Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: สลัดได

ชื่อท้องถิ่น: กะลำพัก (นครราชสีมา)/ เคียะเหลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน)/ เคียะยา (ภาคเหนือ)/ สลัดไดป่า (ภาคกลาง)/ ทูดุเกละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ หั่วยานเล่อ ป้าหวางเปียน (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: Malayan spurge tree, Milkbush

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia antiquorum L.

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Euphorbia 

สปีชีส์: antiquorum

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นสลัดไดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กจำพวกเดียวกับตะบองเพชร มีความสูงของต้นประมาณ 3-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามต้นและกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมอวบน้ำ เว้าคอดต่อกัน ผิวเรียบ ขอบสันหรือตามแนวเหลี่ยมเป็นหยักและมีหนามคู่เล็กแหลม 1 คู่ ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดเล็กมาก แผ่นใบอวบน้ำและหลุดร่วงได้ง่านเหมือนไม่มีใบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกตามแนวสันเหนือหนาม ดอกมีใบประดับสีเหลือง 5 ใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียไม่มีกลีบดอก และจะอยู่ในช่อดอกเดียวกัน แต่ในช่อหนึ่งจะดอกมีเพศเมียดอกเดียว และมีดิกเพศผู้หลายดอก

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดเล็กมีพู 3 พู สีน้ำตาลเข้ม พอผลแห้งจะแตกออก

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามภูเขาที่มีหินปูน หรือที่แห้งแล้งบนก้อนหิน หรือบนภูเขา

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำกิ่ง 

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ต้น เผาเป็นด่าง รสขมเมาเล็กน้อย สรรพคุณ แก้หืดไอ ผอมแห้ง อัมพาตแก้ฟกบวม จุกเสียด แก้ท้องผูก

*ยาง รสเบื่อเมาขมร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตเป็นยาถ่ายอย่างแรง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นสลัดได พบสารหลายชนิด เช่น Friedalan-3 a-0l, Taraxerol, C30H50O, Taraxerone, C30,H48O, Euphorbium, Euphorbol ส่วนสารพิษเป็นสารจำพวก deoxyphorbol เช่น euphorbin มี tetracyclic diterpene เป็นต้น

-น้ำยางสีขาว พบสาร Caoutchouc ประมาณ 4-7% มีสารพวก tetracyclic diterpene ได้แก่ phorbol และ ester เช่น 12-deoxyphorbaI, 13-tiglate 20-acetate, ingenol และ ester เช่น 16-hydroxyingenol 3, 5, 6, 20-tetraacetate นอกจากนี้ยังพบ tricyclic diterpene ได้แก่ huratoxin, tinyatoxin และ resin พบ α euphorol, ß-amyrin, cycloartenol, euphol 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ต้นสลัดไดที่แก่จัดและมีอายุ 10 ปีขึ้นไปจะยืนต้นตาย ทำให้เกิดเป็นแก่นแข็ง ๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือนไม้แห้ง ๆ สีน้ำตาล และมีกลิ่นหอม (เชื่อว่าเกิดจากเชื้อราที่เจริญเติบโตอยู่ในเนื้อไม้จนกลายเป็นแก่นไม้แข็ง) และเมื่อต้นตายแก่นที่ได้นี้จะเรียกว่า “กะลำพัก” (รูปด้านล่าง) ซึ่งแก่นของต้นที่ตายจะใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ หรือใช้เข้ายาบำรุงหัวใจ (แก่นกะลำพัก

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นสลัดไดจะเป็นนิยมนำมาปลูกเป็นรั้วบ้าน เพื่อช่วยป้องกันคนและสัตว์ และใช้ปลูกตามสวนสมุนไพรทั่วไป แต่ยังมีความเชื่อหนึ่งของคนไทยโบราณที่ระบุว่า ต้นสลัดไดมีผีสิงอยู่ จึงไม่นิยมนำมาปลูกใกล้บ้าน แต่จะนิยมใช้กิ่งของต้นสลัดได นำไปผูกห้อยโยงไว้ตามโรงบ่อนการพนันเพื่อช่วยป้องกันผีนักการพนันของคนอื่นที่จะเข้ามาเล่นคาถา

-น้ำยางสีขาว นำไปสกัดเพื่อให้ได้น้ำมันเชื้อเพลิงเช่นเดียวกับพญาไร้ใบได้ เพราะเป็นพืชในสกุลเดียวกับสลัดได ซึ่งจากการทดลองนำไปสกัดเอาน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่าสามารถใช้ได้ผลดีในเครื่องยนต์ที่ใช้ทางการเกษตร (เครื่องยนต์ดีเซล) โดยพญาไร้ใบ จะสกัดน้ำมันได้ 10 บาร์เรลต่อพืชที่ปลูกในเนื้อที่ 2.5 ไร่



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง