Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มหาหิงคุ์

ชื่อท้องถิ่น: หินแมงค์ (เชียงใหม่)/ อาเหว้ย (จีนกลาง)

ชื่อสามัญ: asafoetida, hing

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ferula assa-foetida L.

ชื่อวงศ์: APIACEAE-UMBELLIFERAE

สกุล: Ferula 

สปีชีส์: assa-foetida

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มหาหิงคุ์ thai-herbs.thdata.co | มหาหิงคุ์ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมหาหิงคุ์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี มีความสูงประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่อง ๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ลำต้นตอนที่ชูดอกกลวง วัดผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 10 เซนติเมตร ภายใต้เปลือกลำต้นเป็นยางสีจาง ๆ


มหาหิงคุ์ thai-herbs.thdata.co | มหาหิงคุ์ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร


มหาหิงคุ์ thai-herbs.thdata.co | มหาหิงคุ์ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ช่อหนึ่งมีก้านดอกย่อยประมาณ 20-30 ก้านเล็ก ในแต่ละก้านจะแยกออกจากกัน ดอกเพศเมียเป็นสีเหลือง ส่วนดอกเพศผู้เป็นสีขาว มีกลีบ 5 กลีบและจะอยู่ต่างช่อกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน มีรังไข่ 2 อัน และมีขนปกคลุม

ผล ลักษณะเป็นผลคู่แบบแบน ลักษณะเป็นรูปไข่ยาวรี


มหาหิงคุ์ thai-herbs.thdata.co | มหาหิงคุ์ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ราก มีลักษณะกลมยาวเรียว สีน้ำตาล เนื้อในสีขาวหนาหนักเนื้อมาก เมื่อต้นมหาหิงคุ์อายุประมาณ 4-5 ปี และ ส่วนลำต้นใต้ดิน มีขนาดเส้นรอบวงประมาณ 12.5-15 เซนติเมตร ต้นนี้ก็จะถูกตัดที่โคนและนำมาวางทิ้งไว้ ให้น้ำยางที่มีลักษณะคล้ายน้ำนมไหลออกมา บางครั้งจะถูกหั่นเป็นชิ้นๆ เพื่อให้น้ำยางไหลออกมาจนหมด  น้ำยางนี้เรียกว่า โอลิโอ กัม เรซิ่น (oleo gum resin) หมายถึง มีน้ำมันหอมระเหย ยางชันและส่วนของกัมรวมๆกัน (กัมมีโครงสร้างเป็นน้ำตาลเกาะกันยาวๆคล้ายแป้ง แต่ร่างกายคนย่อยไม่ได้) เมื่อยางแห้งลงจะเรียกว่า มหาหิงคุ์ ลักษณะเป็นก้อนะสีเหลืองแดงและเหนียว มียางสีขาวฝังตัวอยู่ด้วยเป็นแห่งๆ มีกลิ่นเหม็นทนนาน มีรสเผ็ดร้อนและเบื่อ และจะถูกเก็บรวบรวมให้เป็นก้อน

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ตะวันออกกลาง (ประเทศอิรัก อิหร่าน และอัพกานิสถาน) และภาคตะวันตกของประเทศจีน

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ยาง รสขมร้อนเหม็น สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึ้น อืด เฟ้อ แน่น จุกเสียด แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ช้าท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ทำให้ผายลม

องค์ประกอบทางเคมี: 

-สารที่พบได้แก่ Latex 40-64%, ยาง 25%, น้ำมันระเหย 10-17% ในน้ำมันหอมระเหยพบสารที่ให้กลิ่นฉุนจำพวก Asafetida เช่น Sec-butyl, Propenyl, Diauldo ส่วนในยางพบสาร Ferulic acid และยังพบสาร Farnesiferol เป็นต้น

-สาร Asafetida เป็นสารที่ให้กลิ่นฉุนและรสขม เมื่อเข้าไปในกระเพาะลำไส้ในร่างกายจะถูกดูดซึมโดยไม่พบอาการเป็นพิษ อีกทั้งยังมีผลในการยับยั้งการบีบตัวของลำไส้ จึงสามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ และยังสามารถช่วยลดอาการอักเสบในลำไส้ได้อีกด้วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกบีบ เมื่อนำน้ำที่ต้มกับมหาหิงคุ์ในความเข้มข้น 1:1,000 มาทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกตัวของหนูทดลอง พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง แต่ถ้าเป็นสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นมดลูกให้เกิดการบีบตัว

-น้ำมันระเหยของมหาหิงคุ์มีฤทธิ์กระตุ้นหลอดลมให้มีการบีบตัว จึงช่วยขับเสมหะได้

-สารสกัดที่ได้จากมหาหิงคุ์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคในหลอดทดลองได้ และยังมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวกลมกับพยาธิใบไม้ในตับได้อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก ใช้มหาหิงคุ์ผสมกับแอลกอฮอล์แล้วนำมาทาท้องเด็ก จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ 

-มหาหิงคุ์ เป็นเครื่องเทศที่มีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร มักใช้ร่วมกันกับขมิ้น ใส่ในแกงกะหรี่ มหาหิงคุ์มีกลิ่นแรงมาก จึงต้องใส่ไว้ในโหลปิดแน่นมิให้อากาศเข้าออกได้ มิเช่นนั้นจะทำให้กลิ่นไปปะปนเครื่องเทศชนิดอื่น บางทีนิยมผสมกับแป้งปริมาณมาก เพื่อมิให้กลิ่นแรงเกินไปเวลาใช้

-มหาหิงคุ์ เมื่อใส่ในน้ำมันร้อน ๆ หรือเนยใส จะได้กลิ่นหอมหวนคล้ายกับหัวหอมผสมกับกระเทียม (นิยมใช้ในบรรดาผู้ที่ไม่รับประทานหัวหอมหรือกระเทียม นิยมใส่ขณะทำการ tempering หรือการผัดเครื่องเทศกับน้ำมันในขั้นแรกของการทำอาหารอินเดีย มหาหิงคุ์ยังช่วยให้รสชาติของอาหารกลมกล่อม ใช้เพียงเล็กน้อยในการประกอบอาหาร 

-บางลัทธิ เช่น โยคี จะห้ามการรับประทาน กระเทียม หัวหอม และมหาหิงคุ์ เช่นเดียวกับ เนื้อสัตว์และแอลกอฮอล์ 

-สมัยโรมัน มหาหิงคุ์ถูกนำไปใช้สำหรับปรุงแต่งรสชาติอาหารควบคู่ไปกับเมล็ดสน (Pine nuts) หรือถูกนำไปแช่ในน้ำมันร้อนๆ พอละลายดีแล้ว จะหยดลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร นิยมใช้กับอาหารจำพวกเห็ด ผักต่างๆ หรือ พวกเนื้อทอด เนื้อย่าง เป็นต้น

-ในบางประเทศหมอพื้นบ้านยังนิยมนำมหาหิงคุ์มาทำเป็นยาแก้พิษ ถอนพิษ (antidote) ของฝิ่น (opium) ได้ด้วย โดยจะใช้มหาหิงคุ์ในประมาณที่เท่ากับปริมาณฝิ่นที่เสพเข้าไป กินเข้าไปเพื่อล้างพิษกัน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง