Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ระกำ (สละ)

ชื่อท้องถิ่น: -

ชื่อสามัญ: Salacca

ชื่อวิทยาศาสตร์: Salacca wallichiana Mart.

ชื่อวงศ์: ARECACEAE

สกุล: Salacca 

สปีชีส์: wallichiana

ชื่อพ้อง: 

-Calamus zalacca Roxb.

-Salacca beccarii Hook.f.

-Salacca macrostachya Griff.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ระกำ thai-herbs.thdata.co | ระกำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นระกำ เป็นต้นหรือเหง้าเตี้ย มียอดแตกเป็นกอ ออกผลรวมกันเป็นกระจุกแบบทะลาย โดยหนึ่งทะลายจะประมาณ 2-5 กระปุก ลำต้นจะมีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว ใบมีลักษณะยาวเป็นทางประมาณ 2-3 เมตร

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบกว้าง ทางใบยาว ใบมีสีเขียวเข้ม ปลายใบ และฐานใบเรียว ก้านใบมีหนามแหลมคม และแข็งมาก ก้านใบเรียงเวียนจากโคนต้นจนถึงยอด ใบ และก้านใบมีความยาวประมาณ 3-4 เมตร ปลายใบลู่โค้งลง


ระกำ thai-herbs.thdata.co | ระกำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

 ดอก ออกเป็นช่อ แยกเพศ แยกต้น ช่อดอกแทงออกจากซอกใบ เรียวยาว มีก้านช่อดอกย่อยแยกออกจากแกนช่อดอก มีขนนุ่มสั้นสีชมพูปกคลุม และมีใบประดับหุ้มที่ช่อดอก เมื่อช่อดอกโตเต็มที่ก้านหุ้มจะแตกออกมองเห็นช่อดอก ดอกบานจากโคนไปสู่ปลายช่อดอก ดอกระกำมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้ และดอกสมบูรณ์ ช่อดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก ไม่มีรังไข่ มีเกสรตัวผู้ประมาณ 6 อัน ในกลีบในที่แข็งเหนียว 3 อัน ส่วนดอกสมบูรณ์มีเกสรตัวผู้ 6 อัน และรังไข่ 1-3 อัน รังไข่ที่เจริญเป็นผลแล้ว ขนที่ปกคลุมผลจะกลายเป็นหนามแหลม เปราะ อยู่บริเวณปลายเกล็ดของเปลือก


ระกำ thai-herbs.thdata.co | ระกำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย  ระกำ thai-herbs.thdata.co | ระกำ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ปกคลุมด้วยเปลือกแข็งหยาบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ แต่บาง มีเกล็ดเล็กๆเรียงซ้อนกันปกคลุมทั่วผล เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีส้มหรือสีแดง ด้านในประกอบด้วยเนื้อผลอ่อนนุ่ม เป็นกลีบหุ้มผล 1-3 กลีบ เนื้อที่ดิบมีรสฝาด และเปรี้ยว เมื่อสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อนุ่ม บาง ฉ่ำน้ำ และมีกลิ่นหอม มีเมล็ดด้านในประมาณ 1-3 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างใหญ่

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เอเชีย

การกระจายพันธุ์: จีน ไทย มาเลเชีย พม่า อินโดนีเชีย เวียดนาม และอินเดีย 

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*เนื้อในลูกสุก รสเปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณ แก้ไอ กัดเสมหะ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ผลสุก สามารถนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารได้ อย่างเช่น ต้มยำ, ต้มส้ม, น้ำพริก, ข้าวยำ เป็นต้น

-ผลสุก ใช้รับประทานเป็นผลไม้สดหรือทำเป็นของหวานได้ เช่น ระกำลอยแก้ว น้ำระกำ ระกำแช่อิ่ม เป็นต้น

-ผิวผล นำมาสกัดเป็นน้ำมันระกำ

-ลำต้นไม้ เมื่อลิดเอาหนามออก เนื้อไม้ของระกำอ่อนนุ่มมีความหยุ่น สามารถนำมาใช้ฝาบ้าน จุกขวดน้ำ ทำของเล่นเด็ก เนื่องจากลอยน้ำได้ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง