Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: มะมาด

ชื่อท้องถิ่น: ละมาด พริกหอม พริกม้า (กลาง)/ ผักมาด (สกลนคร)/ หมากแคว่น (เหนือ)/ แคนโข่ง (กาฬสินธุ์) มะนาวป่า (สกลนคร)

ชื่อสามัญ: Shiny-Leaf Prickly Ash

ชื่อวิทยาศาสตร์: Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC.

ชื่อวงศ์: RUTACEAE

สกุล: Zanthoxylum

สปีชีส์: rhetsa

ชื่อพ้อง: 

-Fagara budrunga Roxb.

-Fagara parviflora (Benth.) Engl.

-Fagara rhetsa Roxb.

-Lacuris illicioides Buch.-Ham.

-Tipalia limonella Dennst.

-Zanthoxylum budrunga (Roxb.) DC.

-Zanthoxylum crenatum Wall.

-Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston

-Zanthoxylum oblongum Wall.

-Zanthoxylum parviflorum Benth.

-Zanthoxylum rhetsum St.-Lag.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

มะมาด thai-herbs.thdata.co | มะมาด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นมะมาด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกสีขาว มีหนามแหลมรูปกรวยปลายตรงหรือโค้งเล็กน้อย ขึ้นตามลำต้น กิ่ง และก้านใบ


มะมาด thai-herbs.thdata.co | มะมาด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบประกอบเรียงสลับแบบขนนก  ใบย่อยประมาณ 10-28 ใบ อาจมีใบย่อยที่ปลายหรือไม่มีก็ได้ ขนาดใบกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร  ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ปลายใบเรียวแหลม ยอดอ่อนเป็นสีแดงปนเหลือง

ดอก เป็นช่อแบบ panicle  (ช่อดอกแยกแขนง) ออกที่ปลายยอดหรือซอกก้านใบ ยาวประมาณ 10-21 เซนติเมตร ก้านช่อยาว ดอกเล็กสีขาวอมเขียวเป็นกระจุกอยู่ตอนปลายช่อ ดอกตัวเมียและดอกตัวผู้อยู่คนละต้น กลีบรองดอก 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เรียงสลับกับเกสรตัวผู้ 4 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่เหนือเกสรตัวผู้ ภายในมี 1 ช่อง


มะมาด thai-herbs.thdata.co | มะมาด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะรูปร่างกลมผลอ่อนสีเขียว รสเผ็ดซ่ามาก เมื่อแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาล และแตกอ้าเห็นเมล็ดสีดำเป็นมัน

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นตามป่าดิบ บนพื้นที่ระดับต่ำไปจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร

ถิ่นกำเนิด: เอเชียเขตร้อนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ

การกระจายพันธุ์: อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เนื้อไม้ รสร้อน สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด ขับลมในลำไส้

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

มะมาด thai-herbs.thdata.co | มะมาด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-ใบอ่อน กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกปลาร้า ลาบ ก้อย

-ผลแก่และเมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศผสมเครื่องแกงของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือผสมกับลาบ หลู้ ยำต่างๆ และเป็นเครื่องแกงแค ใส่เป็น เครื่องผสมแกงอ่อมไก่ แกงอ่อมเนื้อ ดับกลิ่นคาวทำให้ มีกลิ่นหอม




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง