Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เทียนตาตั๊กแตน (ผักชีลาว)

ชื่อท้องถิ่น: เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน (ภาคกลาง) ผักชี (ขอนแก่น,เลย) ผักชีตั๊กแตน ผักชีเทียน (พิจิตร) ผักชีเมือง (น่าน) ผักจี (แพร่)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Anethum graveolens L.

ชื่อวงศ์:   APIACEAE-UMBELLIFERAE

สกุล: Anethum 

สปีชีส์: graveolens

ชื่อพ้อง: 

-Anethum arvense Salisb.

-Angelica graveolens (L.) Steud.

-Ferula graveolens (L.) Spreng.

-Peucedanum graveolens (L.) Hiern

-Peucedanum sowa (Roxb. ex Fleming) Kurz

-Selinum anethum Roth

-Selinum graveolens  

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เทียนตาตั๊กแตน thai-herbs.thdata.co | เทียนตาตั๊กแตน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเทียนตาตั๊กแตน เป็นพืชล้มลุก อายุ 1-2 ปี ลำต้นเรียบและตั้งตรง สีเขียวอ่อน แตกกิ่ง ทั้งต้นมีกลิ่นหอม สูง 40-170 เซนติเมตร  มีข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน มีกาบใบหุ้มลำต้นเล็กน้อย 


เทียนตาตั๊กแตน thai-herbs.thdata.co | เทียนตาตั๊กแตน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ ป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ใบรูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ สีเขียวสด เมื่อดูแนวรูปใบโดยรวม มีขนาดกว้าง 11-20 เซนติเมตร ยาว 10-35 เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกเป็นแฉกแบบขนนกหลายชั้น แฉกย่อยที่สุดมีลักษณะแคบยาวเป็นริ้ว กว้างน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร ยาว 4-20 มิลลิเมตร ก้านใบยาว 5-6 เซนติเมตร แผ่เป็นกาบ 


เทียนตาตั๊กแตน thai-herbs.thdata.co | เทียนตาตั๊กแตน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกซี่ร่มหลายชั้นหลวมๆ ก้านช่อดอกยาว 7-16 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมาก หรือไม่มี กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลือง เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดบนฐานดอก เรียงสลับกับกลีบดอก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง   


เทียนตาตั๊กแตน thai-herbs.thdata.co | เทียนตาตั๊กแตน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลแก่แห้งไม่แตก รูปไข่ คล้ายตาตั๊กแตน ด้านข้างแบน ไม่มีขน ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ผิวเรียบ ผลแห้งแยกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนเป็น 1 เมล็ด ผลแห้งส่วนมากมักไม่ค่อยแตกเป็น 2 ซีก    เมล็ดหรือซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันของเมล็ดหรือด้านแนวเชื่อมแบน ด้านข้างของเมล็ดมีลักษณะยื่นออกไปคล้ายปีก ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวของเมล็ดจำนวน 3 เส้น สันมีลักษณะยื่นนูนจากผิว สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: ชนิดที่มาจากยุโรป (Dill) และชนิดที่มีกำเนิดในเอเชียเขตร้อน (Indian Dill) 

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เมล็ด รสขมเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้เสมหะพิการ แก้กำเดา

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเบญจเทียน” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน สรรพคุณ แก้ลม เสมหะ และดีระคนกัน แก้พิษโลหิต แก้ทางปัสสาวะ แก้นิ่ว  แก้มุตกิด  บำรุงธาตุ  บำรุงกำลัง

2.“พิกัดสัตตะเทียน” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี สรรพคุณ แก้ลม เสมหะและดีระคนกัน แก้พิษโลหิต แก้ทางปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้มุตกิด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ลมในท้อง แก้พรรดึก แก้ลมครรภ์รักษา

3.“พิกัดเนาวเทียน” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย สรรพคุณ แก้ลม เสมหะแบะดีระคนกัน แก้พิษโลหิต แก้ทางปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้มุตกิด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ลมในท้อ  แก้พรรดึก แก้ลมครรภ์รักษา

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้เทียนตาตั๊กแตน ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมทิพโอสถ” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน “ยาหอมเทพจิตร” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของเทียนข้าวเปลือกร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยามันทธาตุ” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่ปกติ  “ยาริดสีดวงมหากาฬ” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก 

3.ยาแก้ไข้  ปรากฏตำรับ “ยาประสะเปราะใหญ่” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ

4.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ  ปรากฏตำรับ “ยาปราบชมพูทวีป” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ  

5.ยาบำรุงโลหิต ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต 

6.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยาสหัศธารา” มีส่วนประกอบของเทียนตาตั๊กแตนร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ

องค์ประกอบทางเคมี: 

-น้ำมันระเหยง่ายเรียก น้ำมันเทียนตาตั๊กแตน (dill seed oil) ร้อยละ 1.2-7.7 น้ำมันระเหยง่ายนี้มีองค์ประกอบหลักทางเคมีเป็น สารกลุ่มคาร์โวนประมาณ 35-60%, (+)-d-limonene (10%) และ α-phellandrene (6%), α-terpinene (6%), isoeugenol (2.3%) และพบสารคูมาริน, ฟีนิลโพรพานอยด์, แซนโทน, ฟลาโวนอยด์  ตัวอย่าง dihydrocarvone (12%), carvone (34.5%), carvelol (4%), dihydrocarvecrol (3.5%), petroselinic acid, vicenin, fatty acids, oilgomycin A and C, β-phellandrene, β-myrcene, 3,6-dimethyl-3a,4,5,7a-tetrahydrocoumaran, 3,6-dimethylcoumaran, flavonol glycosides, persicarin, quercetin-3-sulphate, kaemferol, dillanoside, methyl benzoate, 1,5-cineole, p-cymene, safrole, α-pinene, imporatorin, umbelliprenin, bergapten, 4-methylesculetin, umbelliferone, scopoletin, esculetin, anethofuran

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหาร สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารจากการถูกทำลายด้วยกรดเกลือ และแอลกอฮอล์ โดยมีผลลดการหลั่งกรด และปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร

-ฤทธิ์ต้านจุลชีพ น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งสารสำคัญ คือ carvone

-ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้ดี

-ฤทธิ์ต่อระบบฮอร์โมนเพศหญิง สารสกัดน้ำและสารสกัดแอลกอฮอล์มีผลต่อระบบฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้รอบเดือนมาปกติ

-ฤทธิ์ต้านมะเร็ง น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็ง สารสำคัญ คือ anethofuran, carvone และ limonene น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์เป็นพิษต่อเม็ดเลือดขาวของคนในหลอดทดลอง

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-สารสกัดน้ำ และสารสกัดแอลกฮอล์-น้ำ มีผลก่อกลายพันธุ์ สารที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ คือ Iso-rhamnetin 3-sulfate (persicarin) และ quercetin 3-sulfate แต่การให้เทียนตาตั๊กแตนปริมาณ 33% ในอาหารเป็นเวลา 410 วัน ไม่พบการก่อเกิดมะเร็งในหนู

-น้ำมันในความแรง  5% ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูตะเภาขนาด 35 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้เกิดอาการแพ้ถึงขนาดหมดสติ

-การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 2,500 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

-น้ำมันผักชีลาว (Dill seed oil) ได้จากการนำผลแก่แห้งไปกลั่นด้วยไอน้ำ สารสำคัญที่พบคือ คารีโวน ดี-ไลโมนีน และอัลฟ่า-เฟลเลนดรีน สารอื่นที่มีปริมาณรองลงมาคือ ไดไฮโดรคาร์โวน ยูจีนอล ไพนีน และอะนีโทล เป็นต้น 

-ใบสดและใบแห้ง ใช้โรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อดับกลิ่นคาว ใบใส่แกงอ่อมแกงหน่อไม้ห่อหมกแกล้มแกงเนื้อน้ำพริกปลาร้าผักใส่ไข่ยอดใบรับประทานกับลาบเมล็ด และใบช่วยชูรสเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหยใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมล็ดแห้งที่แก่เต็มที่ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราวและขับลมในท้อง เมล็ดก่อนนำมาประกอบอาหารควรบดก่อน โดยนิยมโรยบนสลัดผักและมันฝรั่งบดเพื่อเพิ่มรสชาติ นอกจากนี้น้ำมันผักชีลาวยังใช้แต่งกลิ่นผักดอง น้ำซอส สตู ขนมหวาน เครื่องดื่มและเหล้า 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง