Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: หางนกยูง  (หางนกยูงดอกสีเหลือง, หางนกยูงดอกสีแดง)

ชื่อท้องถิ่น: จำพอ ซำพอ (แม่ฮ่องสอน)/ ขวางยอย (นครราชสีมา)/ ชมพอ ส้มพอ ส้มผ่อ พญาไม้ผุ (ภาคเหนือ)/ นกยูงไทย (ภาคกลาง)/ หนวดแมว (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน, ฉานแม่ฮ่องสอน)/ หางนกยูง (ทั่วไป

ชื่อสามัญ: Barbados Pride, Dwarf poinciana, Flower fence, Paradise Flower, Peacocks crest, Pride of Barbados

ชื่อวิทยาศาสตร์: Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw.

ชื่อวงศ์: FABACEAE-LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE -CAESALPINIACEAE

สกุล:  Caesalpinia 

สปีชีส์: pulcherrima 

ชื่อพ้อง: 

-Caesalpinia hispida (G.Don) D.Dietr.

-Caesalpinia pulcherrima f. flava (F.T.Hubb. & Rehder) H.St.John

-Caesalpinia pulcherrima var. insignis Kuntze

-Poinciana alata Burm.f.

-Poinciana bijuga Burm.f.

-Poinciana hispida G.Don

-Poinciana pulcherrima L.

-Poinciana pulcherrima var. flava F.T.Hubb. & Rehder

-Poinciana pulcherrima f. flava (F.T.Hubb. & Rehder) O.Deg.

-Poinciana pulchra Salisb.

-Radackia amicorum Cham. & Endl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นหางนกยูง จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นแตกกิ่งกานสาขามาก เรือนยอดโปร่งเป็นทรงพุ่มกลม ลำต้นมีขนาดเล็ก กิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่จะเป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งก้านมีหนาม (บางพันธุ์ก็ไม่มีหนาม) ใบ -

ดอก เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ลักษณะเป็นแผง ๆ ออกเรียงสลับ ใบย่อยมีประมาณ 6-12 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ผิวด้านหลังใบมีสีเข้มกว่าด้านท้องใบ

ผล ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกบริเวณซอกใบ ปลายกิ่ง หรือตามส่วนปลายยอดของต้น ดอกย่อยจะมีจำนวนมาก ดอกมีหลายสีแยกไปตามสายพันธุ์ ได้แก่ สีส้ม สีแดงสีแดงประขาว สีชมพู สีชมพูแก่ สีเหลือง กลีบดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบดอกไม่เท่ากันหรือยับย่นเป็นเส้นเส้นลอนสีเหลือง ขอบกลีบดอกเป็นสีเหลือง มีเกสรอยู่กลางดอกเป็นเส้นงอนยาวโผล่พ้นเหนือดอกออกมา ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวมี 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน มีรังไข่เหนือฐานรองดอก ก้านยอดเกสรเพศเมียเป็นสีแดงสดเหมือนก้านชูอับเรณู ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร

เมล็ด ออกผลเป็นฝักแบน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่แล้วจะแตกออก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 8-10 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างกลม

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอเมริกากลาง

การกระจายพันธุ์: พบได้ทั่วไป

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ราก รสร้อนเฝื่อนเล็กน้อย สรรพคุณ ขับโลหิตระดูสตรี แก้วัณโรคชนิดบวม

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-อาการปวดฟันได้ ใช้ดอกหางนกยูงสีเหลืองสามารถนำมาต้มกับน้ำ แล้วใช้อมเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้ 

-ป้องกันแมลงหวี่ ใช้ใบนำมาวางตามห้องหรือใกล้ตัวเพื่อป้องกันแมลงหวี่ หรือใช้ใบแห้งนำมาจุดไฟให้มีควันเพื่อไล่แมลงหวี่ได้

-เมล็ดในฝัก สามารถนำมารับประทานได้ โดยแกะเอาเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป โดยเนื้อในเมล็ดจะมีรสหวานมันเล็กน้อย 

-ดอก สามารถนำมาใช้บูชาพระได้

-นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่ิงจากต้นหางนกยูงไทยมีดอกที่สวยงาม ปลูกได้ในดินทุกชนิดและยังมีความทนทาน ปลูกง่ายและขึ้นง่าย และยังเหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว เพราะหางนกยูงไทยบางสายพันธุ์จะมีหนามและกิ่งก้านเยอะ สามารถปลูกเกาะกลุ่มเป็นแนวได้ดี



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง