Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: กระท้อนป่า

กระท้อนป่า thai-herbs.thdata.co | กระท้อนป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ชื่อพื้นเมือง: เตียน, ล่อน, สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ, อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตีย,า สะตู (มาเลย์- นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)

ชื่อสามัญ: Santol,

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.

ชื่อวงศ์: MELIACEAE

สกุล: Sandoricum

สปีชีส์: koetjape

ชื่อพ้อง: Sandoricum indicum Cav.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

         ต้นกระท้อนป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 10 - 25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ลำต้นมักเป็นพูพอน เปลือกลำต้น ชั้นนอกเป็นสีน้ำตาลออกชมพู เปลือกในสีชมพู

         ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี สีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีแดง ความกว้าง 6-15 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม หลังใบเป็นคลื่น มีนวลปกคลุม ท้องใบมีเส้นใบนูนเห็นได้ชัด ขอบใบเรียบเป็นคลื่น

         ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอม ยาว 10-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนหนาด้านนอก กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว กลีบบานแยกแผ่ออก จำนวน 5 กลีบ ยาว 1 เซนติเมตรเกสรเพศผู้ 10 อันเชื่อมติดกัน เป็นหลอด

กระท้อนป่า thai-herbs.thdata.co | กระท้อนป่า สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

         ผล รูปทรงกลมแป้น อาจมีจุกผลที่ขั้วหรือไม่มีก็ได้ ผิวมีขนคล้ายกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ผลอ่อนจะมีสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางที่น้อยลง เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว 

         เมล็ด มี 2-5 เมล็ด รูปกลมรี มีเยื้อหุ้มที่เกิดจากเปลือกหุ้มเมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: ป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย ชอบดินร่วนซุย ร่วนปนทราย แดดจัด

ถิ่นกำเนิด: แถบอินโดจีน และเขตร้อนแถบมาเลเซีย ก่อนแพร่ขยายไป อินเดีย อินโดนีเซีย มอริเชียส และฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์: ในอินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย พม่า และไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

        *เปลือกต้น รสเปรี้ยวเย็นฝาด รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้พิษงู

      *ใบ มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด ขับเหงื่อ ต้มน้ำอาบลดไข้

      *ผล รสเปรี้ยวเย็นฝาด ใช้เป็นอาหาร แก้ฝาดสมาน

      *ราก มีรสเปรี้ยวเย็นฝาด ใช้ขับลม เป็นยาธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด ถ้าเอามาสุมเป็นถ่าน รสฝาดเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด แก้บิด ผสมในยามหานิล แก้พิษกาฬ

      *ดอกและผล แก้ท้องเสีย แก้ฝี

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ผล ใช้รับประทานเป็นอาหาร ใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลากชนิด เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ผัด ตำกระท้อน ส่วนอาหารหวานก็เช่น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน หรือใช้กินเป็นผลไม้สดก็ได้เช่นกัน

-ลำต้นใช้ทำเป็นไม้ใช้สอยต่าง ๆ เช่น ทำไม้กระดาน

-กระท้อนเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์เย็น จึงเหมาะกับผู้ที่เกิดในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม ซึ่งธาตุเจ้าเรือนอยู่ในธาตุน้ำ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง