Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กุ่มบก

กุ่มบก thai-herbs.thdata.co | กุ่มบก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อท้องถิ่น: ผักกุ่ม กุ่ม กะงัน ก่าม ผักก่าม สะเบาถะงัน (ภาคอีสาน)/ เดิมถะงัน ทะงัน (เขมร)

ชื่อสามัญ: Sacred barnar, Caper tree, Sacred garlic pear, Temple plant

ชื่อวิทยาศาสตร์: Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อวงศ์: CAPPARACEAE-CAPPARIDACEAE

สกุล: Crateva

สปีชีส์: adansonii

ชื่อพ้อง

-Capparis trifoliata Roxb.

-Crateva erythrocarpa Gagnep.

-Crateva falcata (Lam.) DC.

-Crateva roxburghii var. erythrocarpa (Gagnep.) Gagnep.

-Crateva trifoliata (Roxb.) B.S.Sun

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นกุ่มบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 6-10 เมตร ลำต้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา เปลือกต้นหนาค่อนข้างเรียบ มีเนื้อไม้หนาขาวปนเปลือง เนื้อละเอียด

ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยอยู่ 3 ใบ ก้านใบประกอบมีความยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมหรือแหลม ส่วนโคนใบแหลมหรือสอบแคบ ขอบใบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา มีเส้นแขนงของใบข้างละ 4-5 เส้น ที่ก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร

ดอก ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะ ออกบริเวณตามง่ามใบใกล้กับปลายยอด ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงรูปทรงรี มีความกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกมีสีขาวอมเขียวแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อน กลีบดอกเป็นรูปทรงรี กว้างประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร ที่โคนกลีบดอกเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้สีม่วงอยู่ประมาณ 15-22 อัน ส่วนก้านชูอับเรณูมีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และก้านชูเกสรตัวเมียมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนรังไข่มีลักษณะค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

กุ่มบก thai-herbs.thdata.co | กุ่มบก สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล เป็นทรงกลมหรือเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง ผิวนอกแข็งและสาก เมื่อผลแก่เปลือกจะเรียบและมีสีน้ำตาล ก้านผลกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ด้านในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

เมล็ด รูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไตและผิวเรียบ ผิวเรียบ ขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศวิทยา: ป่าผลัดใบ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบต้นกุ่มได้มากทางภาคใต้และภาคกลาง เช่น จังหวัดกระบี่ ชุมพร พังงา และระนอง

ถิ่นกำเนิด: แอฟริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้

การกระจายพันธุ์: แอฟริกาเขตร้อน เช่น ซิมบับเวย์ และแทนซาเนีย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

      *ใบ รสร้อน ต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจและขับลม ใบสดตำทาแก้กลากเกลื้อน แก้ตานขโมย นำใบสดบดละเอียดผสมน้ำซาวข้าว นำมาพอกผิวบริเวณที่บวมคันจากพยาธิตัวจี๊ด ใช้ผ้าพันไว้สักระยะ จะรู้สึกร้อนบริเวณนั้น ทำสามวันติดต่อกัน ตัวจี๊ดจะหยุดแสดงอาการ

      *ใบและเปลือกราก ใช้ทาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้น เปลือกต้น รสร้อน แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง ขับผายลม แก้บวม บำรุงธาตุ คุมธาตุ กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย รักษานิ่ว บำรุงหัวใจ ทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาระงับประสาท

      *เปลือกต้นนำมานึ่งให้ร้อนใช้ประคบแก้ปวด เปลือกต้นผสมกับเปลือกกุ่มน้ำ เปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับลม

      *เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาเจริญอาหาร และยาอายุวัฒนะ

      *แก่น รสร้อน แก้ริดสีดวงทวาร และอาการผอมเหลือง

      *กระพี้ รสร้อน ช่วยทำให้ขี้หูแห้งออกมา ราก รสร้อน บำรุงธาตุ แก้มานกระษัยที่เกิดจากกองลม

      *ดอก เป็นยาเจริญอาหาร

      *ผล แก้ท้องผูก

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ยอดอ่อนและช่อดอก นำมาดองรับประทานเป็นผักได้ ผักกุ่มมีกรดไฮดรอไซยานิคซึ่งเป็นสารพิษ จึงต้องนำไปทำให้สุกหรือดองก่อนรับประทาน

-ต้นกุ่มเป็นไม้เนื้ออ่อนโตเร็ว มีทรงพุ่มสวยงาม ใบและดอกมีความงดงามพอที่จะใช้ปลูกเป็นประดับได้

-ในตำราการปลูกต้นไม้ของชาวไทยถือว่าต้นกุ่มเป็นไม้มงคล สามารถปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนได้ โดยจะนิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวบ้าน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง