Select your language TH EN
เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ  thai-herbs.thdata.co thdata.co

อ่านบทความอัตโนมัติ



ชื่อไทย: แสมทะเล

ชื่อท้องถิ่น: ปีปีดำ (ภูเก็ต), แสมขาว พีพีเล

ชื่อสามัญ: -

ชื่อวิทยาศาสตร์: Avicennia marina (Forsk.) Vierh.

ชื่อวงศ์: AVICENNIACEAE

สกุล: Avicennia 

สปีชีส์: marina

ชื่อพ้อง: -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ต้นแสมทะเล ไม้ต้นขนาดเล็กเป็นพุ่ม สูงประมาณ 5-8 เมตร ส่วนใหญ่มีสองลำต้น หรือมากกว่า ไม่มีพูพอน ทรงพุ่มโปร่ง มีรากหายใจคล้ายดินสอ ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร เหนือผิวดิน เปลือกเรียบเป็นมัน สีขาวอมเทา หรือขาวอมชมพู ต้นแก่มากเปลือกจะหลุดออกเป็นเกล็ดบางๆ คล้าย แผ่นกระดาษ และผิวของเปลือกใหม่จะมีสีเขียว

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 1.5-4 ซม. ยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงมนเล็กน้อยโคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ม้วนเข้าหากันทางด้านท้องใบ มีลักษณะคล้ายหลอดกลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ผิวใบด้านล่างขาวอมเทา หรือขาวมีนวล ก้านใบยาวประมาณ 0.4-1.4 เซนติเมตร

ดอก ออกเอนช่อที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 1-5 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 8-14 ดอก ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุก ก้านดอกยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร กลีบเลื้ยง 5 กลีบ ติดคงทน กลีบคอก 4 กลีบ รูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกัน สีส้มอมเหลีองถึงเหลือง เกสรเพศผู้ 4 อ้น ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน

ผล ลักษณะรูปไข่กว้าง เบื้ยว ถึงเกือบกลม แบนด้านข้าง ขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร เปลือกอ่อนนุ่ม สีเขียวอมเหลือง มีขนนุ่ม ปลายผลไม่มีจะงอย ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้าง ตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1 เมล็ด

สภาพนิเวศวิทยา: พบได้ทั้งนํ้าเค็ม น้ำจืดและน้ำกร่อย

ถิ่นกำเนิด: -

การกระจายพันธุ์: -

การปลูกและการขยายพันธุ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ:

-ตำรายาไทย

*แก่น รสเค็มเฝื่อนขม ขับลมในกระดูก ขับโลหิตประจำเดือนสตรี ขับถ่ายโลหิตระดูสตรีให้ปกติ  แก้กระษัย

-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้แสมทะเลในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่

1.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาไฟประลัยกัลป์” มีส่วนประกอบของแสมทะเลร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ขับน้าคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

2.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของแสมทะเลร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต


องค์ประกอบทางเคมี: -

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:-

การศึกษาทางพิษวิทยา:-

การใช้ประโยชน์:

-ต้น ใช้ทำฟืนและถ่าน 

-ราก เป็นแหล่งอาหาร หลบซ่อนตัวของสัตว์นํ้าวัยอ่อน ช่วยในการสร้างดินและอินทรีย์วัตถุลดปัญหาการพังทลายของดินบริเวณชายคลองและริมทะเล 

-ต้นแสมทะเล เป็นไม้เบิกนำที่ขึ้นได้ดีในที่โล่งติดชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ที่ดินค่อนข้างเป็นทราย




ข้อมูลในระบบนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ประกอบการเรียนการสอน | copyright © thai-herbs.thdata.co

สร้างบทความของคุณ โดยวิธีการง่ายๆ



แชร์ข้อมูล




ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง