Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ละหุ่งขาว

ชื่อท้องถิ่น: ละหุ่งแดง มะละหุ่ง (ภาคกลาง)/ มะโห่ง มะโห่งหิน (ภาคเหนือ)/ ปี่มั้ว (จีน)

ชื่อสามัญ: Castor, Castor bean, Castor oil plant

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ricinus communis L.

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Ricinus 

สปีชีส์: communis

ชื่อพ้อง: 

-Cataputia major Ludw.

-Cataputia minor Ludw.

-Croton spinosus L.

-Ricinus africanus Mill.

-Ricinus angulatus Thunb.

-Ricinus armatus Andrews

-Ricinus atropurpureus Pax & K.Hoffm.

-Ricinus badius Rchb.

-Ricinus borboniensis Pax & K.Hoffm.

-Ricinus cambodgensis Benary

-Ricinus communis var. aegyptiaceus (Popova) Moshkin

-Ricinus communis var. americanus Müll.Arg.

-Ricinus communis var. armatus (Andrews) Steud.

-Ricinus communis var. brasiliensis Müll.Arg.

-Ricinus communis var. brevinodis Moshkin

-Ricinus communis var. glaucus Popova & Moshkin

-Ricinus communis f. glaucus (Hoffmanns.) Müll.Arg.

-Ricinus communis var. griseofolius Moshkin

-Ricinus communis var. hybridus (Besser) Müll.Arg.

-Ricinus communis var. indehiscens Moshkin

-Ricinus communis subsp. indicus Popova & Moshkin

-Ricinus communis var. japonicus Popova & Moshkin

-Ricinus communis var. krappa Steud.

-Ricinus communis var. leucocarpus (Bertol.) Müll.Arg.

-Ricinus communis var. macrophyllus Müll.Arg.

-Ricinus communis var. mexicanus (Popova) Moshkin

-Ricinus communis var. microspermus Moshkin

-Ricinus communis var. minor (Mill.) Steud.

-Ricinus communis var. nanus Moshkin

-Ricinus communis var. roseus Popova & Moshkin

-Ricinus communis subsp. ruderalis Popova & Moshkin

-Ricinus communis subsp. sinensis Popova & Moshkin

-Ricinus communis var. spontaneus Popova & Moshkin

-Ricinus communis var. subpurpurascens Müll.Arg.

-Ricinus communis var. undulatus (Besser) Steud.

-Ricinus communis var. violaceocaulis Moshkin

-Ricinus communis var. viridis Popova & Moshkin

-Ricinus communis f. viridis (Willd.) Müll.Arg.

-Ricinus compactus Huber

-Ricinus digitatus Noronha

-Ricinus europaeus T.Nees

-Ricinus giganteus Pax & K.Hoffm.

-Ricinus glaucus Hoffmanns.

-Ricinus hybridus Besser

-Ricinus inermis Mill.

-Ricinus japonicus Thunb.

-Ricinus krappa Steud.

-Ricinus laevis DC.

-Ricinus leucocarpus Bertol.

-Ricinus lividus Jacq.

-Ricinus macrophyllus Bertol.

-Ricinus medicus Forssk.

-Ricinus medius J.F.Gmel.

-Ricinus megalosperma Delile

-Ricinus metallicus Pax & K.Hoffm.

-Ricinus microcarpus Popova

-Ricinus minor Mill.

-Ricinus nanus Balb.

-Ricinus obermannii Groenland

-Ricinus peltatus Noronha

-Ricinus perennis Steud.

-Ricinus persicus Popova

-Ricinus purpurascens Bertol.

-Ricinus ruber Miq.

-Ricinus rugosus Mill.

-Ricinus rutilans Müll.Arg.

-Ricinus sanguineus Groenland

-Ricinus scaber Bertol. ex Moris

-Ricinus speciosus Burm.f.

-Ricinus spectabilis Blume

-Ricinus tunisensis Desf.

-Ricinus undulatus Besser

-Ricinus urens Mill.

-Ricinus viridis Willd.

-Ricinus vulgaris Garsault

-Ricinus vulgaris Mill.

-Ricinus zanzibarinus Popova

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ละหุ่งขาว thai-herbs.thdata.co | ละหุ่งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นละหุ่งขาว เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 6 เมตร ลำต้นและก้านใบจะเป็นสีเขียว ยอดอ่อนและช่อดอกเป็นนวลขาว 


ละหุ่งขาว thai-herbs.thdata.co | ละหุ่งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร รูปฝ่ามือ มี 6-11 แฉก ปลายแฉกแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ขนาดไม่เท่ากัน ปลายจักเป็นต่อม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร โคนใบแบบก้นปิด เส้นแขนงใบเรียงจรดปลายจักที่มีขนาดใหญ่ ก้านใบยาว 10-30 เซนติเมตร มีต่อมที่ปลายก้าน หูใบเชื่อมติดกันรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ติดตรงข้ามใบ โอบรอบกิ่ง ร่วงง่าย 


ละหุ่งขาว thai-herbs.thdata.co | ละหุ่งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ดอกออกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่งหรือที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ บางครั้งแยกแขนง  มีทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่ช่วงบน ดอกเพศเมียอยู่ช่วงล่าง ก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ในดอกเพศเมียเรียวแคบกว่า เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็นกลุ่มๆ แตกแขนง รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด มีเกล็ดคล้ายหนามปกคลุม ก้านเกสร 3 อัน ยาวเท่าๆ กลีบเลี้ยงบางแยกเป็น 3-5 แฉก ติดทน ไม่มีกลีบดอก ก้านดอกยาว ไม่มีจานฐานดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายเป็น 5 หยัก รูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ร่วงง่าย 


ละหุ่งขาว thai-herbs.thdata.co | ละหุ่งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ผล ลักษณะผลเป็นผลแห้งแบบแคปซูล ทรงรี ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มี 3 พู รูปไข่ สีเขียว ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวมีขนคล้ายหนามอ่อน ทั้งผล คล้ายผลเงาะ เมล็ดทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว คล้ายตัวเห็บ เนื้อในสีขาว เมล็ดมีพิษ มีน้ำมัน

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: แอฟริกาตะวันออก

การกระจายพันธุ์: -

ละหุ่งขาว thai-herbs.thdata.co | ละหุ่งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*น้ำมัน รสมันเอียน สรรพคุณ ระบายอุจจาระเด็กได้ดี 

*เมล็ด เป็นยาอันตราย รับประทาน 2-3 เมล็ดอาจตายได้  

*ใบ รสจืดขื่น สรรพคุณ แก้ช้ำรั่ว ขับน้ำนม ขับเลือด ขับลม แก้เลือดลมพิการ 

*ราก (สุมไฟเป็นถ่าน) รสจืด สรรพคุณ แก้ไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมานด้วย 

องค์ประกอบทางเคมี: 

ละหุ่งขาว thai-herbs.thdata.co | ละหุ่งขาว สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

-เมล็ด พบน้ำมันระเหยยาก (fixed oil) ประมาณ 45-55% โปรตีน 15-20% ในน้ำมันมีองค์ประกอบสำคัญ คือ triricinoleoylglycerol ซึ่งสามารถถูก hydrolysed บริเวณลำไส้เล็กโดยน้ำย่อย lipase จากตับอ่อน ได้เป็น ricinoleic (hydroxylated C18 fatty acid) คิดเป็นประมาณ 90% ของกรดไขมันทั้งหมด ที่เหลือเป็น linoleic, oleic, stearic เล็กน้อย

-สารที่ทำให้เกิดพิษในส่วนต่างๆของละหุ่ง เช่น ในใบ ลำต้น และเมล็ด พบ Potassium nitratc, Hydrocyanin acid , Ricin และ Ricinus Communis Agglutinin (RCA) เป็นต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

-ฤทธิ์รักษาอาการเข่าอักเสบ การศึกษาแบบ Randomized, double-blind, comparative clinical study เปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาอาการเข่าอักเสบ (Knee osteoarthritis) ระหว่างน้ำมันละหุ่ง (Castor oil) และยา Diclofenac Sodium ในผู้ป่วยที่มีอาการเข่าอักเสบจำนวน 100 คน (ชาย 32 คน หญิง 68 คน) อายุ 40-90 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน กลุ่มแรกให้รับประทานแคปซูลน้ำมันละหุ่งขนาด 0.9 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง กลุ่มที่สองรับประทานยา Diclofenac ขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ พบว่าน้ำมันละหุ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการเข่าอักเสบได้ไม่แตกต่างจากการใช้ยา Diclofenac อีกทั้งไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ ในกลุ่มที่รักษาด้วยน้ำมันละหุ่ง

-ฤทธิ์ต้านเบาหวาน การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่ง โดยการป้อนสารสกัดครั้งเดียวขนาด 125, 250, 500, 750, 1000และ 2000มก./กก. ให้กลุ่มหนูขาวเพศผู้ปกติและกลุ่มหนูขาวเพศผู้เป็นเบาหวานType1 โดยเทียบกับการป้อนยามาตรฐาน tolbutamide ขนาด 200มก/กก และ 500มก./กก. สำหรับหนูปกติและหนูเบาหวานตามลำดับ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood glucose) ที่เวลา 0, 1, 2, 4, 6 และ 8 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่งขนาด 500มก./กก. มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มากที่สุดและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญที่ชั่วโมงที่ 6 และ 8 ในหนูปกติและชั่วโมงที่ 8ในหนูเบาหวาน ซึ่งสารสกัดรากละหุ่งลดน้ำตาลในเลือดได้เหมือนกับ tolbutamide ในหนูปกติและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่า tolbutamide ในหนูเบาหวาน

-ดำเนินการศึกษาต่อไปโดยป้อนสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่งขนาด 500 มก./กก./วัน (ให้ผลลดน้ำตาลได้สูงสุด) ให้หนูขาวเป็นเบาหวาน Type 1 เป็นเวลา 20วัน พบว่าสารสกัดขนาด 500 มก./กก. ไม่เพียงแต่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดแต่ยังมีผลลดระดับไขมันโดยรวม มีผลต่อการทำหน้าที่ของตับและไต โดยลดระดับ alkaline phosphatase, serum bilirubin, cretinine, serum glutamate oxaloacetate transaminase, serum glutamate pyruvate transaminase, เพิ่มระดับโปรตีนโดยรวมในระยะเวลา 10 และ 20 วัน และมีผลเพิ่มระดับอินซูลินในเซรัมอย่างมีนัยสำคัญในระยะเวลา 20 วัน

การศึกษาทางพิษวิทยา:

-การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันโดยการป้อนสารสกัดเอทานอล 50% จากรากละหุ่งขนาด 2.5, 5.0, 7.5 และ 10.0 ก./กก. ให้หนูขาวไม่เป็นเบาหวาน หลังจากการป้อน 24 และ 72 ชม. พบว่าไม่มีผลต่อระดับ alkaline phosphatase, serum bilirubin, cretinine, serum glutamate oxaloacetate transaminase, serum glutamate pyruvate transaminase และtotal protein เมื่อได้รับสารสกัดทุกขนาดดังกล่าว และพบว่าพฤติกรรมของหนูขาวเป็นปกติในระยะเวลา 1สัปดาห์

-การทดสอบความเป็นพิษของละหุ่งเกิดจาก ไรซิน (ricin) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษสูงมากชนิดหนึ่งในบรรดาอาณาจักรของพืช เนื้อเยื่อในของเมล็ดละหุ่งประกอบด้วยไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หอบหืดในหมู่คนงาน 

-การทดสอบความเป็นพิษของละหุ่งจากลำต้น เมล็ดละหุ่ง พบสาร โปแตสเซียม ไนเตรท (Potassium nitrate) และกรดไฮโดรไซยานิค (Hydrocyanic acid) ขนาดของพิษ ricin ที่ทำให้คนถึงแก่ชีวิตประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณละหุ่ง 8 เมล็ด

-การกินเมล็ดละหุ่งโดยการเคี้ยวและกลืนเข้าไปทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง มีไข้ กระหายน้ำ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ม่านตาขยาย ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจเสียชีวิตในการรักษา อาจเสียชีวิตในวันที่สาม เนื่องจากระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว โดยมีค่า LD50 = 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว

-การได้รับอันตรายจากสารพิษในเมล็ดละหุ่ง ขึ้นอยู่กับขนาดการได้รับและวิธีการ การสัมผัสพิษโดยสามารถแบ่งได้เป็น ส่วนการหายใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย มีไข้ ไอ หายใจลำบาก คลื่นไส้ แน่นหน้าอก ปวดข้อ เหงื่อออกมาก ปอดบวม ตัวเขียวคล้ำ เนื้อตาย เยื่อบุจมูกอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจเสียชีวิตภายใน 36-72 ชั่วโมง เนื่องจากระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว โดยมีค่า LD50 = 3 ไมโครกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดศรีษะ ใช้ใบสดนำมาเผาใช้พอกแก้อาการปวดศีรษะได้ 

-อาการปวดฟัน ใช้รากสดตำเป็นยาพอกเหงือกแก้อาการปวดฟัน

-อาการกระดูกแตกหัก ใช้น้ำมันจากเมล็ดเข้ายากับน้ำมันงา ใช้ทาแก้กระดูกหัก กระดูกแตกได้ 

-อาการปวดบวมหรือปวดตามข้อ ใช้ใบสดนำไปเผาไฟใช้พอกแก้อาการปวดบวมหรือปวดตามข้อได้

-อาการแผลเรื้อรัง ใช้ใบสดนำไปเผาไฟใช้ หรือนำเมล็ดมาตำพอกรักษาแผลเรื้อรังได้ 

-อาการฝี ใช้ใบสดใช้ตำพอกเป็นยารักษาฝีได้

-ลำต้น สามารถนำมาใช้ในการทำเยื่อกระดาษได้

-กากของเมล็ด สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ เพราะอุดมไปด้วยธาตุ N, P, K แต่ไม่เหมาะแก่การนำมาเลี้ยงสัตว์

-น้ำมันละหุ่ง (Castor oil)  ที่ผ่านกรรมวิธีทำให้บริสุทธิ์แล้ว มีกรดริซิโนเลอิก (Ricinoleic Acid) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย มักใช้ในขนาด 15-60 ml. ก่อนการผ่าตัด หรือการฉายรังสีบริเวณทวารหนักหรือปลายลำไส้ใหญ่

-น้ำมันละหุ่ง (Castor oil)  มีกรดไขมัน มีกรดริซิโนเลอิก (Ricinoleic Acid) มีคุณสมบัติเฉพาะตัวสูง ไม่สามารถนำมาใช้แทนน้ำมันพืชชนิดอื่นได้ โดยจะนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเรซิ่น น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเบรกรถยนต์ จาระบี น้ำมันชักเงา น้ำยารักษาหนัง น้ำมันผสมสี หมึกพิมพ์ ใช้ทำสีทาบ้าน สีโป๊วรถ ขี้ผึ้งเทียม พลาสติก เส้นใยเทียม หนังเทียม ฉนวนไฟฟ้า สกี ล้อเครื่องบิน และยังใช้เป็นอาหารสัตว์

-ช่วยป้องกันหรือขับไล่แมลงศัตรูพืชได้ เช่น แมงกะชอน ปลวก หนู ไส้เดือนฝอย โดยปลูกต้นละหุ่งเป็นแนวรอบสวนไร่นาสามารถหรือจะปลูกแบบหมุนเวียนในไร่ก็ได้ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอย



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง