Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ผักคราดหัวแหวน

ชื่อท้องถิ่น: ผักคราด หญ้าตุ้มหู ผักเผ็ด (ภาคเหนือ)/ ผักตุ้มหู (ภาคใต้)/ เทียงบุ่งเช่า โฮ่วซั้วเช่า อึ่งฮวยเกี้ย (จีน) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Para cress, Tooth-ache plant, Toothache plant, Brazil cress toothache plant, Pellitary, Spot flower

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Acmella 

สปีชีส์: oleracea

ชื่อพ้อง: 

-Anacyclus pyrethraria Spreng.

-Bidens acmelloides Bergius

-Bidens fervida Lam.

-Bidens fixa Hook.f.

-Bidens fusca Lam.

-Bidens oleracea Cav. ex Steud.

-Cotula dichotoma Pers.

-Cotula pyretharia L.

-Isocarpha pyrethraria (L.) Cass.

-Pyrethraria dichotoma Pers. ex Steud.

-Pyrethrum spilanthus Medik.

-Spilanthes acmella var. oleracea (L.) C.B.Clarke ex Hook.f.

-Spilanthes calva var. oleracea (Jacq.) Mehrotra, Aswal & B.S.Bisht

-Spilanthes fusca Lam.

-Spilanthes oleracea L.

-Spilanthes oleracea var. fusca (Lam.) DC.

-Spilanthes radicans Schrad. ex DC.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ผักคราดหัวแหวน thai-herbs.thdata.co | ผักคราดหัวแหวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นผักคราดหัวแหวน เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุปีเดียว มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นกลมและอวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงของลำต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร ต้นมีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม หรือทอดไปตามดินเล็กน้อย แต่ปลายชูขึ้น ลำต้นอ่อนและมีขนปกคลุมขึ้นอยู่เล็กน้อย 


ผักคราดหัวแหวน thai-herbs.thdata.co | ผักคราดหัวแหวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปไข่ หรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ หรือเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยแบบหยาบ ๆ ส่วนของก้านใบมีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวของใบมีขนและสาก แผ่นใบกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ


ผักคราดหัวแหวน thai-herbs.thdata.co | ผักคราดหัวแหวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นกระจุกสีเหลือง ดอกมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่ ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ดอกย่อยมี 2 วง วงนอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วนวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านของดอกเรียวยาว และยาวประมาณ 2.5-15 เซนติเมตร ยกตั้งทรงกลมคล้ายกับหัวแหวน มีริ้วประดับอยู่ 2 ชั้น เป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ มีความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร เกลี้ยง ในส่วนของดอกวงนอกที่เป็นดอกตัวเมียมี 1 วง กลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อ มีปลายแยกเป็น 4-5 แฉก

ผล ลักษณะผลเป็นรูปไข่ มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และมีสัน 3 สัน ส่วนปลายเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย ที่รยางค์มีหนามอยู่ 1-2 อัน

สภาพนิเวศวิทยา:พบขึ้นได้ทั่วไปในที่ลุ่ม ชื้อแฉะ หรือตามป่าละเมาะ รวมไปถึงที่รกร้างหรือที่ราบโล่งแจ้ง

ถิ่นกำเนิด: บราซิลตะวันตกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์: -

ผักคราดหัวแหวน thai-herbs.thdata.co | ผักคราดหัวแหวน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสเอียนเบื่อเล็กน้อย สรรพคุณ แก้พิษตานซาง แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน แก้ปอดบวม แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ดอกและทั้งต้น พบสาร spilanthol  มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่  นอกจากนี้ยังพบสาร Sitosterol-O-Beta-D-glucoside, Alpha- และ Beta-Amyrin ester, Stigmasterol, Spilantol, lsobutylamine เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ยาชาเฉพาะที่ ในการทดลองทาสารสกัดด้วยเอทานอลจากผักคราดหัวแหวน ความเข้มข้น 10% บนปลายลิ้นของอาสาสมัครเปรียบเทียบกับยาชา lidocaine 10% แล้วกระตุ้นด้วยไฟฟ้า พบว่าสารสกัดออกฤทธิ์ทำให้ชาเร็วกว่าแต่มีระยะเวลาออกฤทธิ์สั้นกว่า  lidocaine ส่วนการทดสอบโดยการทาสารสกัดด้วยเอทานอล 95% จากผักคราดหัวแหวน ความเข้มข้น 10% ที่ในกระพุ้งแก้ม แล้วทดสอบอาการชาต่อเข็มจิ้มเทียบกับ lidocaine 10%  พบว่าสารสกัดสามารถลดความเจ็บปวดจากเข็มจิ้มได้เทียบเท่ากับยาชา แต่จากการศึกษาในผู้ป่วยหญิง 200 คน โดยวางสำลีรองเฝือกที่หลังมือหรือแขนทั้ง 2 ข้าง ตรงที่จะแทงเข็มให้น้ำเกลือ โดยตำแหน่งตรงกันทั้ง 2 ข้างในคนเดียวกัน แล้วหยดแอลกอฮอล์ 70% ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร บนสำลีข้างหนึ่ง และหยดสารสกัดจากผักคราดหัวแหวนปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร ลงบนสำลีรองเฝือกอีกข้างหนึ่ง แล้วจึงใช้เข็มเบอร์ 18 แทงตรงตำแหน่งที่ทายาไว้ข้างละเข็มเมื่อประเมินผลการระงับความเจ็บปวด พบว่า สารสกัดไม่สามารถระงับความเจ็บปวดจากการแทงเข็มให้น้ำเกลือได้ ซึ่งไม่แตกต่างจากการทาแอลกอฮอล์ 70%  ทั้งนี้คาดว่าเนื่องจากสารสกัดไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ แตกต่างกับเนื้อเยื่อบุผิวที่สารสกัดซึมผ่านได้ง่าย

-จากการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยฉีดน้ำคั้น สารสกัดด้วยน้ำความเข้มข้น 25% สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95% ความเข้มข้น 10% จากลำต้นพร้อมใบและดอกเข้าใต้ผิวหนังหนูตะเภา เปรียบเทียบกับ lidocaine 2% ทดสอบความรู้สึกชาด้วยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น พบว่าน้ำคั้น สารสกัดด้วยน้ำ และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ทำให้หนูมีอาการชาทันที เช่นเดียวกับ lidocaine แต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นกว่า เมื่อนำสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากส่วนเหนือดินความเข้มข้น 10% มาทดสอบกับเส้นประสาท siatic nerve ของกบ เปรียบเทียบกับ lidocaine 2% พบว่าสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ออกฤทธิ์ทำให้ชาได้เร็วกว่า lidocaine และเส้นประสาทที่ถูกทำให้ชาไปแล้วสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้  แสดงว่าสารสกัดไม่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท  เมื่อศึกษาดูผลของสารสกัดต่อการระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกฉีดโดยใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 10% ขนาด 0.1 มิลลิลิตร พบว่าภายใน 24 ชั่วโมง ไม่พบความผิดปกติของผิวหนังชั้นนอก แต่มีบวมเล็กน้อยใต้ผิวหนัง และมีการคั่งของหลอดเลือดฝอย มีการบวมและอักเสบ ในชั้นหนังแท้ (dermis) แต่ไม่พบเนื้อเยื่อตาย  ความผิดปกติเหล่านี้หายไปเมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน ในขณะที่ผิวหนังบริเวณที่ฉีด lidocaine 2% มีการบวมระหว่างเซลล์ และการคั่งของหลอดเลือดฝอยเช่นเดียวกับสารสกัด  และไม่พบความผิดปกติของเนื้อเยื่อหลังจากเวลาผ่านไป 7 วันเช่นกัน

-ฤทธิ์ระงับปวด การศึกษาฤทธิ์ระงับปวดของสารสกัดจากผักคราดหัวแหวน ในรูปแบบต่างๆพบว่าไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นยาแก้ปวด

-โดยมีการศึกษาด้วยวิธี Haffner’s tail clip วิธีกระตุ้นให้เกิดการบิดของลำตัวด้วย acetylcholine  และทำให้เกิดความเจ็บปวดด้วย bradykinin ในหนูถีบจักรและหนูขาว พบว่าส่วนสกัดด้วยอีเทอร์ระงับความเจ็บปวดต่ำ  ส่วนสกัดด้วยอัลกอฮอล์ 70% ระงับความเจ็บปวดด้วยความแรงที่ต่ำกว่าส่วนสกัดด้วยอีเทอร์  ส่วนที่ไม่ถูกสกัดด้วยอีเทอร์ไม่แสดงฤทธิ์ลดความเจ็บปวดในทุกการทดลอง และสารสกัดเอทานอลจากผักคราดหัวแหวนออกฤทธิ์ระงับปวดเล็กน้อย เมื่อศึกษาในรูปแบบของยาระงับปวดที่ออกฤทธิ์ระบบประสาทส่วนปลาย และไม่มีฤทธิ์ระงับปวด เมื่อศึกษาในรูปแบบของยาออกฤทธิ์ระงับปวดต่อระบบประสาทส่วนกลาง 

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดด้วยเอทิลอะซีเตตจากผักคราดหัวแหวนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ส่วนสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มก็มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจสายพันธุ์ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide โดยพบว่าสารสำคัญ spilanthol ออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบคือ nitric oxide synthase และ cyclooxygenase -2 (COX-2)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-เมื่อฉีดสารสกัดด้วยอีเทอร์ สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 70% และส่วนสกัดที่ไม่ถูกสกัดด้วยอีเทอร์ จากผักคราดหัวแหวนเข้าช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่าส่วนสกัดด้วยอีเทอร์มีความเป็นพิษมาก ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 70% และส่วนสกัดที่ไม่ถูกสกัดด้วยอีเทอร์มีพิษปานกลาง โดยความเข้มข้นของส่วนสกัดที่ทำให้หนูตาย 50% (LD50)เท่ากับ 153 มก./กก. , 2.13 ก./กก. และ 3.5 ก./กก. ตามลำดับ

การใช้ประโยชน์:

-ผักคราดหัวแหวนมีสาร Spilanthol ที่มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อปรสิตที่อยู่ในกระแสเลือดอย่างเชื้อมาลาเรีย โดยไม่มีพิษต่อคน จึงมีแนวโน้มว่าการรับประทานผักคราดหัวแหวนจะช่วยป้องกันโรคมาลาเรียได้

-โรคดีซ่าน ใช้ผักคราดและเฟิร์นเงินอย่างละ 1 ตำลึง นำมาต้มกินวันละ 2 ครั้ง ช

-โรคลมตะกังหรืออาการปวดหัวข้างเดียว ใช้ชดอกเมื่อนำมาใช้ผสมกับตำรับยาสมุนไพรอื่น จะช่วยบรรเทาอาการโรคลมตะกังหรืออาการปวดหัวข้างเดียวได้

-โรคผิวหนังเป็นฝีหรือเป็นตุ่มพิษ ใช้ทั้งต้นนำมาตำกับเหล้าแล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็น

 -อาการไข้ ไข้จับสั่น ใช้ผักคราดนำมาต้มใส่น้ำตาลแดง 

-อาการตัวร้อนใช้ผักคราดและเฟิร์นเงินอย่างละ 1 ตำลึง นำมาต้มกินวันละ 2 ครั้ง

-อาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังใช้ต้นแห้งนำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาน้ำเชื่อม (ในน้ำเชื่อม 10 มิลลิลิตร ให้มีเนื้อยา 3.2 กรัม) ใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 30 มิลลิเมตร วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน

-อาการคออักเสบ อาการคันคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ ใช้ทั้งต้นตำผสมกับเหล้าโรง ชุบด้วยสำลี แล้วนำมาอม ช่วยบรรเทาอาการคออักเสบ อาการคันคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ และช่วยแก้ฝีในคอ

-อาการปวดฟันและฟันผุ ใช้ดอกผักคราดตำกับเกลือแล้วนำมาอมหรือกัดไว้บริเวณที่มีอาการปวดฟัน หรือจะใช้ดอกนำมาตำผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย ชุบด้วยสำลีแล้วนำมาอุดรูฟันที่มีอาการปวด

-อาการปวดฟันและฟันผุ ใช้ใบนำมาเคี้ยวเป็นยาแก้ปวดฟัน ยาชาได้

-อาการปวดฟันและฟันผุ ใช้ต้นสดนำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำส้มสายชูแล้วอมแก้อาการ หรืออีกวิธีให้ใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกหรือเอาน้ำมาทาถูนวด โดยใช้ต้นสด 1 ต้นที่ตำละเอียดแล้ว เติมเกลือ 10 เม็ด คั้นน้ำ แล้วใช้สำลีพันไม้ชุบน้ำยาจิ้มลงในซอกฟัน จะทำให้หายปวดฟันได้ 

-อาการปวดประจำเดือน ใช้ต้นสดคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งใช้รับประทาน หรือจะใช้ต้นสดผสมกับน้ำมะนาวทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้กินหลังอาหารครั้งละ 1 เม็ด 

-อาการไฟลามทุ่งใช้ใบและลำต้นนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าโรง ใช้รับประทานวันละ 1 ครั้ง ส่วนกากที่เหลือใช้พอกบริเวณที่เป็นได้ตลอดวัน

-อาการปวดบวมกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดบวม ฟกช้ำบวม ใช้ทั้งต้นนำมาตำให้แหลก แล้วเหยาะน้ำเปล่าพอชุ่ม ใช้พอกบริเวณที่มีอาการปวด หรือจะใช้ทำเป็นลูกประคบ หรือใส่ในยาอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ 

-อาการดูกหัก กระดูกแตก ใช้ผักคราดนำมาตำรวมกับตะไคร้แล้วนำมาพอกกระดูก เปลี่ยนยาทุก ๆ 6 วัน เมื่อครบ 41 วัน กระดูกจะต่อกันติด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผักชนิดนี้มีฤทธิ์ร้อน จึงทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่พอกมากขึ้น อีกทั้งยังมีฤทธิ์แก้อักเสบ จึงอาจช่วยในเรื่องกระดูกหักได้ 

-ช่วยรักษาแผล ตำพอกแผลและแผลเนื้อเป็น รักษาแผลเรื้อรังหายยาก ใช้ผักคราดหัวแหวน นำมาตำให้แหลก เอาน้ำผสมน้ำมันชันแล้วนำมาใช้ทาหรือพอก

-ช่วยห้ามเลือด เมื่อเกิดบาดแผล ใช้ต้นสดขยี้หรือตำเพื่อใช้พอกแผลแล้วเลือดจะหยุดไหล 

-ใบ สามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับอาหารคาวเพื่อช่วยดับกลิ่นและช่วยเพิ่มรสชาติ ส่วนยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้ลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก แกล้มกับลาบ ก้อย แกง หรือใส่ในแกงแค อ่อมปลา อ่อมกบ หรือนำไปแกงร่วมกับหอยและปลา เป็นต้น



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง