Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: ว่านตีนตะขาบ

ชื่อท้องถิ่น: ว่านตีนตะขาบ พิษตะขาบ

ชื่อสามัญ: Slipper Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia tithymaloides L. subsp. smallii (Millsp.) V.W.Steinm.

ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE

สกุล: Euphorbia

สปีชีส์: tithymaloides 

ชื่อพ้อง:

-Pedilanthus smallii Millsp.

-Pedilanthus tithymaloides subsp. smallii (Millsp.) Dressler

-Tithymalus smallii (Millsp.) Small

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ว่านตีนตะขาบ thai-herbs.thdata.co | ว่านตีนตะขาบ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ต้นว่านตีนตะขาบ เป็นไม้พุ่มล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง สูง 50-80 เซนติเมตร ลำต้นถูกหุ้มด้วยกาบใบสีเขียวเข้ม ทุกส่วนอวบน้ำและมีน้ำยางสีขาวอยู่ภายใน 


ว่านตีนตะขาบ thai-herbs.thdata.co | ว่านตีนตะขาบ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย


ใบ เป็นใบเดี่ยวออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบอวบหนา สีเขียวเข้ม ไม่มีก้านใบ

ดอก ออกยาก (มักไม่ค่อยพบเห็น)

ผล -

สภาพนิเวศวิทยา: พบขึ้นอยู่ทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ถิ่นกำเนิด: ฟอริดาตอนใต้และคิวบาตอนเหนือ

การกระจายพันธุ์: มาลาวี โมซัมบิก

ว่านตีนตะขาบ thai-herbs.thdata.co | ว่านตีนตะขาบ สรรพคุณ สมุนไพร ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยหัวเหง้า

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*รสเมาเย็น สรรพคุณ ถอนพิษสัตว์กัดต่อย แก้ฟกบวม เคล็ดยอก แก้หูเป็นน้ำหนวก

องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -

การศึกษาทางพิษวิทยา: -

การใช้ประโยชน์:

-ตามชนบทจะใช้ต้นและใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูเป็นน้ำหนวก ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก ใช้เพียง 2-3 ครั้งจะแห้งหาย

-อาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก ใช้ต้นและใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า เอาแต่น้ำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอก

-ช่วยถอนพิษตะขาบและพิษแมงป่องได้ ใช้ส่วนกากที่เหลือจากการนำไปใช้แก้ฟกช้ำบวมนำมาพอกถอนพิษตะขาบและพิษแมงป่อง หรือใช้น้ำยางของต้นมาทาบริเวณบาดแผลที่ถูกกัด เมื่อรู้สึกว่ายางเริ่มแห้ง ก็ให้ทาซ้ำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 30 นาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอาการบวมได้ หรือใช้ต้นและใบสดประมาณ 1 ขีด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว 100 ซีซี แล้วนำส่วนผสมที่ได้มาพอกบริเวณบาดแผลทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที

-ตามตำราแพทย์โบราณของจีน ใช้ต้นและใบสดผสมกับเหล้าแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณที่โดนแมลงสัตว์กัดต่อย หรือมีอาการฟกช้ำ บวม ยอก เคล็ด หรือนำกากที่เหลือพอกบริเวณที่เกิดอาการ

-นิยมนำมาใส่ลงในกระถางไว้ดูเพื่อความสวยงาม โดยคนจีนจะนิยมปลูกกันมากตามบ้าน และตามสวนยาจีนทั่วไป ในบ้านเราก็พบได้ง่ายเช่นกัน



ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง