Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระท่อม

กระท่อม thai-herbs.thdata.co | กระท่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย ท่อม กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย (ใต้)/ ท่อม(ภาคใต้)/ อีถ่าง(ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ: Mitragyna

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mitragyna speciosa (Roxb.) Korth.

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

สกุล: Mitragyna

สปีชีส์:  speciosa

ชื่อพ้อง:

-Mitragyna tubulosa (Arn.) Kuntze 

-Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.

-Mitragyna rotundifolia (Roxb.) Kuntze 

-Mitragyna parvifolia (Roxb.) Korth.

-Mitragyna inermis (Willd.) Kuntze 

-Mitragyna hirsuta Havil.   

-Mitragyna diversifolia (Wall. ex G.Don) Havil.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นกระท่อม ป็นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร

กระท่อม thai-herbs.thdata.co | กระท่อม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตัวเป็นคู่ตรงข้ามและมีหูใบ 1 คู่ (interpetiolarstipules) ใบมีรสขมเฝื่อน แผ่นใบสีเขียว เป็นรูปไข่รีแกมขอบขนาน ปลายแหลมมีขนาด กว้าง x ยาวประมาณ 5-10 x 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ก้านใบออกจากฐานใบ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร เส้นใบเรียงตัวแบบขนนก เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีสีแดงเรื่อ มีขนอ่อนสั้นๆ บริเวณเส้นใบที่อยู่ด้านท้องใบ มีเส้นแขนงใบ 10-15 คู่

ดอก ออกเป็นช่อตุ้มกลม(head) ขนาด 3-5 เซนติเมตร ใน 1 ช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวอมเหลืองจํานวนมาก ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ

ผล เป็นรูปไข่ขนาดเล็กประมาณ 5-7 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: เขตร้อนชื้น สำหรับประเทศไทยพบมากบริเวณภาคใต้

ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินี

การกระจายพันธุ์: แถบอินโดจีน มาลายู

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสขมเฝื่อนเมา สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้บิด ปวดเบ่ง ท้องร่วงลงแดง  แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ถ้ารับประทานทำให้เมา อาเจียน คอแห้ง

-ยาพื้นบ้านของไทยใช้ใบกระท่อมบำบัดอาการท้องร่วงและเคี้ยวกินแทนฝิ่น ก่อนที่จะมีการออกพระราชบัญญัติห้ามปลูกและการมีไว้ในครอบครอง เพราะเชื่อว่าใบกระท่อมช่วยเพิ่มพลังในการทำงาน ทำให้ทนต่อการทำงานหนักกลางแดดได้ แต่ไม่ทนฝน เมื่อหยุดใช้ทำให้ท้องร่วง อ่อนเพลีย หงุดหงิด น้ำตาไหล และคัดจมูก เมื่อกลับมาใช้ใหม่จะรู้สึกสบายและอาการต่างๆ ดังกล่าวจะหายไป

-สมัยโบราณมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาการติดเชื้อในลำไส้ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ บรรเทาอาการไอและท้องร่วง โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา

-ชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล และใช้ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ชาวนานิยมบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด หรือเอาใบมาย่างให้เกรียมและตำผสมกับน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร เพื่อให้มีแรงทำงานและสามารถทนตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง