Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กรัก


thai-herbs.thdata.co | สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ชื่อท้องถิ่น: ขะนู (จันทบุรี)/ นะยวยซะ (กาญจนบุรี), เนน (นครราชสีมา)/ ซีคึย ปะหน่อย หมากกลาง (แม่ฮ่องสอน)/ นากอ (ปัตตานี)/ มะหนุน (ภาคเหนือ ภาคใต้)/ ลาน ล้าง (ภาคเหนือ)/ หมักหมี้ (ตะวันอองเฉียงเหนือ)

ชื่อสามัญ: Jack fruit tree

ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus heterophyllus Lam.

ชื่อวงศ์: MORACEAE

สกุล: Jackfruit

สปีชีส์: heterophyllus

ชื่อพ้อง: -


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-30 เมตร กิ่งและลำต้นเมื่อมีแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ใบหนา ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างจะสากมือ ใบขนุนกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่นและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งเราจะเรียกว่า "ส่า" ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และลำต้น เมื่อติดผลดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกจะกลายเป็น 1 ยวง

ผล ลักษณะภายนอกจะคล้าย ๆ จำปาดะ (ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกัน) โดยลักษณะของลูกขนุน ในผลดิบเปลือกมีสีขาว หนามทู่ ถ้ากรีดจะมียางเหนียว ถ้าแก่เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองและหนามจะป้านขึ้นด้วย ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดจะอยู่ในยวง

แก่น (กรัก) ลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง มีสีเลือดจัด รสหวานชุ่มขม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เอเชียใต้

การกระจายพันธุ์: เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*แก่น รสหวานชุ่มขม สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต สมานแผ

*ใบ เผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู สรรพคุณ แก้ปวดหู แก้หูเป็นน้ำหนวก

*ไส้ในลูก รสฝาดหอมหวาน สรรพคุณ แก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรี กินแล้วทำให้เลือดหยุด

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เม็ดขนุน ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น

-เนื้อหุ้มเมล็ดสุก ใช้หมักทำเหล้า

-เนื้อหุ้มเมล็ดสุก ช่วยแก้อาการเมาสุรา

-แก่นของต้นขนุน นำมาใช้ทำสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำตาลแก่ นิยมนำมาใช้ย้อมสีจีวรพระ

-ส่าแห้งของขนุน นำมาใช้ทำเป็นชุดจุดไฟได้

-เนื้อไม้ของต้นขนุน สามารถนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องดนตรีได้

-เมล็ดและยวง สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้

-เนื้อหุ้มเมล็ดสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้และทำเป็นขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่อง กินกับข้าวเหนียวมูน นำไปอบแห้ง

-ขนุนอ่อนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานเป็นผัก เช่น ใส่ในส้มตำ ตำมะหนุน แกงขนุน ยำ ขนุนอบกรอบ เป็นต้น

 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง