Damnacanthal, Morindon, Nordamnacanthal, 2-Benzylxanthopurpurin, 6-Methyllalizarin และ Anthragallol เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ไข้จับสั่น ใช้ราก แก่นและเปลือกต้นแห้ง ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ช่วยแก้ไข้พิษต่าง ๆ ช่วยระงับความร้อน ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ไข้จับสั่น 

-อาการร้อนในกระหายน้ำ ใช้ราก, แก่น, เปลือกต้นแห้ง ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้ภายนอกให้ใช้ยาสดได้ตามปริมาณที่ต้องการ ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ

-อาการไอ ขับเสมหะ ใช้ราก, แก่นแห้ง ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้ภายนอกให้ใช้ยาสดได้ตามปริมาณที่ต้องการ ช่วยแก้อาการไอขับเสมหะ

-อาการข้ออักเสบ ปวดบวมแดงตามข้อ ใช้ใบ, รากแห้ง ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้ภายนอกให้ใช้ยาสดได้ตามปริมาณที่ต้องการ ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดบวมแดงตามข้อ

-ใบอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผักสดหรือลวก ต้มกินกับน้ำพริก

-เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้งานเบา ๆ ได้ เช่น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือทำฝาบ้าน เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง