Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ดีปลี

ชื่อท้องถิ่น: ดีปลีเชือก (ภาคใต้)/ ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง)/ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ

ชื่อสามัญ: Long pepper, Indian long pepper, Javanese long pepper

ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper retrofractum Vahl.

ชื่อวงศ์: PIPERACEAE

สกุล: Piper 

สปีชีส์: retrofractum

ชื่อพ้อง: 

-Amalago antillana Raf.

-Amalago malamiri Raf.

-Chavica arnottiana Miq.

-Chavica chaba Miq.

-Chavica labillardierei Miq.

-Chavica maritima Miq.

-Chavica officinarum Miq.

-Chavica parvifolia (Blanco) Hassk.

-Chavica retrofracta (Vahl) Miq.

-Cubeba chaba (W.Hunter) Miq.

-Piper arnottianum (Miq.) C.DC.

-Piper callosum Opiz

-Piper chaba W.Hunter

-Piper hapnium Buch.-Ham. ex Hook.f.

-Piper longum Blume

-Piper maritimum (Miq.) Blume ex C.DC.

-Piper officinarum (Miq.) C.DC.

-Piper palawanum C.DC.

-Piper parvifolium Blanco

-Piper siriboa B.Heyne

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ดีปลี thai-herbs.thdata.co | ดีปลี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ต้นดีปลี เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ขึ้นเลื้อยพันตันไม้ชนิดอื่น ลำต้นค่อนข้างกลมเรียบ เปราะ หักง่าย บริเวณข้อมีรากสำหรับยึดเกาะ แตกกิ่งก้านมาก 


ดีปลี thai-herbs.thdata.co | ดีปลี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียวสลับตามข้อใบ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวด้านหลังใบเป็นมัน หลังใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย โคนเบี้ยว ปลายแหลม ขอบเรียบ มีเส้นใบออกจากโคน 3-5 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ใบยอดกิ่งไม่มีก้าน ใบและเถามีรสเผ็ดร้อน  


ดีปลี thai-herbs.thdata.co | ดีปลี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

ดอก ออกดอกเป็นช่อตั้งตรงข้ามกับใบ ออกเป็นช่อจากง่ามใบ หรือปลายยอด มีดอกย่อยเรียงกันอัดแน่นบนแกนช่อลักษณะเป็นแท่งกลมยาวทรงกระบอก ปลายเรียวมน ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว สีเขียว เมื่อแก่มีสีเหลืองอมแดง มีขนปกคลุมเล็กน้อย ไม่มีก้านดอกย่อย ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ก้านช่อดอกยาวเท่ากับก้านใบ ช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 2-3 อัน ช่อดอกเพศเมีย ยาว 3-4 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร 

ผล ลักษณะผลสดอัดกันแน่นบนแกนช่อ ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร โคนกว้าง ปลายมน ผิวผลเรียบ ผลย่อยขนาดเล็กจะติดกันเป็นแท่งหลอมรวมกัน แยกจากกันไม่ได้ ผลมีรสเผ็ดร้อน มีสีเขียวเมื่อสุกสีน้ำตาลแกมแดง ผลย่อยมีเมล็ดเดียว เมล็ดมีขนาดเล็กมาก กลมและแข็

สภาพนิเวศวิทยา: -

ถิ่นกำเนิด: จีน (ยูนนาน) และมาเลเซียตอนกลางและตะวันตก

การกระจายพันธุ์: บังกลาเทศ, กัมพูชา, จีนกลางตอนใต้, ลาว, เกาะซุนดา, มาลายา, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก,  หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, เกาะลีวาร์ด

ดีปลี thai-herbs.thdata.co | ดีปลี สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*ดอก รสร้อน สรรพคุณ แก้ปถวีธาตุพิการ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้

*เถา รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง แน่น จุกเสียด ท้องขึ้น อืดเฟ้อ

-พิกัดยา ประกอบด้วย

1.“พิกัดตรีกฏุก” ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน

2.“พิกัดเสมหะผล” ได้แก่ ลูกช้าพลู รากดีปลี รากมะกล่ำเครือ สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้สะอึก แก้เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต แก้ลม

3.“พิกัดเบญจกูล” ได้แก่ ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง สรรพคุณ กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ดีปลี ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย) ตำรับ “ยาหอมอินทจักร์” มีส่วนประกอบของดีปลีกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด

2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ตำรับ “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อตำรับ “ยาประสะกะเพรา” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ตำรับ “ยามันทธาตุ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุไม่ปกติ ตำรับ “ยาวิสัมพยาใหญ่” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ เป็นต้น ตำรับ “ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ เป็นต้น ตำรับ “ยาริดสีดวงมหากาฬ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก 

3.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาประสะไพล” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้รักษาอาการระดูมาไม่สม่าเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจาเดือน ขับน้าคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร ตำรับ “ยาปลูกไฟธาตุ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้กระตุ้นน้านม กระจายเลือดลมในหญิงหลังคลอด ตำรับ “ยาไฟประลัยกัลป์” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับน้าคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ตำรับ “ยาเลือดงาม” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดประจาเดือน ช่วยให้ประจาเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิดตำรับ “ยาสตรีหลังคลอด” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับน้าคาวปลา บารุงเลือด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วในหญิงหลังคลอด 

4.ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ปรากฎตำรับ “ยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาปราบชมพูทวีป” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการหวัดในระยะแรก และอาการที่เกิดจากการแพ้อากาศ

5.ยาบำรุงโลหิต ปรากฎตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บารุงโลหิต

6.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฎตำรับ “ยากษัยเส้น” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตำรับ “ยาสหัศธารา” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ 

7.ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ ปรากฎตำรับ “ยาตรีพิกัด” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ปรับสมดุลธาตุ ตำรับ “ยาเบญจกูล” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บารุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ ตำรับ “ยาปลูกไฟธาตุ” มีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ปลูกไฟธาตุให้บริบูรณ์ ปรับระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น

องค์ประกอบทางเคมี: 

-ผล พบน้ำมันหอมระเหยและอัลคาลอยด์ piperine, piperidine, piplartine, sesamin รากพบ piperlongumine น้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.7% ประกอบด้วย thujene, terpinolene, p-cymene, dihydrocarveol, zingiberine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: 

-ฤทธิ์ลดไขมัน การทดสอบฤทธิ์ต้านการเพิ่มขึ้นของไขมันในหนูเมาส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้อ้วนด้วยอาหารไขมันสูง ทำการทดลองด้วยการให้สารสกัด piperidine alkaloids จากผลดีปลี (ประกอบด้วย piperine, pipernonaline และ dehydropipernonaline) ขนาด 50, 100 และ 300 mg/kg/day ป้อนให้แก่หนูทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่ามีการลดลงของน้ำหนักของหนูทดลอง, เซลล์ไขมัน, คอเลสเตอรอลรวม, low-density lipoprotein (LDL), total lipid, leptin และ lipase  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการลดไขมันสะสมที่ตับ จึงทำให้ร่างกายมีปริมาณไขมันลดลง สามารถทำให้น้ำหนักของหนูทดลองลดลงได้ในขณะที่มีการให้อาหารในปริมาณเท่ากันในทุกวัน (Kim, et al., 2011)

-ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยให้สารสกัดเอทานอลจากผลดีปลีทาที่หูหนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์ Sprague-Dawley ขนาด 1 mg(20 μL) ต่อหูหนู 1 ข้าง ก่อนที่จะกระตุ้นให้หูหนูเกิดการบวมด้วยการทา ethyl-Phenylpropiolate (EPP) ในขนาด 1 mg/20 μLต่อหูหนู 1 ข้าง จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากผลดีปลี สามารถยับยั้งการบวมของใบหูหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งได้แก่ phenylbutazone 1 mg พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการบวมของหูหนูได้ไม่แตกต่างกัน ฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อเหนี่ยวนำให้อุ้งเท้าหนูบวมด้วยการฉีดคาราจีแนน (carrageenan-induced paw edema assay) ผลการทดสอบพบว่าเมื่อป้อนสารสกัดขนาด 1,200 mg/kg เป็นเวลา1 ชั่วโมง ก่อนให้คาราจีแนน สามารถลดการบวมได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่  3 และ 5 (Sireeratawong, et al., 2012)

-ฤทธิ์ระงับปวด ทดสอบฤทธิ์ระงับปวดในหนูถีบจักรเพศผู้สายพันธุ์ ICR โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัวหนูแต่ละกลุ่มจะได้รับสารสกัดเอทานอลจากผลดีปลี ในขนาด 300, 600 และ 1,200 mg/kg ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มควบคุมจะได้รับ 5% Tween80 และกลุ่มอ้างอิงจะได้รับ aspirin (300 mg/kg) และ morphine (10 mg/kg) วิธีทดสอบ Formalin Test แบ่งออกเป็น 2 phase คือ ระยะ early phase จะป้อนสารสกัดแก่หนูก่อน หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จึงฉีด 1% formalin, 20 μL เข้าไปในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณด้านหลังเท้าซ้ายของหนู (หากเป็น morphine จะฉีดเข้าช่องท้องหนูเป็นเวลา 30 นาที ก่อนฉีด formalin) บันทึกระยะเวลาที่หนูยกเท้าขึ้นเลีย ภายในเวลา 5 นาที หลังฉีด formalin,ระยะ late phase จะฉีด formalin หลังป้อนสารสกัดแล้ว 40 นาที หรือหลังจากฉีด morphine แล้ว 10 นาที บันทึกระยะเวลาที่หนูยกเท้าขึ้นเลีย ภายในเวลา 20-30 นาที หลังฉีด formalin ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดดีปลีทุกขนาด สามารถยับยั้งอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยออกฤทธิ์ต่อระยะ late phase ได้ดีกว่าระยะ early phase เช่นเดียวกับยามาตรฐาน aspirin และ morphine (Sireeratawong, et al., 2012)

-ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดจากผลดีปลีด้วย 80% อะซีโตน มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล และ indomethacin โดยมีค่า ED50 เท่ากับ 14 และ 12 มก./กก. ตามลำดับ เมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดผลดีปลี พบว่าประกอบด้วยสารในกลุ่ม amide ได้แก่ piperchabamides A, B, C และ D (1-4) นอกจากนี้ยังพบสารสำคัญอื่นๆ ในดีปลี ได้แก่ piperine (5), piperanine (6), pipernonaline (7), dehydropipernonaline (8), piperlonguminine (9) retrofractamide B (10),  guineensine (11), N-isobutyl-(2E,4E)-octadecadienamide (12) และ   N-isobutyl-(2E,4E,14Z)-eicosatrienamide (13) และ methyl piperate (14) มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนู โดยที่สาร 5-10, 12-14 ในขนาด 25 mg/kg มีนัยสำคัญในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วยเอทานอล สาร 5, 7, 8, 10, 12 และ 13 มีนัยสำคัญในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วย indomethacin เมื่อใช้ในขนาดเดียวกัน (Morikawa, et al., 2004)

-ฤทธิ์ลดอาการวิตกกังวล สกัดสารจากผลดีปลีแล้วนำมาป้อนให้แก่หนูเม้าส์ ในขนาด 300mg/kg ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน ประเมินผลการทำงานต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยการทดสอบด้วยวิธี cage crossing, head dips, swim test, light and dark test เพื่อให้หนูอยู่ในภาวะเครียดต่างๆ และดูพฤติกรรมของหนู ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากดีปลี ทำให้หนูทดลองลดอาการวิตกกังวลลง ในระดับอ่อนมีผลกดระบบประสาทส่วนกลาง และมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน (Sarfaraz, et al., 2014)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อรา สกัดสารจากผลดีปลีแห้งเพื่อหาสารต้านเชื้อรา C. cladosporioides ใช้ไดคลอโรมีเทนเป็นตัวทำละลาย และทำการแยกสารสกัดหยาบ ด้วยโครมาโทกราฟีแผ่นบาง ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดหยาบ โดยวิธี TLC-Bioassay พบว่าสารที่สามารถต้านเชื้อรา อยู่ในช่วง Rf∼0.00-0.33 จะประกอบด้วย piperine และ สารต้านเชื้อราจากช่วง Rf ∼0.40-0.47 จะประกอบด้วย methyl piperate (เนตรนภา, 1998)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเอทานอลที่ได้จากผลดีปลี ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบโดยใช้วิธี growth inhibition method เชื้อจุลชีพที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ เชื้อ Acinetobacter baumannii ATCC 19606 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญของ nasocomial infection หรือการติดเชื้อในโรงพยาบาล ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเด็กแรกเกิด หรือในผู้ที่ใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ เชื้อสามารถเคลื่อนจากบริเวณผิวหนังเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อที่ลึกขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือด และยังเป็นเชื้อที่ดื้อต่อยาหลายชนิดอีกด้วย จึงได้ทดสอบการใช้สารสกัดจากพืชร่วมกับยา novobiocin (ยามีประสิทธิภาพดีในการต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก) ว่าจะสามารถเพิ่มผลการยับยั้งเชื้อให้ดีขึ้นได้หรือไม่ ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลจากผลดีปลี, ยา novobiocin และสารสกัดเอทานอล (250 µg/ml) ร่วมกับยา novobiocin (1/8xMIC) มีค่าการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้เท่ากับ 44.02±1.08, 6.67 และ 49.80±4.19% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการให้สารสกัดเอทานอลเพียงอย่างเดียว พบว่ายับยั้งเชื้อได้ดี แต่เมื่อให้สารสกัดเอทานอลร่วมกับยา novobiocin พบว่าไม่มีผลให้การออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (Phatthalung, et al., 2012)

-ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง การทดสอบความสามารถในการยับยั้งเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง mouse lymphoma cell line L5178Y ในหนูถีบจักร ของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากผลดีปลี 11 ชนิด ได้แก่ pellitorine, pipericine, dehydropipernonaline, pipernonaline, guineensine, brachystamide B, retrofractamide C, dipiperamides F, dipiperamides G, chabamide และ nigramide R พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 28.3, 24.2, 8.9, 17.0, 17.0, 16.4, 13.4, 10.0, 13.9, 11.6 และ 9.3 μM ตามลำดับ (สารมาตรฐาน kahalalide F  ค่า IC50 เท่ากับ 4.3 μM) (Muharini, et al., 2015)

-การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (myeloma) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (WiDr) ในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่แยกได้จากหนู และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้จากคน โดยใช้สารสกัดเอทานอลที่ได้จากดีปลี, ขิง, และสารสกัดผสมระหว่างสารสกัดเอทานอลที่ได้จากขิงกับสารสกัดเอทานอลที่ได้จากดีปลีในอัตราส่วน 1:1 ตรวจสอบโดยวิธี MTT cytotoxic assay ใช้ยา doxorubicin เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าดีปลี, ขิง, สารสกัดผสม และยา doxorubicin มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 36, 28, 55, และ 2µg/ml ตามลำดับ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 158, 74, 64 และ 1µg/ml ตามลำดับ (ค่า IC50 < 1,000 µg/ml ภายหลังสัมผัสสารทดสอบแล้ว 24 ชม.จึงแปลผลว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง)  แสดงว่าสารทดสอบทั้งหมดมีฤทธิ์ต้านมะเร็งทั้งสองชนิด  การศึกษาความสามารถเหนี่ยวนำให้เกิด apoptosis ซึ่งเป็นขบวนการในการกำจัดเซลล์ผิดปกติ และเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย พบว่าทั้งสารสกัดเอทานอลที่ได้ดีจากดีปลี, ขิง และสารสกัดผสม สามารถเหนี่ยวนำขบวนการ apoptosis  โดยการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่าทำให้เซลล์มะเร็งทั้งสองชนิดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ได้แก่ มีขนาดหดเล็กลง เยื่อหุ้มเซลล์ปูดพอง DNA และเซลล์มะเร็งแตกออกเป็นชิ้น (Ekowati, et al., 2012)

-ฤทธิ์ต้านเชื้อเดงกีไวรัส การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อเดงกีไวรัส (Dengue Virus) ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก ของสารสกัดไดคลอโรมีเทน และสารสกัดเอทานอล ที่ได้จากผลดีปลี ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบโดยใช้วิธี MTT method ทำการทดสอบกับเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด African green monkey kidney epithelial cells (vero cell) เชื้อไวรัสที่ทดสอบเป็นเชื้อเดงกีไวรัส Dengue virus type 2 strain 16681 การทดสอบโดยบ่มเพาะเซลล์กับเชื้อไวรัสก่อน หลังจากนั้นจึงใส่สารสกัด (Post treatment) เพื่อดูผลการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสภายในเซลล์ ใช้สารสกัดทั้งสองชนิด ความเข้มข้น 12.5 µg/ml  ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่เกิดพิษต่อเซลล์ ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทน และสารสกัดเอทานอล มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อเดงกีไวรัสภายในเซลล์ โดยมีร้อยละของการยับยั้งเท่ากับ 32.06 และ 53.53% ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ฆ่าเชื้อเดงกีไวรัส ของสารสกัดไดคลอโรมีเทน และสารสกัดเอทานอลที่ได้จากผลดีปลี ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ทดสอบโดยการผสมสารสกัดบ่มกับเชื้อไวรัสโดยตรง จากนั้นจึงตรวจสอบดูการติดเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งแสดงถึงผลการฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง (Inactivation assay) บันทึกผลจากการลดจำนวนกลุ่มเซลล์ที่ติดเชื้อ (Plaque reduction assay) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอล (100 µg/ml) มีร้อยละของการฆ่าเชื้อไวรัสได้เท่ากับ 84.93% ทำให้ไวรัสถูก inactive และเสียความสามารถในการทำให้เซลล์ติดเชื้อ (Klawikkan, et al., 2011)  การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดไดคลอโรมีเทน และสารสกัดเอทานอลที่ได้จากผลดีปลี ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบโดยใช้วิธี MTT method เพื่อหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ครึ่งหนึ่ง  (CC50) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทน และสารสกัดเอทานอล มีค่า CC50 เท่ากับ 156.25 และ 625 µg/ml ตามลำดับ  โดยสรุปสารสกัดเอทานอลในขนาดที่ไม่เกิดพิษต่อเซลล์ สามารถยับยั้งไวรัสเดงกีที่ติดเชื้อแล้วภายในเซลล์ได้ และยังยับยั้งเชื้อก่อนเข้าสู่เซลล์ได้อีกด้วย  (Klawikkan, et al., 2011)

การศึกษาทางพิษวิทยา: 

-การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดผลด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 250 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)

-การศึกษาพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรังของสารสกัดผลดีปลีด้วยน้ำ ในหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย การศึกษาพิษเฉียบพลัน ป้อนสารสกัดดีปลีขนาด 5,000 mg/kg แก่หนูทดลอง (หนูเพศผู้ 5 ตัว,หนูเพศเมีย 5 ตัว) ผลการศึกษาไม่พบการเกิดพิษทั้งในพฤติกรรมทั่วไปของหนู,อัตราการตาย หรืออวัยวะภายใน ไม่พบการเปลี่ยนแปลง การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรัง ป้อนสารสกัดดีปลีทุกวัน ขนาด 300, 600 และ 1,200 mg/kg แก่หนูทดลอง (หนูเพศผู้ 10 ตัว,หนูเพศเมีย 10 ตัว) เป็นระยะเวลา 90 วัน และกลุ่ม satellite group เป็นกลุ่มศึกษาผลย้อนกลับหลังหยุดให้สารสกัดดีปลีในน้ำ โดยให้สารสกัดดีปลีขนาด 1,200 mg/kg/day เป็นระยะเวลา 90 วัน แล้วหยุดให้ แล้วสังเกตอาการต่ออีก 28 วัน ผลการศึกษาพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดดีปลีไม่มีความผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทั้งกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ไม่พบความผิดปกติของอวัยวะ จึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากดีปลีไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรังในหนูเพศผู้ และหนูเพศเมีย (Jaijoy, et al., 2011)

การใช้ประโยชน์:

-อาการไอหรือลดอาการไอ อาการระคายคอจากเสมหะ ใช้ผลแก่แห้งครึ่งผลนำมาฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือเล็กน้อยแล้วใช้กวาดคอหรือใช้จิบบ่อย ๆ

-อาการเจ็บในลำคอ ใช้ดอกดีปลี 3 ดอก ผิวมะนาว 1 ลูก หัวกระเทียม 3 กลีบ และพริกไทยล่อน 3 เม็ด นำทั้งหมดมาตำให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาวและคลุกให้เข้ากัน นำมาปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วใช้อมบ่อย ๆ

-อาการเสียงแหบแห้ง ใช้ผงดีปลีผสมกับสมอไทยอย่างละ 5 กรัมจนเข้ากัน แล้วผสมกับน้ำอุ่นไว้ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง

-อาการคลื่นไส้อาเจียนอันเกิดจากธาตุไม่ปกติ ดใช้ผลดีปลีแก่แห้งประมาณ 1 กำมือ (10-15 ผล) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม 2 ถ้วยแก้วประมาณ 15 นาที แล้วใช้ดื่มแต่น้ำหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ถ้าไม่มีผลให้ใช้เถาต้มแทนก็ได้ 

-อาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ใช้ผลดีปลีแก่แห้งประมาณ 1 กำมือ (10-15 ผล) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม 2 ถ้วยแก้ว ประมาณ 15 นาที แล้วใช้ดื่มแต่น้ำหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ถ้าไม่มีผลให้ใช้เถาต้มแทน หรือจะใช้ดอกแก่นำมาต้มเป็นน้ำดื่มก็ได้

-อาการปวดท้อง ใช้ผลดีปลีแก่แห้งประมาณ 1 กำมือ (10-15 ผล) นำมาต้มเอาน้ำดื่ม 2 ถ้วยแก้วประมาณ 15 นาที แล้วใช้ดื่มแต่น้ำหลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง

เถาดีปลีช่วยแก้อาการปวดฟัน หรือจะใช้ผลนำมาฝนเอาน้ำมาทาบริเวณที่ปวดก็ได้

-ผลอ่อน สามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้

-ยอดอ่อน สามารถนำมาใช้ใส่ในข้าวยำได้

-ผลแก่ สามารถช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้

-ผลแก่ สามารถนำมาใช้ตำน้ำพริกแทนพริกได้ หรือในบางท้องถิ่นก็นำมาใช้แต่งใส่ในผักดองเช่นเดียวกับพริก

-ผลแห้ง มีรสเผ็ดร้อนขม สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องในการประกอบอาหาร ด้วยการนำผลสุกดีปลีมาตากแห้งแล้วใช้ปรุงรสแกงคั่ว หรือแกงเผ็ด เพื่อใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี และยังช่วยปรุงรสปรุงกลิ่นให้อาหารน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้แต่งกลิ่นผักดองได้อีกด้วย

-ผลแห้ง มีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์สามารถฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่วได้ และอาจนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงสูตรธรรมชาติได้

-ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื่น หรือปลูกเพื่อดูผลที่เป็นสีเหลืองจวนสุกก็ได้เช่นกัน




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง