Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: จันทน์ชะมด (จันทน์หอม)

ชื่อท้องถิ่น: จันทน์ จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์) จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์หอม(ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ: Kalamet

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mansonia gagei  J.R.Drumm. ex Prain

ชื่อวงศ์:  STERCULIACEAE

สกุล:   Mansonia 

สปีชีส์: gagei

ชื่อพ้อง: Achantia A.Chev.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นจันทน์ชะมด เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีเทาอมขาวเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง กิ่งอ่อนมีขนประปราย 


จันทน์ชะมด thai-herbs.thdata.co | จันทน์ชะมด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับทรงใบรูปรีๆ แกมรูปขอบขนาน หรือรูปรีๆ แกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร โคนใบตัดหรือหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแหลมทู่ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนาแรกๆ มีขนประปราย แต่พอใบแก่ จะเกลี้ยง ใบแห้งออกสีเขียวอ่อน ๆ เส้นใบออกจากจุดโคนใบ 3 เส้น เส้นแขนงใบมี 4-6 คู่ ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ ทางส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ ก้านใบยาว 5-10 มิลลิเมตร มีขนประปรายและจะออกสีคล้ำเมื่อใบแห้ง 


จันทน์ชะมด thai-herbs.thdata.co | จันทน์ชะมด สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก มีขนาดเล็กสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง ช่อยาวประมาณ 15 เซนติเมตร โคนกลีบฐานดอกติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ๆ 5 แฉก ทั้งหมดยาว 10-13 มิลลิเมตร  มีขนแน่นทางด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง กลีบดอกมี 5 กลีบ ไม่ติดกัน ทรงกลีบรูปซ้อนเกลี้ยง ยาว 10-13 มิลลิเมตร  เกสรผู้มี 10 อัน และในจำนวนนี้จะเป็นเกสรผู้เทียมเสีย 5 อัน รังไข่ มี 5 พู รวมเบียดกันอยู่เป็นรูปเหยือกน้ำ มีขนคลุมแน่น แต่ละพูเป็นอิสระแก่กัน และต่างก็มีหลอดท่อรังไข่หนึ่งหลอด ในแต่ละพูมีช่องเดียว และมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย 

ผล ลักษณะเป็นชนิดผลแห้ง มักติดเป็นคู่ ๆ แต่ไม่ติดเป็นเนื้อเดียวกันทรงผลรูปกระสวยเล็ก ๆ กว้าง 5-7 มิลลิเมตร  และยาว 10-15 เซนติเมตร. แต่ละผลมีปีกทรงรูปสามเหลี่ยมติดที่ปลายผลหนึ่งปีก ปีกกว้าง 1-15 ซม. ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร 

สภาพนิเวศวิทยา: เป็นพรรณไม้ป่าดิบแล้ง และชอบขึ้นตามเขาหินปูน ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-400 เมตร

ถิ่นกำเนิด: แทนซาเนียตะวันตกไปจนถึงหิมาลายาตะวันออก ไปจนถึงอินโดจีน

การกระจายพันธุ์: อัสสัม, เบนิน, แคเมอรูน, แอฟริกากลาง, คองโก, หิมาลัยตะวันออก, กานา, ไอวอรีโคสต์, ลาว, ไลบีเรีย, เมียนมาร์, ไนจีเรีย, แทนซาเนีย, ไทย, โตโก

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*แก่น รสขมหอม สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้คลื่นเหียนอาเจียน ทำให้ใจชื่นบาน สดชื่นแจ่มใส ชูกำลังใช้ทำยาหอม

*ต้น มีสรรพคุณ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้บิด ขับโลหิตระดู

*ใบ มีสรรพคุณ บำรุงประสาท แก้ไข้ ขัยพยาธิ ขับลม แก้ปวดท้อง ขับโลหิตระดู

*น้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-เนื้อไม้ กระพี้สีขาว ส่วนแก่น สีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด แข็งเลื่อยไสกบตบแต่งง่ายไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึงและแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป 

-น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นเนื้อไม้ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ 



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง