Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เฉียงพร้านางแอ

ชื่อท้องถิ่น: ต่อไส้ สันพร้านางแอ (ภาคกลาง)/ ร่มคมขวาน (กรุงเทพ)/สีฟันนางแอง (ภาคเหนือ)/ แก็ก วงคต วงคด องคต (ลำปาง)/ บงคด (แพร่)/ นกข่อ ส้มป้อง (เชียงใหม่)/ ขิงพร้า เขียงพร้า (ตราด, ประจวบคีรีขันธ์)/ กวางล่าม้า (ภาษาชอง-ตราด)/ ม่วงมัง หมักมัง (ปราจีนบุรี)/ โองนั่ง (อุตรดิตถ์)/ บงมัง (ปราจีนบุรี, อุดรธานี)/ เขียงพร้านางแอ (ชุมพร)/ เฉียงพร้า ตะแบง (สุรินทร์)/  คอแห้ง สีฟัน (ภาคใต้), สะโข่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)/ กูมุย (เขมร-สุรินทร์)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Carallia brachiata (Lour.) Merr.

ชื่อวงศ์:  RHIZOPHORACEAE

สกุล:  Carallia 

สปีชีส์: brachiata

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เฉียงพร้านางแอ thai-herbs.thdata.co | เฉียงพร้านางแอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเฉียงพร้านางแอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 25-30 เมตร และสูงได้ถึง 35 เมตร ลำต้นเปลา ตั้งตรง เป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มรูปกรวยกว้างทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมแดงถึงสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ และมีรูอากาศมาก หรือเปลือกต้นอาจหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว อาจพบลักษณะคล้ายรากค้ำจุนแบบ Prop root เป็นเส้นยาว หรือจะออกเป็นกระจุกตามลำต้นหรือส่วนโคนต้น 


เฉียงพร้านางแอ thai-herbs.thdata.co | เฉียงพร้านางแอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับกับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอกกลับ ปลายใบมนมีติ่งเล็กแหลม ส่วนฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ มีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงหนาและเหนียว หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันหนา ท้องใบสีอ่อนกว่า มีจุดสีน้ำตาลกระจาย และมีหูใบอ่อนเป็นรูปหอกแหลมที่ปลายกิ่ง เมื่อร่วงจะเห็นรอยแผล บริเวณข้อพองเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร


เฉียงพร้านางแอ thai-herbs.thdata.co | เฉียงพร้านางแอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงแบบกระจุกสั้น ๆ มีดอกย่อยจำนวนมากและมีขนาดเล็กเรียงตัวกันแน่นเป็นช่อกลม โดนจะออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง แตกแขนงเป็น 4 กิ่ง กลีบดอกแยกอิสระจากกัน กลีบดอกมีสีครีม ลักษณะเป็นรูปกลม ขอบกลีบหยักเว้าพับจีบ โคนสอบแหลมเป็นก้านติดเรียงสลับกับกลีบเลี้ยง ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอกและยาวไม่เท่ากัน ส่วนจานฐานดอกเป็นวง มีรังไข่เป็นพู 3-4 พู


เฉียงพร้านางแอ thai-herbs.thdata.co | เฉียงพร้านางแอ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดเล็ก และออกเป็นกระจุก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ปลายผลคล้ายมงกุฎ ผิวผลเป็นมัน มีเนื้อบางสีเขียวห่อหุ้มอยู่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเมื่อสุกจัด 

เมล็ด  ลักษณะเป็นรูปไต สีน้ำตาลหรือดำ ห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อหนาสีส้ม

สภาพนิเวศวิทยา: พบป่าเบญจพรรณ ป่าพรุน้ำจืด ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึง 1,300 เมตร แต่ในภูมิภาคมาเลเซียจะพบจนถึงระดับความสูงที่ 1,800 เมตร

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เปลือกต้น รสฝาดเย็น สรรพคุณ ลดความร้อน แก้ไข้ กล่อมเสมหะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-สารสกัดแอลกอฮอล์จากส่วนเหนือดิน มีฤทธิ์แก้แพ้ และลดการบีบตัวของลำไส้เล็กน้อยในสัตว์ทดลอง และไม่มีพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุกใช้รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน

-นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นเฉียงพร้านางแอ เป็นไม้ไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง อีกทั้งดอกมีกลิ่นหอม จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา

-ต้นเฉียงพร้านางแอจัดเป็นไม้โตเร็ว จึงเป็นพรรณไม้เพื่อปลูกป่าป้องกันอุทกภัยได้

-เนื้อไม้เฉียงพร้านางแอ เป็นไม้ที่คงทนแข็งแรงและมีลายไม้ที่สวยงาม จึงนำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปได้ดี หรือทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรก็ได้ ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ทำฟืนเผาถ่านให้ความร้อนสูง



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง