Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: อุตพิด

ชื่อท้องถิ่น: บอนแบ้ว (เชียงใหม่)/ มะโหรา (จันทบุรี)/ อุตพิษ อุตตพิษ (ไทย)/ ขี้ผู้เฒ่า (อีสาน)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium trilobatum (L.) Schott

ชื่อวงศ์: ARACEAE

สกุล: Typhonium 

สปีชีส์: trilobatum

ชื่อพ้อง: 

-Arisaema pumilum Blume

-Arum auriculatum Sims

-Arum foetidum Salisb.

-Arum orixense Roxb. ex Andrews

-Arum pumilum Lam.

-Arum trilobatum L.

-Desmesia orixensis (Roxb. ex Andrews) Raf.

-Dracunculus trilobatus (L.) Raf.

-Typhonium orixense (Roxb. ex Andrews) Schott

-Typhonium siamense Engl.

-Typhonium trilobatum var. fulvus H.Ara & M.A.Hassan

-Typhonium triste Griff.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

อุตพิด thai-herbs.thdata.co | อุตพิด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นอุตพิต เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 10-45 เซนติเมตร จัดเป็นว่านที่มีหัวขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน เมื่อถึงฤดูฝนก็จะงอกขึ้นมาใหม่ ลักษณะของหัวค่อนข้างกลมหรือแป้นเล็กน้อย วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 1.2 เซนติเมตร เนื้อในหัวเป็นสีขาวหรือสีนวล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เป็นพืชที่ชอบอยู่ในพื้นที่ร่มเย็น พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย มัก พบได้ทุกภาคของประเทศไทย


อุตพิด thai-herbs.thdata.co | อุตพิด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นวงบริเวณผิวดิน แผ่นใบแผ่ย่นเป็นลอนเล็กน้อย ใบเป็นรูปไข่ปลายแหลมหรือเป็นรูปลูกศรแกมรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าแบ่งออกเป็นแฉก 3 แฉก โคนใบเว้าลึกเข้าหาก้านใบ มีความกว้างและยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวมัน มีลายหรือมีจุดประสีม่วง ก้านใบยาวประมาณ 37 เซนติเมตร บ้างว่ายาวได้เกือบ 1-2 เมตร ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพื้นที่ โดยก้านใบจะเป็นสีน้ำตาลอมแดงหรือเป็นสีแดงอมม่วง บางพันธุ์จะมีลายเป็นประจุดต่าง ๆ ทั่วทั้งก้านคล้ายกับก้านต้นบุก ชนิดนี้จะหาได้ยากมาก ชนิดที่ก้านใบเป็นสีเขียวจะมีเยอะกว่า


อุตพิด thai-herbs.thdata.co | อุตพิด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อ แทงมาจากหัวใต้ดินขึ้นมาเป็นแท่งยาว ๆ ก้านช่อดอกเป็นสีเลือดนกปนสีน้ำตาลหรือสีแดงเข้ม ช่อดอกมีกาบหุ้มยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร กาบมีสีแดงเข้ม เมื่อดอกบานแล้วจะเห็นดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีขาว ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน โดยดอกเพศเมียจะอยู่ตรงโคนแท่ง เหนือดอกเพศเมียเป็นดอกฝ่อสีขาว ถัดไปเป็นที่ว่าง เหนือที่ว่างจะเป็นดอกเพศผู้สีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่ดอกจะมีกลิ่นเหม็นคล้ายอาจมหรืออุจจาระ 

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนาน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นทั่วไปตามพื้นที่ร่ม ที่มีอากาศเย็นชื้น

ถิ่นกำเนิด: อินเดียไปยังจีนตอนใต้และมาลายา

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, บังคลาเทศ, กัมพูชา, จีนใต้-กลาง, จีนตะวันออกเฉียงใต้, ไหหลำ, อินเดีย, ลาว, มาลายา, เมียนมาร์, เนปาล, ศรีลังกา, ไทย, เวียดนาม, เกาะบอร์เนียว, ไอวอรี่โคสต์, ฟิลิปปินส์, ตรินิแดด-โตเบโก, หมู่เกาะวินด์เวิร์ด

อุตพิด thai-herbs.thdata.co | อุตพิด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสขื่นคัน สรรพคุณ แก้ไอ ขับปัสสาวะ กัดล้างเสมหะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ริดสีดวงจมูก แก้โรคท้องมาน

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ในตำรายาพื้นบ้านจะใช้ใบอุตพิต ใบหญ้าขัดมอน และข้าวสวย อย่างละเท่ากัน นำมาหมกกับไฟให้สุกแล้วนำมาตำรวมกัน ใช้เป็นยาพอกที่ปากฝี จะช่วยทำให้หัวฝีหลุดออกภายใน 1 คืน

-โรคเถาดาน อาการท้องแข็ง ใช้หัวต้มกับน้ำดื่มเป็นยากัดเถาดานในท้อง

-ช่วยกัดฝ้าหนองและสมานแผล ใช้หัวหุงเป็นน้ำมันใส่แผล ทาบริเวณที่มีอาการ ช่วยกัดฝ้าหนองและสมานแผล

-ยอดอ่อน ก้านใบ นำมาเผาไฟ แล้วนำไปทำแกงกะทิได้ กาบใบนำมาหั่นให้เป็นฝอยละเอียดใช้ดองกินเป็นอาหารผักหรือเครื่องเคียง ก้านใบนำมาลอกเปลือกออกใช้แกงส้มแบบเดียวกับแกงบอนหรือนำไปทำแกงคั่วก็ได้ โดยแกงคั่วอุตพิตจะมีเครื่องแกงที่ประกอบไปด้วยกะปิ กระเทียม ขมิ้น ข่า ตะไคร้ พริก มะกรูด และเกลือ นำทั้งหมดมาตำรวมกันให้ละเอียด จากนั้นนำมาลอกเปลือกชั้นนอกออกล้างให้สะอาด หั่นให้เป็นฝอย แล้วนำไปคั่วให้แห้งสนิท นำเครื่องแกงลงผัดกับน้ำกะทิให้หอม ใส่อุตพิตลงไปผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ปลาย่างตามลงไป แล้วปรุงรส จากนั้นใส่หัวกะทิตามลงไป ฉีกใบมะกรูดใส่ ก็จะได้แกงอุตพิตที่แสนอร่อย แต่มีเคล็ดลับเล็กน้อยในการแกง คือ ในระหว่างแกงห้ามปิดฝาและห้ามเติมน้ำ เพราะจะทำให้เกิดอาการคันได้

-หัว สามารถนำมาปิ้งไฟกินได้

-ใบ ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์

-ในทางไสยศาสตร์เชื่อว่าทำให้คงกระพัน หัวแห้งเรียกว่าโหรามหุรา

-ในอินโดนีเซียจะใช้หัวอุตพิตเป็นยาแก้ไอ หอบหืด และวิงเวียน ใช้กินกับกล้วยรักษาโรคปวดท้อง

-ในบังกลาเทศจะใช้ใบอุตพิตเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับความผิดปกติในลำไส้ เช่น ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ บิดมีตัว

-ในต่างประเทศก็มีการซื้อขายเพื่อนำไปปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อออกดอกจะดูมีสีสันสดใสสวยงาม



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง