Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หวายขม

ชื่อท้องถิ่น: หวายดง หวายใหญ่ หวายนั่ง เสือครอง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Calamus viminalis Wild.

ชื่อวงศ์:  ARECACEAE

สกุล: Calamus 

สปีชีส์: viminalis 

ชื่อพ้อง: 

-Calamus buroensis Mart. ex Walp.

Calamus extensus Mart.

Calamus fasciculatus Roxb.

Calamus fasciculatus subvar. andamanicus Becc.

Calamus fasciculatus subvar. bengalensis Becc.

Calamus fasciculatus subvar. cochinchinensis Becc.

Calamus fasciculatus subvar. pinangianus Becc.

Calamus litoralis Blume

Calamus phuocbinhensis A.J.Hend. & N.Q.Dung

Calamus pseudorotang Mart.

Calamus siamensis Becc.

Calamus siamensis var. malaianus Furtado

Calamus viminalis var. fasciculatus (Roxb.) Becc.

Palmijuncus fasciculatus (Roxb.) Kuntze

Palmijuncus litoralis (Blume) Kuntze

Palmijuncus pseudorotang (Mart.) Kuntze

Palmijuncus viminalis (Willd.) Kuntze

Rotang viminalis (Willd.) Baill.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หวายขม thai-herbs.thdata.co | หวายขม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหวายขม เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ลำต้นแตกกอ เมื่อโตขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 0.5-1 นิ้ว สีเขียวแตกกอ ลำต้นและกาบใบมีหนามแหลมขึ้นกระจายเดี่ยว ๆ ห่างกัน  กาบหุ้มลำต้นสีเขียวเข้ม เคลือบด้วยไขสีขาวบาง และมีหนามโดยรอบ มีอวัยวะที่ใช้ปีนป่าย


หวายขม thai-herbs.thdata.co | หวายขม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบมีหนาม ใบย่อยมี 75-90 ใบ เรียงตัวกันเป็นกระจุก แบบตรงกันข้าม กระจุกละ 5-8 ใบ รูปแถบเรียวยาว ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนามแหลมเล็ก ๆ มีอวัยวะที่ใช้เลื้อยเกาะ เป็นก้านยาว ๆ ยื่นออกมาจากจุดกำเนิดตรงส่วนบนของกาบหุ้มลำต้น และมีหนามตลอดทั้งเส้น

ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกมาจากลำต้น ตรงส่วนที่มีกาบใบหุ้ม 


หวายขม thai-herbs.thdata.co | หวายขม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ผล ลักษณะค่อนข้างกลม เป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่แล้วมีสีเหลืองขาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร  เนื้อในมีรสฝาดหวาน เมล็ดแข็ง ผิวขรุขระ หนึ่งผล มี 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ที่ชุ่มชื้น

ถิ่นกำเนิด: อินเดียตะวันออเฉียงเหนือไปจนถึงจีน (ยูนนาน) และคาบสมุทรมาเลเซีย, จาวาไปยังหมู่เกาะซุนดา (บาหลี)

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนใต้-กลาง, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, อินเดีย, จาวา, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, เมียนมาร์, หมู่เกาะนิโคบาร์, ไทย, เวียดนาม

หวายขม thai-herbs.thdata.co | หวายขม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสขมเย็น สรรพคุณ แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-หน่อหวาย คือลำต้นอ่อนของหวาย แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน มีกาบแข็งเต็มไปด้วยหนามหุ้ม เนื้อในอ่อน กรอบ สีขาว มีรสขม นำมาปรุงอาหาร ก่อนนำไปปรุงอาหารต้องนำไปต้มให้หายขม จากนั้นนำไปทำแกง ดอง หรือจิ้มน้ำพริก หน่อหวาย มีธาตุสังกะสี ในปริมาณสูง ใช้เสริมธาตุสังกะสี ช่วยเจริญอาหาร ลดภาวะเครียด ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศชาย  

-ลำต้นแก่ ใช้ในการผูกมัด จักสานตะกร้า ทำเครื่องมือดักปลาและดักสัตว์

-เนื้อหุ้มเมล็ด รับประทานได้ มีรสฝาดหวาน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง