Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะกล่ำตาช้าง (มะกล่ำต้น)

ชื่อท้องถิ่น: มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป)/ มะหล่าม (นครราชสีมา)/ บนซี (สตูล)/ ไพ (ปัตตานี)/ มะแดง มะหัวแดง มะโหกแดง (ภาคเหนือ)/  มะแค้ก หมากแค้ก (แม่ฮ่องสอน)/  หมากแค้ก มะแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอ น)/ มะแค้กตาหนู (คนเมือง)/ กัวตีมเบล้ (ม้ง)/ ซอรี่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง)/ กล่องเคร็ด (ขมุ)

ชื่อสามัญ: Red sandalwood tree, Sandalwood tree, Bead tree, Coralwood tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina L.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย MIMOSOIDEAE-MIMOSACEAE

สกุล: Adenanthera 

สปีชีส์: pavonina 

ชื่อพ้อง: 

-Adenanthera gersenii Scheff.

-Adenanthera polita Miq.

-Corallaria parvifolia Rumph.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นมะกล่ำตาช้าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบระยะสั้น มีความสูงของต้นได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดแผ่กิ่งกว้าง ต้นเป็นทรงโปร่ง เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกชั้นในนุ่มเป็นสีครีมอ่อน ๆ 


มะกล่ำตาช้าง thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรี รูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบไม่สมมาตรกัน ส่วนขอบใบเรียบ มีประมาณ 8-16 คู่ เรียงสลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-5.5 เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียวเข้ม ใบเรียบเกลี้ยง ด้านหลังใบเกลี้ยงเป็นสีเขียวอมเทา ส่วนท้องใบเป็นสีอ่อนกว่าและมีนวลเล็กน้อย มีขนนุ่ม แกนกลางของใบประกอบยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก้านใบย่อยสั้น ไม่มีหูใบ ส่วนก้านใบหลักมีหูใบขนาดเล็กมากและหลุดร่วงได้ง่าย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกแคบยาวเป็นรูปทรงกระบอก โดยจะออกดอกตามซอกใบช่วงบนหรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง และจะออกดอกเป็นช่อเดี่ยวหรือหลายช่อรวมกัน ช่อดอกมีความยาวประมาณ 7.5-20 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนอมสีครีม เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม มีขนอยู่ประปราย ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบแคบ ปลายกลีบแหลม ขนาดประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันที่ฐานเป็นหลอด ก้านดอกสั้นเป็นทรงแคบ ส่วนปลายเป็นถ้วยตื้นแยกเป็น 5 กลีบ ก้านดอกยาวประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร มีขนเส้นไหม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน อับเรณูมีต่อมอยู่ที่ปลาย ดอกจะมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ในช่วงเย็นคล้ายกลิ่นของดอกส้ม โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน


มะกล่ำตาช้าง thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย มะกล่ำตาช้าง thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะออกผลเป็นฝัก รูปแถบแบนยาว มีขนาดกว้างประมาณ 8-12 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็นสองตะเข็บและบิดม้วนงอเป็นเกลียวแน่นเพื่อกระจายเมล็ด และมีรอยคอดตามเมล็ดชัดเจน เมล็ดจะติดอยู่ในฝักเป็นเวลานาน ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด มีลักษณะค่อนข้างกลม แข็ง ผิวมัน และเป็นสีแดงเลือดนกหรือเป็นสีแดงส้ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 50-400 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนไปจนถึงยังออสเตรเลียเหนือ

การกระจายพันธุ์: เกาะอันดามัน, อัสสัม, บังกลาเทศ, หมู่เกาะบิสมาร์ก, เกาะบอร์เนียว, กัมพูชา, ไหหลำ, อินเดีย, จาวา, ลาว, ซุนดาน้อย, มาลายา, มัลดีฟส์, โมลุกกะ, เมียนมาร์, นิวกินี, เกาะนิโคบาร์, เปอร์โตริโก, ควีนส์แลนด์, เกาะโซโลมอน, ศรีลังกา, สุลาเวสี, สุมาเตรา, ไทย, เวียดนาม, แองโกลา, บาฮามาส, แคเมอรูน, เกาะเคย์แมน, ชาด, คุกไอส์, คิวบา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, หิมาลายาตะวันออก, ฟิจิ, ฟลอริดา, กานา, กินี, กินีบิสเซา, อ่าวกินี, เฮติ, ฮาวาย, จาเมกา, เกาะลีวาร์ด, มาดากัสการ์, มอริเชียส, โมซัมบิก, นาอูรู, นิวแคลิโดเนีย, ไนจีเรีย, นีอูเอ, โอกาซาวาระ-โชโต, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, โรดริเกซ, เรอูนียง, ซามัว, เซเชลส์, เซียร์ราลีโอน, โซไซตี้อิส, แคริบเบียนตะวันตกเฉียงใต้, ซูรินาเม, แทนซาเนีย, โตโก, ตองกา , ตรินิแดด-โตเบโก, ยูกันดา, วานูอาตู, เวเนซุเอลา, เวเนซุเอลาแอนทิลลิส,วาลิสและฟูตูนา, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, สาธารณรัฐซาอีร์ 

มะกล่ำตาช้าง thai-herbs.thdata.co | มะกล่ำตาช้าง สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใบ รสเบื่อเอียน สรรพคุณ แก้ริดสีดวงทวาร

*เมล็ดใน รสเบื่อเมา สรรพคุณ เบื่อพยาธิไส้เดือน

*ราก รสเปรี้ยวเล็กน้อย สรรพคุณ แก้เสมหะในลำคอ แก้หืด ไอ แก้ไข้ร้อนใน 

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-เมล็ด นำมาบดให้เป็นผงใช้โรยใส่แผลฝีหนอง ช่วยดับพิษฝี ดับพิษบาดแผล

-ยอดอ่อนและใบอ่อน มีรสมัน ใช้กินเป็นผักสดร่วมกับอาหารได้หลายประเภท เช่น ลาบ ส้มตำ น้ำตก และอาหารประเภทที่มีรสจัด หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาแกง

-เนื้อในเมล็ด นำมาคั่วกินเป็นอาหารว่างได้ โดยจะมีรสมัน

-เมล็ด สามารถนำมาใช้ประดับตกแต่งเสื้อผ้าหรือตุ๊กตาได้

-เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเชื้อเพลิงได้ เพราะเป็นฟืนที่ให้ความร้อนได้สูงถึง 5,191 แคลอรีต่อกรัม

-เนื้อไม้ จะให้สีแดงที่ใช้สำหรับย้อมผ้าได้

-เนื้อไม้ ใช้ทำเสาบ้าน ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ทำเรือ เกวียน ฯลฯ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งและหนัก




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง