Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: พลูป่า

ชื่อท้องถิ่น: พลูเขา, พลูนาบ

ชื่อสามัญ: Betel Piper

ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper betle Linn.

ชื่อวงศ์: PIPERACEAE

สกุล:  Piper 

สปีชีส์:betle 

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นพลูป่า เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นเป็นปล้องและมีข้อ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีร่องเล็กๆสีน้ำตาลอมแดงตามแนวยาวของลำต้น สันร่องมีสีเขียว โดยลำต้นส่วนปลายจะมีสีเขียว ส่วนลำต้นส่วนต้นจะมีสีเขียวอมเทา

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มมากกว่าด้านล่าง ใบเป็นร่องบุ๋มด้านใบ โคนใบมีลักษณะกลมเบี้ยวหรือมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม มีเส้นใบนูนเด่น ใบอ่อนมีสีเขียวออ่น และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่เต็มที่จะมีสีเหลือง เนื้อใบหนา เป็นมัน รสเผ็ดมากและมีกลิ่นฉุน 

ดอก ออกรวมกันเป็นช่อสีขาว มีช่อดอกแบ่งเพศกันอยู่คนละต้น ประกอบด้วยช่อดอกตัวเมีย และดอกตัวผู้ มีใบประดับดอกขนาดเล็กรูปวงกลม ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ 2 อัน มีขนาดสั้นมาก ส่วนช่อดอกตัวเมียมีความยาวเท่ากับช่อดอกตัวผู้ แต่มีก้านช่อดอกยาวกว่า ดอกมักบานไม่พร้อมกัน จึงทำให้ไม่ค่อยพบเห็นผลของพลู เพราะมีโอกาสผสมเกสรน้อย

ผล ลักษณะอัดแน่นที่เกิดจากดอกในช่อดอก ผลของพลูมีลักษณะลักษณะผลเป็นผลสด รูปกลม ออกเป็นพวง มีก้านยาว เรียงตัวค่อนข้างแน่น ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดง ผลค่อนข้างนุ่ม ด้านในประกอบด้วย 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม 

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยกาปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ  รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้รำนาด ปวดฟัน

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดฟัน รำมะนาด ช่วยให้ฟันทน ใช้ใบสด 1-2 ใบ  (ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่) เคี้ยวอมในปากแล้วคายทิ้ง ช่วยลดอาการปวดฟัน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง