Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระดอม

ชื่อท้องถิ่น: ขี้กาเหลี่ยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)/ ขี้กาลาย (นครราชสีมา)/ ดอม (นครศรีธรรมราช)/  ขี้กาดง ขี้กาน้อย (สระบุรี)/ ผักแคบป่า (น่าน)/ ผักขาว (เชียงใหม่)/ มะนอยหก มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน)/ มะนอยจา (ภาคเหนือ)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr.

ชื่อวงศ์: CUCURBITACEAE

สกุล: Gymnopetalum 

สปีชีส์: chinensis

ชื่อพ้อง: 

-Bryonia cochinchinensis Lour.

-Cucumis tubiflorus Roxb. ex Wight & Arn.

-Euonymus chinensis Lour.

-Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr.

-Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz

-Gymnopetalum cochinchinense var. incisa Gagnep.

-Gymnopetalum cochinchinensis (Lour.) Kurz

-Gymnopetalum heterophyllum Kurz

-Gymnopetalum quinquelobatum Merr.

-Gymnopetalum quinquelobum Miq.

-Momordica spicata L. ex Sm.

-Momordica surculata Noronha

-Momordica tubiflora Roxb.

-Scotanthus porteanus Naudin

-Scotanthus tubiflorus Naudin

-Trichosanthes fatoa Buch.-Ham.

-Tripodanthera cochinchinensis (Lour.) M. Roem.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

กระดอม thai-herbs.thdata.co | กระดอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นกระดอม เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นและมีมือเกาะมีขน และลำต้นมักเป็นห้าเหลี่ยม 


กระดอม thai-herbs.thdata.co | กระดอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะของใบมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เป็นรูปไตไปจนถึงรูปสามเหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม หรือรูปแฉก ใบกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ


กระดอม thai-herbs.thdata.co | กระดอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเดี่ยว เป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน มีใบประดับยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ขอบใบเป็นจักแบบลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนปลายแยกเป็นแฉกรูปหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรตัวผู้มี 3 อัน ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นเดี่ยว ๆ และกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ มีรังไข่ช่อเดียว ยอดเกสรตัวเมียแยกเป็น 3 แฉก


กระดอม thai-herbs.thdata.co | กระดอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  กระดอม thai-herbs.thdata.co | กระดอม สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะของผลคล้ายรูปกระสวยหรือรูปรี แหลมทั้งหัวและท้าย มีความยาวของผลประมาณ 6 เซนติเมตร และมีเส้นรอบวงราว 5-7 เซนติเมตร ผิวสาก มีสัน 10 สัน ผลดิบสีเขียว เมื่อผลสุกเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปรีจำนวนมาก ลักษณะเป็นริ้ว ๆ มีสีน้ำตาลไหม้ และมีกลิ่นฉุน

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เมล็ด รับประมานเป็นยาลดไข้ แก้พิษสำแลง เป็นยาถอนพิษจากการกินผลไม้ที่เป็นพิษบางชนิด ถอนพิษจากพืชพิษ ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี บำรุงธาตุ รักษาโรคในการแท้งลูก

*ผล รสขม สรรพคุณ บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเลือด คลั่งเพ้อ เจริญอาหาร ทำให้โลหิตเย็น บำรุงมดลูก

*ผลอ่อน รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ คลั่งเพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย เจริญอาหาร แก้สะอึก ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้ รักษามดลูกหลังการแท้ง หรือการคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต 

*ทั้ง 5 (ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล)บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ รักษามดลูกหลังจากการคลอดบุตร เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดตรีอมฤต” ได้แก่ รากมะกอก รากกล้วยตีบ รากกระดอม สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ท้องเดิน

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้กระดอม ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของกระดอมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย) ตำรับ “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของกระดอมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

2.ยาแก้ไข้ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” มีส่วนประกอบของกระดอมร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู 

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ผล พบสารขม  เช่น cucurbitanemonodesmodidic  diglyceride และสารกลุ่มอื่นๆ เช่น  neolignan, nucleic acids, terpenoids, cerebroside, สารกลุ่ม phenolic และกรดไขมันต่างๆ เช่น oleic acid , palmitic acid, linoleic  acid เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของกระดอมพบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวในสัตว์ทดลอง  นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากการศึกษาวิจับทางพรีคลินิกพบว่า สารสกัดกระดอมมีฤทธิ์ลดไข้ได้ใกล้เคียงกับยาแอสไพริน

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การศึกษาทางด้านพิษวิทยาของกระดอมพบว่า  เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือป้อนสารสกัดผลแห้งด้วยแอลกอฮอล์:น้ำ (1:1) ในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม แก่หนูถีบจักรปรากฏว่าไม่พบความเป็นพิษ

การใช้ประโยชน์:

-อาการไข้ ไข้จับสั่น ใช้ผลอ่อนแห้งประมาณ 15-16 ผล (หนักประมาณ 10 กรัม) นำมาต้มกับน้ำพอประมาณ แล้วเคี่ยวน้ำให้เหลือ 1 ใน 3 แล้วเอามาดื่มก่อนอาหารช่วงเช้าและเย็น หรือในช่วงที่มีอาการไข้

-ผลอ่อน สามารถนำมารับประทานได้ แต่ผลแก่หรือผลสุกห้ามรับประทานเพราะมีพิษ 

-ผล นิยมนำมาใช้ทำแกงที่เรียกว่าแกงป่าหรือแกงคั่ว โดยผ่าเอาเมล็ดออกก่อนนำมาใช้แกง หรือจะนำมาใช้ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน

-ในอินเดียใช้รากกระดอมแห้งที่นำมาบดผสมกับน้ำร้อน ใช้เป็นยาทาถูนวดตามกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดเมื่อย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง