Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หญ้าแห้วหมู (หญ้าแห้วหมูเล็ก, หญ้าแห้วหมูใหญ่)

ชื่อท้องถิ่น: หญ้าแห้วหมูหรือหญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน)/ ซาเช่า (แต้จิ๋ว)/ ซัวฉ่าว (จีนกลาง) เป็นต้น

ชื่อสามัญ: Nut grass, Coco grass

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus rotundus L.

ชื่อวงศ์: CYPERACEAE

สกุล: Cyperus

สปีชีส์: rotundus

ชื่อพ้อง: 

-Chlorocyperus rotundus (L.) Palla

-Chlorocyperus salaamensis Palla

-Cyperus agrestis Willd. ex Spreng. & Link

-Cyperus arabicus Ehrenb. ex Boeckeler

-Cyperus bicolor Vahl

-Cyperus bifax C.B.Clarke

-Cyperus bulbosostolonifer Miq.

-Cyperus comosus Sm.

-Cyperus disruptus C.B.Clarke

-Cyperus elongatus Sieber ex Kunth

-Cyperus herbicavus Melliss

-Cyperus hexastachyos Rottb.

-Cyperus hildra Poir.

-Cyperus hydra Michx.

-Cyperus inconspicuus Gennari

-Cyperus laevissimus Steud.

-Cyperus leptostachyus Griff.

-Cyperus longus Boeckeler

-Cyperus merkeri C.B.Clarke

-Cyperus micreilema Steud.

-Cyperus nubicus C.B.Clarke

-Cyperus ochreoides Steud.

-Cyperus officinalis Nees ex Godr.

-Cyperus oliganthus Gand.

-Cyperus olivaris O.Targ.Tozz.

-Cyperus olivaris var. brevibracteatus Le Grand

-Cyperus pallescens Boiss.

-Cyperus pallescens Poir.

-Cyperus patulus M.Bieb.

-Cyperus platystachys Cherm.

-Cyperus procerulus Nees

-Cyperus proteinolepis Boeckeler

-Cyperus purpureovariegatus Boeckeler

-Cyperus radicosus Sm.

-Cyperus rotundus var. amaliae C.B.Clarke

-Cyperus rotundus subsp. brevibracteatus (Le Grand) M.Laínz

-Cyperus rotundus var. brevibracteatus (Le Grand) Husn.

-Cyperus rotundus var. carinalis Benth.

-Cyperus rotundus var. carinatus F.M.Bailey

-Cyperus rotundus var. centiflorus C.B.Clarke

-Cyperus rotundus subsp. comosus (Sm.) K.Richt.

-Cyperus rotundus f. depallescens Ekman & Kük.

-Cyperus rotundus var. disruptus (C.B.Clarke) Kük.

-Cyperus rotundus subsp. divaricatus Lye

-Cyperus rotundus var. hydra (Michx.) A.Gray

-Cyperus rotundus var. nubicus (C.B.Clarke) Kük.

-Cyperus rotundus var. pallidus Benth.

-Cyperus rotundus subsp. retzii Kük.

-Cyperus rotundus var. salsolus C.B.Clarke

-Cyperus rotundus subsp. tuberosus (Rottb.) Kük.

-Cyperus rubicundus Willd. ex Link

-Cyperus rudioi Boeckeler

-Cyperus rudioi var. minor Boeckeler

-Cyperus taylorii C.B.Clarke

-Cyperus tenuifolius Walp.

-Cyperus tetrastachyos Desf.

-Cyperus tuberosus Rottb.

-Cyperus viridis Roxb. ex C.B.Clarke

-Cyperus weinlandii Kük.

-Cyperus yoshinagae Ohwi

-Pycreus rotundus (L.) Hayek

-Schoenus tuberosus Burm.f.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

หญ้าแห้วหมู thai-herbs.thdata.co | หญ้าแห้วหมู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

หญ้าแห้วหมู thai-herbs.thdata.co | หญ้าแห้วหมู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นหญ้าแห้วหมู เป็นไม้ล้มลุก จัดอยู่ในจำพวกหญ้า มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นหัวกลม สั้น มีตาจำนวนมาก มีสีดำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ลำต้นเป็นดิน มีขนาดเล็กเรียวเป็นเหลี่ยม มีความสูงประมาณ 4-10 นิ้ว มีสีเขียวแก่ เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด 


หญ้าแห้วหมู thai-herbs.thdata.co | หญ้าแห้วหมู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดที่ลำต้น ชิดแน่นโดยเป็นกาบใบหุ้มซ้อนม้วนทับกัน ชูขึ้นเหมือนลำต้นแต่แผ่เป็นใบ ใบมีขนาดเล็ก มีลักษณะแบนเรียวยาว ปลายแหลม กลางใบเป็นสันร่อง ผิวใบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 25 เซนติเมตร


หญ้าแห้วหมู thai-herbs.thdata.co | หญ้าแห้วหมู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  

ดอก ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด ก้านช่อดอกเป็นรูปสามเหลี่ยมสีเขียวเข้มแทงขึ้นสูง มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วแตกเป็นช่อย่อยอีกหลายช่อ ดอกมีขนาดเล็ด หนึ่งช่อดอกมีใบประดับประมาณ 2-4 ใบ กางออกอยู่ฐานช่อดอก ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีสีน้ำตาล

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลมีสีน้ำตาลหรือสีดำ

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นเองโดยธรรมชาติ ตามทุ่งนา ข้างทางหรือที่รกร้าง

ถิ่นกำเนิด: โลกเก่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

การกระจายพันธุ์: -

หญ้าแห้วหมู thai-herbs.thdata.co | หญ้าแห้วหมู สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการใช้หัวหรือไหลใต้ดิน

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*หัว รสซ่าติดจะร้อนผลิต สรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้  แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์รักษา

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดเบญจผลธาตุ” ได้แก่ หัวกกลังกา หัวเต่าเกียด หัวแห้วหมู หัวหญ้าชันกาดหัวเปราะ สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เจริญไปธาตุ แก้ทางเดินปัสสาวะ แก้ตับท

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้หญ้าแห้วหมู ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของหญ้าแห้วหมูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย)

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของหญ้าแห้วหมูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ เป็นต้น

3.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาปลูกไฟธาตุ” มีส่วนประกอบของหญ้าแห้วหมูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้กระตุ้นน้ำนม กระจายเลือดลมในหญิงหลังคลอด 

4.ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ ปรากฏตำรับ “ยาปลูกไฟธาตุ” มีส่วนประกอบของหญ้าแห้วหมูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ปลูกไฟธาตุให้บริบูรณ์ ปรับระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ต้นหญ้าแห้วหมู น้ำมันหอมระเหย พบองค์ประกอบได้แก่ pinene. cineol, calamene, delta-cadinene, β-cadinene, alloaromadendrene, α-cubebene, α-cyperene, cyperol, cyperolone, cyperotundone เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องร่วง การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องร่วงของสารสกัดเมทานอลที่ได้จากหัวใต้ดินแห้วหมู และสารสกัดที่เกิดจากการแยกส่วน (partition) ของสารสกัดเมทานอลต่อด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ (PEF), เอทิลอะซิเตต (EAF) และสารสกัดเมทานอลส่วนสุดท้ายที่เหลือ (RMF) ตามลำดับ ทำการศึกษาในหนูถีบจักร สายพันธุ์ Swiss albino โดยใช้น้ำมันละหุ่งเหนี่ยวนำให้หนูเกิดอาการท้องร่วง จากนั้นให้สารสกัดที่ได้จากแห้วหมู ขนาด 250 หรือ 500 mg/kgในหนูแต่ละกลุ่ม ใช้ยา Loperamide เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบระยะเวลาในการเริ่มมีอาการท้องร่วง ของหนูกลุ่มควบคุม, กลุ่มได้รับยามาตรฐาน Loperamide, กลุ่มได้รับสารสกัดเมทานอลขนาด 250 และ 500 mg/kg,กลุ่มที่ได้รับ PEF 250 mg/kg, EAF 250 mg/kg และ RMF 250 mg/kg เท่ากับ 0.82±0.17, 2.88±0.44**, 1.43±0.11***, 2.31±0.33**, 1.65±0.29***, 0.85±0.1, และ 2.33±0.62***ชั่วโมง ตามลำดับ จำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระใน 4 ชั่วโมง เท่ากับ 12.00±1.52, 2.20±0.80*, 5.8±0.74**, 4.60±1.03**, 5.40±0.93**, 11.60±0.75 และ 2.00±0.71* ตามลำดับ จำนวนครั้งที่ถ่ายเหลวใน 4 ชั่วโมง เท่ากับ 7.80±0.80, 0.8±0.37*, 3.00±0.55**, 1.8±0.37*, 2.2±0.58*, 8.0±0.71 และ 1.0±0.32* ตามลำดับ (*P<0.001, **P<0.01,  ***P<0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม) สรุปได้ว่าสารสกัดเมทานอล สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ และสารสกัดเมทานอลส่วนสุดท้ายจากห้วแห้วหมู มีผลลดความถี่ของการถ่ายอุจจาระ และทำให้ระยะเวลาในการเริ่มเกิดอาการท้องร่วงเกิดช้าลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยส่วนสกัดที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดคือสารสกัดเมทานอลส่วนสุดท้ายที่เหลือจากการพาร์ทิชัน (RMF)  ส่วนสารสกัดเอทิลอะซิเตตไม่ออกฤทธิ์ต้านอาการท้องร่วง (Uddin, et al., 2006)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดน้ำ,สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอล ของหัวใต้ดินแห้วหมู โดยใช้วิธี microdilution method ใช้ยา ampicillin เป็นสารมาตรฐาน ทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียจำนวน 5 ชนิด ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ได้แก่ Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Salmonella typhimurium, Salmonella enteritidis และ Enterococcus faecalis ผลการทดสอบพบว่าสารสกัด TOF ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. aureus และ S. enteritidis ได้ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) เท่ากับ 0.5mg/ml ต่อเชื้อทั้งสองชนิด นอกจากนี้ยังยับยั้งเชื้อ S.  typhimurium ได้ดีที่สุด โดยมีค่า MIC เท่ากับ 1mg/ml สารสกัดเอทิลอะซิเตต มีค่า MIC ต่อเชื้อ S.  aureus และ E. faecalis เท่ากับ 0.5mg/ml ต่อเชื้อทั้งสองชนิด สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัด TOF มีค่า MIC ต่อเชื้อ E.  coli  เท่ากับ 5mg/ml (ยา ampicillin มีค่า MIC ต่อเชื้อ S. aureus, E. coli, S. typhimurium, S. enteritidis และE.  faecalis เท่ากับ 0.0015, 0.006, 0.0039, 0.0019 และ 0.0025 mg/ml ตามลำดับ) (Kilani, et al., 2008)

-ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ของสารสกัดน้ำ, สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอลของหัวใต้ดินแห้วหมู โดยศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูล superoxide anion radical ด้วยวิธีการยับยั้งการรีดักชันของ NBT (nitroblue tetrazolium) โดยอาศัยหลักการที่อนุมูล superoxide anion ซึ่งเป็น reducing agents จะไป reduce NBT dye ซึ่งเป็นสีชนิดหนึ่ง จากสีเหลือง ให้เป็น formazan blue ซึ่งมีสีน้ำเงิน หากสารทดสอบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระก็จะสามารถยับยั้งการรีดักชันของ NBT ได้ การทดสอบใช้ quercetin เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF) และสารสกัดเอทิลอะซิเตต ออกฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด และออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน โดยสามารถกำจัดอนุมูล superoxide anion ได้เท่ากับ 89.8±4% (IC50 เท่ากับ 68 µg/ml) และ 86±2.1% (IC50 เท่ากับ 90 µg/ml) ตามลำดับ (สารมาตรฐาน quercitin กำจัดอนุมูล superoxide anion ได้เท่ากับ 64.96±2.2% (IC50 เท่ากับ 360 µg/ml) (Kilani, et al., 2008)

-ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในหลอดทดลอง ของสารสกัดน้ำ, สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอล ของหัวใต้ดินแห้วหมู โดยใช้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว leukaemia cell line L1210 ที่ได้จากหนู ตรวจสอบโดยใช้วิธี MTT assay ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตตออกฤทธิ์ดีที่สุด ที่ความเข้มข้น 800µg/ml สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยทำให้เซลล์ตาย ได้ 78.92% (ค่า IC50 เท่ากับ 200 µg/ml) สารสกัด TOF ความเข้มข้น 50-800 µg/ml สามารถลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ 0.61-63.84% (ค่า IC50 เท่ากับ 240 µg/ml) (Kilani, et al., 2008)

-ผลการเหนี่ยวนำขบวนการ apoptosis ของเซลล์ การเหนี่ยวนำขบวนการ apoptosis ของเซลล์ เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง โดยใช้สารสกัดน้ำ,สารสกัดที่มีโอลิโกเมอร์ฟลาโนอยด์สูง (TOF), สารสกัดเอทิลอะซิเตต และสารสกัดเมทานอล ของหัวใต้ดินแห้วหมู  ทดสอบโดยดูผลของการทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว leukaemia cell line L1210 ที่ได้จากหนู เกิดการแตกหักเสียหาย ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิด apoptosis ซึ่งเป็นขบวนการในการกำจัดเซลล์ผิดปกติ และเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย ผลการทดสอบพบว่าเมื่อให้สารสกัดสัมผัสกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นเวลา 24 ชั่วโมง สารสกัดเอทิลอะซิเตตที่ความเข้มข้น 800 µg/ml ทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดการแตกหักเสียหายได้สูงสุด รองลงมาได้แก่สารสกัด TOF ความเข้มข้น 800 และ 400 µg/ml  ตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการนำสารสกัดทั้งสองชนิดไปพัฒนาเป็นยาป้องกัน หรือกำจัดมะเร็งได้ต่อไป (Kilani, et al., 2008)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอล ที่ได้จากทั้งต้นแห้วหมู ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบโดยใช้วิธี agar disc diffusion method สำหรับสารสกัดน้ำ และใช้วิธี agar well diffusion method สำหรับสารสกัดจากเอทานอล ใช้ยา chloramphenicol และยา amphotericin เป็นสารมาตรฐาน สำหรับเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ตามลำดับ ทดสอบกับเชื้อจำนวน 15 ชนิด ได้แก่ Alcaligenes faecalis, Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Enterobacter aerogenes, Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis, Proteus vulgaris, Pseudomonas aeruginosa, Pseudomonas pseudoalcaligenes, Salmonella typhimurium, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Staphylococcus subfava  และ Candida tropicalis ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำไม่พบ zone of inhibition ต่อเชื้อทุกชนิด แสดงว่าไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ ส่วนสารสกัดเอทานอลมีผลต่อการยับยั้งได้ร้อยละ 70 ของจำนวนเชื้อที่ใช้ทดสอบ โดยมีค่า zone of inhibition ในการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 12, 18, 12, 11, 0, 15, 15, 11, 0, 11, 0, 13, 14, 13  และ 0 mm ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน chloramphenicol มีค่าเท่ากับ 17, 17, 16, 20, 22, 32, 18, 21, 10, 28, 25, 20, 19, 18 และ 0 mm ตามลำดับ (Parekh, et al., 2006)

โดยสรุปสารสกัดเอทานอลจากแห้วหมูออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus ได้ดีที่สุด (เชื้อนี้สามารถก่อโรคฉวยโอกาสได้ในผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่โรงพยาบาล เครื่องมือแพทย์ สามารถก่อโรคอาหารเป็นพิษ และตาอักเสบได้) รองลงมาได้แก่เชื้อ Klebsiella pneumonia (ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น) Proteus mirabilis (ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่โรงพยาบาล) และเชื้อ Staphylococcus epidermidis (ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่โรงพยาบาล ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเด็กแรกเกิด หรือในผู้ที่ใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์ การรับประทานสารสกัดแห้วหมูด้วยน้ำร้อนของตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูก 42 คน แท้งโดยจะทำให้ก้อนเนื้อหายไป ไม่มีการตกเลือดและช่วยลดอาการปวด ส่วนการป้อนหนูแรทที่ตั้งท้องด้วยสารสกัดด้วยเอทานอล พบว่าไม่มีผลยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน ระยะเวลาการตั้งครรภ์ และช่วงเวลาในการคลอดของหนู แต่มีผลทำให้มีการสูญเสียลูกหนูมากขึ้น โดยทำให้ลูกหนูฝ่อหายไปหรือคลอดออกมาตาย

-การศึกษาความเป็นพิษจากสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่ว่าจะให้โดยการกรอกทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษใด ๆ

-การศึกษาความเป็นพิษจากสารสกัดจากส่วนหัวของหญ้าแห้วหมูด้วยอีเทอร์ที่ทำให้หนูถีบจักรตายมากกว่าครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 2 กรัม/น้ำหนักกิโลกรัม

การใช้ประโยชน์:

-ตำรับยายาอายุวัฒนะ ใช้หัวนำมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาเคี่ยวกิน หรืออีกวิธีเป็นสูตรของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งในสูตรจะประกอบไปด้วย หัวแห้วหมู 10 หัว, ดีปลี 10 หัว และพริกไทยดำ 10 เม็ด นำทั้งหมดมาบดให้เป็นผงแล้วใช้ชงกับน้ำผึ้งดื่มก่อนนอน ตามตำรานี้กล่าวว่า ให้ทำเฉพาะวันเสาร์และรับประทานให้หมดในวันเดียว ไม่ให้เหลือทิ้งไว้ แล้วเสาร์ต่อไปค่อยทำใหม่ ผู้ใช้สูตรยาตำรับนี้ร่างกายจะปราศจากโรคภัยและมีอายุยืนยาว 

-โรคไข้เลือดออก มีอาการอาเจียนและมีไข้สูง หรือหากมีอาการไข้ขึ้นสูงและมีอาการไอ กินยาแล้วไม่หายเนื่องจากพิษกระจายถึงกระแสเลือด โดยเฉพาะไข้หวัด 2009 หากไปพบแพทย์ไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งวิธีแก้ในเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ก็คือ ใช้หัวแห้วหมูตากแห้งที่บดเป็นผงแล้ว 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเหล้า 40 ดีกรีในปริมาณ 3/4 ของแก้วน้ำ แล้วกรองเอาแต่เหล้ามาดื่ม และใช้ผ้าคลุมตัวไว้เพื่อให้เกิดความร้อนจะได้ช่วยขับเหงื่อ ทำให้เกิดอาการอาเจียนขับพิษออกมาให้หมด แล้วไปพบแพทย์เพื่อรักษาต่อ

-โรคบิด ใช้หัวนำมาบดผสมกับขิงแก่และน้ำผึ้งแท้ แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนไว้รับประทานแก้อาการ 

-โรคบาดทะยักใช้หัวแห้วหมู ต้นผักบุ้ง และสารส้ม นำมาโขลกรวมกัน แล้วผสมยามหานิล แล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน ส่วนกากนำมาใช้พอกบริเวณบาดทะยัก 

-อาการปวดศีรษะ รวมไปถึงอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับ ใช้หัวแห้วหมูที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว 1 ถ้วยตวง และต้นอ้อยที่จัดเป็นปล้องเล็ก ๆ 1 ต้น แล้วใส่ลงไปต้มในหม้อกับน้ำฝน 4 ถ้วยตวง เคี่ยวจนน้ำหวานเล็กน้อย ขมเยอะ เสร็จแล้วก็เอาลง รอให้อุ่น แล้วนำมาตักกินก่อนอาหารมื้อละ 1 ถ้วย พอวันถัดไปก็ให้นำมาอุ่นทุกเช้าก่อนนำมาดื่ม 

-โรคความดันโลหิต ใช้หัวแห้วหมูนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม ในอัตราส่วนหัว 1 ส่วน ต่อน้ำร้อน 10 ส่วน

-อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หรือเป็นโรคผอมแห้งแรงน้อย ใช้หัวแห้วหมู พริกไทยอ่อน น้ำผึ้ง และเนย ในปริมาณอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาผสมรวมกันใส่ลงไปในกระทะ ตั้งไฟกวนให้เป็นตังเม แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพุทรากินก่อนนอนทุกคืน ช่วยบำรุงกำลังและเป็นยาอายุวัฒนะ

-อาการแน่นหน้าอก จุกอก ลมสลักอก รับประทานอาหารไม่ได้ ใช้ หัวแห้วหมู เถาบอระเพ็ด ขิงแห้ง ใบหนาด ดอกดีปลี พริกไทย ผักคราดหัวแหวน และใบมะตูม น้ำหนักอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดให้ผงละเอียด นำมาใช้ชงกับน้ำต้มสุกหรือใช้ผสมกับสุราดื่มเช้าเย็น

-อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการไม่ย่อย ใช้หัวแห้งประมาณ 1 กำมือ นำมาทุบให้แตกแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว นำมาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน

-อาการปวดท้อง ใช้หัวแห้วหมูประมาณ 6-8 หัว นำมาบดผสมกับขิงแก่ประมาณ 4-5 แว่น ผสมกับน้ำผึ้งใช้เป็นยารับประทาน 

-อาการปัสสาวะขัด รใช้หัวแห้วหมูสดนำมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปตากให้แห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทาน

-อาการผดผื่นคัน ใช้หัวที่บดละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันมะพร้าวเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณที่คัน อาการจะทุเลาลงและหายไปในที่สุด 

-อาการแผลสดและห้ามเลือด ใช้ต้นและใบนำมาโขลกแล้วใส่น้ำปูนใสเล็กน้อย เสร็จแล้วเอามาพอกหรือกดที่แผลเพื่อห้ามเลือด 

-อาการแผลเรื้อรัง ใช้ต้นและใบประมาณ 5-10 ต้น นำมาหั่นตำให้ละเอียดแล้วใช้พอกแผลหัวสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแก้อาการคันอันเนื่องมาจากโรคผิวหนังได้ 

-ช่วยลดไขมัน ใช้แห้วหมูทั้ง 5 ส่วน ตั้งแต่รากจนถึงต้น จำนวนตามต้องการ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั่วไฟให้เหลือง แล้วใช้ชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นชา

-ช่วยลดความอ้วน ทำให้น้ำหนักตัวลดลง ใช้หัวแห้วหมู 5 บาท, บอระเพ็ด 4 บาท, กระชาย 5 บาท, เหงือกปลาหมอ 10 บาท, พริกไทยอ่อน 10 บาท, และมะตูมอ่อนแห้ง 4 บาท นำมาบดให้เป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเม็ดพุทรา ใช้รับประทานก่อนนอนวันละ 1 เม็ด อีกทั้งยังช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงและช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ

-ช่วยทำให้ดวงตาแข็งแรง ป้องกันตามัว ตาไม่แก่เร็ว ทำให้ตาใสไม่ขุ่นมัว มองเห็นได้อย่างชัดเจน รใช้หัวแห้วหมูสดนำมาปอกเปลือกออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด ใช้รับประทานทุกวันตอนเช้า วันละ 2-3 หัว 

-ช่วยทำให้ฟันแน่นแข็งแรงใช้หัวที่ล้างสะอาดแล้วนำมาทุบให้แหลกแล้วนำไปคั่วไฟ ใช้ชงกับน้ำเป็นชาดื่ม 

-ช่วยดูดหนองจากฝีมีหัวหนอง ใช้หัวสดนำมาตำละเอียดเป็นยาพอกช่วยดูดหนองจากฝีมีหัวหนอง หรืออีกสูตรใช้หัวแห้วหมูและเกลือตัวผู้พอประมาณ พริกไทย 7-8 เม็ด และข้าวเหนียวที่คั่วให้เหลืองตำละเอียดแล้วประมาณ 3 หยิบมือ นำทั้งหมดมาผสมกันและคลุกผสมกับน้ำปูนใส แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหัวฝี ตัวยาจะช่วยดูดหนองออกมาจนหมด 

-ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้หัวแห้วหมูประมาณ 6-8 หัว นำมาบดผสมกับขิงแก่ประมาณ 4-5 แว่น ผสมกับน้ำผึ้ง ใช้ปั้นเป็นยาลูกกลอนไว้รับประทาน

-ช่วยลดไข้ แก้ไข้ ใช้ทั้งต้นและหัว นำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วต้มเป็นน้ำดื่ม

-หัว มีการนำมาใช้ผสมใยลูกหมากแห้งหรือแป้งเหล้าในการทำเป็นแอลกอฮอล์ เพราะมีคุณสมบัติทำให้เกิดแก๊สเร็ว

-น้ำมันหอมระเหยในหัวแห้วหมู มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียสแต๊ฟ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝี เจ็บคอ และอาการท้องเสีย

-น้ำมันหอมระเหยจากหัวแห้วหมู มีฤทธิ์ช่วยลดความเจ็บ ช่วยผ่อนคลายอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบ

-แพทย์กรีกโบราณใช้แห้วหมูเป็นยากระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต

-ตามตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย ใช้แห้วหมูเพื่อรักษาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร 

-ชาวเปอร์เซียและอาหรับ ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้ปวดท้อง โดยใช้หัวแห้วหมูตำกับขิง แล้วรับประทานกับน้ำผึ้ง และใช้เป็นยาแก้บิด บางท้องที่ใช้หัวโขลกพอกที่นม เป็นยาช่วยให้น้ำนมมาก และกล่าวว่าถ้ารับประทานมากเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ถ้าใช้ภายนอกเป็นยาพอกดูดพิษ

-ในทวีปแอฟริกาใช้หัวรับประทานเป็นอาหารในช่วงขาดแคลน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง