Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: เถาวัลย์เปรียง

ชื่อท้องถิ่น: เครือตาปลา เครือไหล (เชียงใหม่)/ เครือตับปลา (เลย)/ เถาตาปลา เครือเขาหนัง ย่านเหมาะ (นครราชสีมา)/ พานไสน (ชุมพร), เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เครือตาปลาโคก เครือตาปลาน้ำ (ภาคอีสาน)/ เถาวัลย์เปรียงขาว เถาวัลย์เปรียงแดง (ภาคกลาง)/ ย่านเหมาะ ย่านเมราะ (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Jewel vine

ชื่อวิทยาศาสตร์: Derris scandens (Roxb.) Benth.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย FABOIDEAE-PAPILIONOIDEAE-PAPILIONACEAE

สกุล: Derris 

สปีชีส์: scandens

ชื่อพ้อง: 

-Brachypterum scandens (Roxb.) Wight

-Brachypterum scandens Benth.

-Brachypterum timorense Benth.

-Dalbergia scandens Roxb.

-Dalbergia timoriensis DC.

-Deguelia timoriensis (DC.) Taub.

-Derris timoriensis (DC.) Pittier

-Galedupa frutescens Blanco

-Millettia litoralis

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

เถาวัลย์เปรียง thai-herbs.thdata.co | เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นเถาวัลย์เปรียง เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม 


เถาวัลย์เปรียง thai-herbs.thdata.co | เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 4-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ


เถาวัลย์เปรียง thai-herbs.thdata.co | เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย เถาวัลย์เปรียง thai-herbs.thdata.co | เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวห้อยลง ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วงอ่อนคล้ายกับดอกถั่ว กลีบดอกมี 4 กลีบและมีขนาดไม่เท่ากัน สวนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สีม่วงแดง


เถาวัลย์เปรียง thai-herbs.thdata.co | เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลออกเป็นฝักแบน โคนฝักและปลายฝักมน ฝักเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป 

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนไปจนถึงออสเตรเลียตะวันออก

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, บอร์เนียว, กัมพูชา, จีนตอนกลางตอนใต้, อินเดีย, จาวา, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, มาลูกู, เมียนมาร์, เนปาล, นิวกินี, นิวเซาท์เวลส์, เกาะนิโคบาร์, ฟิลิปปินส์, ควีนส์แลนด์ , ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาตรา, ไทย, เวียดนาม, หิมาลัยตะวันตก, มอริเชียส, ปากีสถาน, เรอูนียง

เถาวัลย์เปรียง thai-herbs.thdata.co | เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการแยกไหลใต้ดิน

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เถา รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด  เส้นตึง แก้ปวดเมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ขับปัสสาวะ ถ่ายเสหะลงสู่คูถวาร

องค์ประกอบทางเคมี: 

-สารกลุ่ม isoflavone glycoside ได้แก่ eturunagarone, 4,4’-di-O-methylscandenin, lupinisol A, 5,7,4’-trihydroxy-6,8-diprenylisoflavone, 5,7,4’-trihydroxy-6,3’-diprenylisoflavone, erysenegalensein E, derrisisoflavone A-F, scandinone, lupiniisoflavone G, lupalbigenin, derrisscandenoside A-E, 7,8-dihydroxy-4’-methoxy isoflavone, 8-hydroxy-4’,7-dimethoxy isoflavone-8-O-b-glucopyranoside, 7-hydroxy-4’,8-dimethoxy isoflavone-7-O-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-beta-glucopyranoside, diadzein-7-O-[α-rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, derrisscanosides A-B, genistein-7-O-[α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside

-สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ 3-aryl-4-hydroxycoumarins  สารกลุ่มสเตียรอยด์ได้แก่ lupeol, taraxerol, b-sitosterol  สารอื่นๆ เช่น 4-hydroxy-3-methoxy benzoic acid, 4-hydroxy-3,5-dimethoxy benzoic acid

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านอักเสบ สารสกัดลำต้นเถาวัลย์เปรียงด้วยน้ำ นำมาทดสอบฤทธิ์ลดการอักเสบในหลอดทดลองโดยวัดการลดลงของเอนไซม์ myeloperoxidase(MPO) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในแกรนูลซึ่งอยู่ภายในเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล ในระหว่างที่มีการอักเสบ MPO จะเคลื่อนที่ออกมา ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำลดการหลั่ง myeloperoxidase ได้ 88% โดยใช้ peritoneal leukocytes ของหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์ ที่ถูกกระตุ้นให้อักเสบด้วย calcium ionophore และสารสกัดน้ำมีผลยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (eicosanoid) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ leukotriene B4  สารสกัดน้ำยังลดการบวมที่อุ้งเท้าหนูขาว สายพันธุ์ Sprague–Dawley เมื่อใช้คาราจีแนนเหนี่ยวนำการบวม โดยพบว่าสารสกัดน้ำขนาด 100 และ 500 mg/kg เมื่อให้โดยการฉีดเข้าช่องท้องหนู สามารถลดการบวมได้ 82 และ 91% ตามลำดับ (Laupattarakasem, et al., 2003)

-ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX-1 สกัดลำต้นเถาวัลย์เปรียงด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ ได้แก่ 50% เอทานอล,เฮกเซน, คลอโรฟอร์ม, บิวทานอล และน้ำ และแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดน้ำ 2 ชนิด คือ piscidic acid และ genistein 7-O-α-rhamnosyl (1→6)-β-glucopyranoside นำมาศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด 50% เอทานอล, สารสกัดน้ำ, สาร genistein 7-O-α-rhamnosyl (1→6)-β-glucopyranoside และยามาตรฐาน aspirin  สามารถยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1 (COX-1) ทำให้การสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ พรอสตาแกลนดินลดลง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 4.11, 4.15, 4.0 และ 4-5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ โดยสารสกัดน้ำ และเอทานอลของลำต้นเถาวัลย์เปรียงไม่มีผลยับยั้งเอนไซม์ COX-2 แต่ aspirin ยับยั้งเอนไซม์ COX-2 โดยมีค่า IC50 = 9-10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากสารสกัดน้ำ สองชนิดคือ สารกลุ่มกรดฟีนอลิค คือ สาร piscidic acid ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ทำให้หลับ กล่อมประสาท และระงับอาการไอ สารอีกชนิดเป็นสารกลุ่มไอโซฟลาโวนกลัยโคไซด์คือ genistein 7-O-α-rhamnosyl (1→6)-β-glucopyranoside ซึ่งมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารทั้งสองชนิดยังเป็นองค์ประกอบหลักในสารสกัด 50%เอทานอล (ประไพ และคณะ, 2556)

-ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน การทดสอบในหลอดทดลอง ของสารสกัด 50 % เอทานอลจากลำต้นเถาวัลย์เปรียง โดยใช้เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียส (peripheral blood mononuclear cells, PBMC) ที่ได้จากอาสาสมัครปกติ และผู้ติดเชื้อเอชไอวี พบว่าใน PBMC ที่ได้จากอาสาสมัครปกติ สารสกัดมีผลเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte ที่ความเข้มข้น 10 นาโนกรัม/มล. ถึง 5 ไมโครกรัม/มล. และผลนี้ลดลงเมื่อความเข้มข้นเพิ่มเป็น 100 ไมโครกรัม/มล. สารสกัดเพิ่มการทำงานของ natural killer (NK) cells ในคนปกติ ที่ความเข้มข้น 10 นาโนกรัม/มล. ถึง 10 ไมโครกรัม/มล. เมื่อทดสอบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี สารสกัดเพิ่มการทำงานของ natural killer (NK) cells ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม/มล (NK cell จัดเป็นเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ มีหน้าที่ทำลายเซลล์อื่นๆทั้งหมดที่มันไม่รู้จักว่าเป็นเซลล์ปกติของร่างกาย) นอกจากนั้นยังมีผลกระตุ้นการหลั่ง interleukin-2 (IL-2) จาก PBMC ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นจากระบบภูมิคุ้มกัน (Sriwanthana and Chavalittumrong, 2001)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดลำต้นด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 6,250 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

-การศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดหยาบของเถาวัลย์เปรียง ศึกษาพิษเรื้อรัง (6 เดือน) ของสารสกัดด้วย 50% เอทานอล ของเถาวัลย์เปรียง ในหนูขาว สายพันธุ์วิสตาร์ 4 กลุ่ม ๆ ละ 20 ตัวต่อเพศ กลุ่มควบคุมได้รับน้ำ 10 มล./น้ำหนักตัว 1 กก./ วัน ขณะที่หนูอีกสามกลุ่ม ได้รับสารสกัดในขนาด 6, 60 และ 600 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน หรือเทียบเท่าผงเถาวัลย์เปรียงแห้ง 0.03, 0.3 และ 3 กรัม /น้ำหนักตัว 1 กก./วัน หรือ 1, 10 และ 100 เท่า ของขนาดใช้ในคนต่อวัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดของเถาวัลย์เปรียงไม่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม หรือจุลพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของสารสกัด และไม่พบความผิดปกติใด ๆ ที่สามารถสรุปได้ว่าเนื่องมาจากความเป็นพิษของสารสกัด (Chavalittumrong, et al., 1999)

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดเมื่อย ใช้เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง

-อาการปวดหลัง อาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อม สมุนไพรเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบัน “ไดโคลฟีแนค” (Diclofenac) ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และใช้แทนยาแผนปัจจุบัน “นาโพรเซน” (Naproxen) ในการรักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย

-ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน มีรสมัน สามารถนำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้ โดย

-ราก มีรสเฝื่อนเบา มีสารจำพวก Flavonol ที่มีชื่อว่า สคาเดอนิน (Scadeninm) และนันลานิน (Nallanin) ใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ 

-คนโบราณจะนิยมใช้เถาของเถาวัลย์เปรียงเพื่อเป็นยารักษาอาการตกขาวของสตรี




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง