Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ตานหม่อน (ตาลขี้นก)

ชื่อท้องถิ่น: ข้ามักหลอด ช้ามักหลอด (หนองคาย)/ ลีกวนยู (กรุงเทพฯ)/ ตานหม่น (นครศรีธรรมราช)/ ตานค้อน (สุราษฎร์ธานี)

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Vernonia elliptica DC.

ชื่อวงศ์: ASTERACEAE-COMPOSITAE

สกุล: Vernonia 

สปีชีส์: elliptica

ชื่อพ้อง: 

-Cacalia elaeagnifolia Kuntze

-Strobocalyx elaeagnifolia (DC.) Sch.Bip.

-Strobocalyx elliptica (DC.) Sch.Bip.

-Vernonia elaeagnifolia DC.

-Vernonia elliptica

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ตานหม่อน thai-herbs.thdata.co | ตานหม่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นตานหม่อน เป็นไม้เถาเลื้อย พาดพันกับต้นไม้อื่นและพยุงตัวขึ้นไป เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น ลำต้นแตกกิ่งก้านยาวเรียว แตกลำได้ใหม่จากลำต้นที่ทอดไปตามพื้นดิน


ตานหม่อน thai-herbs.thdata.co | ตานหม่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ตานหม่อน thai-herbs.thdata.co | ตานหม่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือบางครั้งเป็นหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบหนาคล้ายหนัง หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีเงินหรือสีขาวนวล


ตานหม่อน thai-herbs.thdata.co | ตานหม่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ตานหม่อน thai-herbs.thdata.co | ตานหม่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบหรือที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีขาวนวล กลีบดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ด้านนอกมีขน

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลมีสัน 5 สัน เมล็ดล่อนเป็นสีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย

สภาพนิเวศวิทยา: พบตามชายป่าผสมผลัดใบ ป่าดงดิบแล้งทั่วไป และเป็นพรรณไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้ดี

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

ตานหม่อน thai-herbs.thdata.co | ตานหม่อน สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และวการปักชำต้น

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ใช้ทั้งต้น รสเบื่อเย็น สรรพคุณ แก้พิษตานซาง บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื่น คุมธาตุ ขับไส้เดือนในท้อง

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ส่วนเหนือดิน พบสารกลุ่ม sesquiterpene lactone ได้แก่ glaucolides A และ B และอนุพันธ์กลุ่ม acetate, สารอื่นๆที่พบ เช่น lupeol, taraxasterol, sitosterol, stigmasterol

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย การศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเอทานอลและน้ำ ของลำต้นตานหม่อน ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์ คือ S.aureus, B.subtilis, E.coli, Sh.disenteriae, S.typhi และ C.albicans โดยใช้เทคนิค disk diffusion method ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลของตานหม่อน สามารถยับยั้งเชื้อ S.aureus, B.subtilisและ C.albicansได้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่อการยับยั้งเชื้อ (diameter of inhibition zone) เท่ากับ 7-12, 7-12 และ >12-19 มิลลิเมตร ตามลำดับ (Avirutnant and Pongpan, et al., 1983)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อรา การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก ของสารสกัดน้ำ และแอลกอฮอล์ ของเนื้อไม้ตานหม่อน ต่อเชื้อรา 3 ชนิดคือ Trichophyton rubrum, Epidermophyton floccosum  และMicrosporum gypseum ผลการทดสอบพบว่าเฉพาะสารสกัดแอลกอฮอล์จากเนื้อไม้ตานหม่อนสามารถยับยั้งเชื้อราได้หนึ่งชนิด คือ M.gypseum (วันดี และแม้นสรวง, 2536)

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ยอดอ่อนตานหม่อนสามารถนำมาต้ม ลวก หรือนึ่ง รับประทานเป็นผักกับน้ำพริกหรือลาบ

-ยาห้ามเลือด ใช้ใบสดนำมาขยี้ให้ช้ำ ๆ หรือตำพอหยาบ ๆ แล้วนำมาปิดแผลในขณะที่เลือดออก เลือดจะหยุดไหลทันที



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง