Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ขันทองพยาบาท 

ชื่อท้องถิ่น: ดูกใส (อีสาน)/ ยางปลอก ยายปลวก ฮ่อสะพานควาย (แพร่ น่าน)/ ขันทองพยาบาท (ภาคกลาง)/ ดูกหิน (สระบุรี) ข้าวตาก (กาญจนบุรี)/ มะดูกเลื่อม (เหนือ)/ ขันทอง (พิษณุโลก)/ ขุนทอง (ประจวบคีรีขันธ์)/ กระดูก (ใต้)/ ป่าช้าหมอง ดูกไทร ขอบนางนั่ง สลอดน้ำ มะดูกดง ข้าวตาก ขนุนดง เจิง

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Suregada multiflora (A.Juss.) Baill.

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Suregada

สปีชีส์: multiflora

ชื่อพ้อง: 

-Gelonium affine S.Moore 

-G. bifarium Roxb. ex Willd. 

-G. fascuculatum Roxb. 

-G. multiflorum A.Juss.

-G. obtusum Miq.

-G. oxyphyllum Miq.

-G. sumatranum S.Moore

-G. tenuifolium Ridl.

-Suregada affinis (S.Moore) Croizat

-S. bifaria (Roxb. ex Willd.) Baill

-S. glabra Roxb.

-S. oxyphylla (Miq.) Kuntze

-S. sumatrana (S.Moore) Croizat

-S. tenuifolia

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ต้นขันทองพยาบาท เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 7-13 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งก้านค่อนข้างกลม กิ่งก้านอ่อนและห้อยลู่ลง ที่กิ่งจะมีขนรูปดาว เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแก่และแตกเป็นร่องแบบตื้น ๆ ตามยาว เนื้อไม้เป็นสีขาว

      ใบ ใบหนาแข็งและดกทึบ โดยใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบมีความกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 9-22 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะหนาเหนียวคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบและมีสีอ่อนกว่า ผิวใบด้านล่างมีต่อมสีเหลืองและมีขนเป็นรูปดาว มีเส้นใบข้าง 5-9 คู่ มีก้านใบยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ส่วนหูใบมีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ละคู่เชื่อมกัน หลุดร่วงได้ง่าย และจะทิ้งแผลเป็นวงไว้

ขันทองพยาบาท thai-herbs.thdata.co | ขันทองพยาบาท สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

      ดอก มีกลิ่นหอมสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ขนาดประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ในช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก อยู่ตรงข้ามกับใบ ดอกมีใบประดับลักษณะเป็นรูปหอกปลายแหลมยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 0.7-0.8 มิลลิเมตร ส่วนดอกจะเป็นแบบแยกเพศแยกต้นและไม่มีกลีบดอก โดยดอกเพศผู้จะมีขนาดประมาณ 2.5 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศผู้ประมาณ 35-60 ก้าน แต่ละอันจะมีต่อมอยู่ที่ฐาน ฐานรองดอกนูนพองออก และอาจพบเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันปะปนอยู่ด้วย ส่วนดอกเพศเมียจะมีลักษณะเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่จะมีรังไข่เหนือวงกลีบ มีขนอยู่หนาแน่น มีรังไข่ 3 ช่อง รังไข่มีขนละเอียดและมีหมอนรองดอก มีก้านเกสรเพศเมีย 3 ก้าน ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบรองดอกหนามี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเล็กน้อยและขอบจักเป็นซี่ฟัน

ขันทองพยาบาท thai-herbs.thdata.co | ขันทองพยาบาท สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล มีลักษณะเกือบกลม ผิวผลเกลี้ยง มีขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเหลืองอมส้ม แตกตามพู มีพู 3 พูและมีติ่งเล็ก ๆ อยู่ที่ยอด ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3 เมล็ด 

เมล็ด มีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดประมาณ 7-8 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีเนื้อบาง ๆ สีขาวหุ้มเมล็ดอยู่

สภาพนิเวศวิทยา: มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ตามป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแถบประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน และในคาบสมุทรมลายู

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย  

*เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ลมพิษ แก้ไข้ แก้กามโรค

*เปลือกต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ  ทำให้ฟันทน รักษาโรคตับพิการ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด กลาก เกลื้อน 

*แก่น รสเฝื่อนเมา แก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน แก้ลมพิษ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด แก้กามโรค

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้ขันทองพยาบาทในตำรับ “ยาผสมเถาวัลย์เปรียง” มีส่วนประกอบของแก่นขันทองพยาบาทร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายย

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เนื้อไม้มีพิษทำให้เมา ใช้สำหรับเป็นยาเบื่อ

-เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเครื่องมือใช้สอยหรือนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้

-ต้นขันทองพยาบาทมีลักษณะทรงพุ่มสวยงาม ใบเป็นมัน ผลสุกมีสีสันสะดุดตา และดอกยังให้กลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวน หรือใช้ปลูกเป็นฉากหลังแบบกลุ่ม ๆ



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง